หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ หมายถึงการจัดองค์ประกอบของเส้น รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว
และอื่นๆให้เกิดคุณค่าทาง สุนทรียภาพ(Aesthetics) ซึ่งมีหลักการจัดที่ควรคำนึงถึงในด้านต่างๆดังนี้คือ
๑. ด้านความสมดุล
๒. ด้านจุดสนใจ
๓. ด้านความกลมกลืน
๔. ด้านความขัดแย้ง
๕. ด้านความเป็นเอกภาพ
ดุลยภาพหรือความสมดุล หมายถึงการถ่วงดุลกัน ทั้งสองข้างเท่ากัน โดยการนำส่วนประกอบต่างๆของศิลปะ
เช่น จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิว แสงเงาและสีมาจัดเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดน้ำหนักทั้งสองข้าง
ด้านซ้ายและด้านขวาเท่ากัน โดยมีแกนสมมติทำหน้าที่แบ่งภาพ ทำให้เกิดความสมดุลในลักษณะต่างๆกันคือ
๑. ความสมดุลสองข้างเท่ากัน
๒. ความสมดุลสองข้างไม่เท่ากัน
๓. ความสมดุลด้วยน้ำหนัก
จุดสนใจ หมายถึงส่วนสำคัญที่เด่นชัดที่สุดของงานศิลปะทุกประเภท จุดสนใจมีลักษณะชัดเจน สะดุดตา มีพลังดึงดูดความสนใจ มักนิยมวางไว้ระยะหน้า หรือระยะกลาง ไม่นิยมวางไว้ตรงกลางของภาพเพราะจะทำให้ความรู้สึกหยุดนิ่ง น่าเบื่อ ทำให้งานศิลปะด้อยคุณค่า การ
เน้นทำได้หลายลักษณะ เช่นการเน้นด้วยเส้น เน้นด้วยรูปร่าง รูปทรง แสงเงา หรือเน้นด้วยสี เป็นต้น
ตัวอย่าง ภาพจุดสนใจด้วยสีและรูปร่าง
ความกลมกลืน หมายถึงการเข้ากันได้ดีขององค์ประกอบศิลป์โดย การนำเอารูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิวและสี
ประกอบเข้าด้วยกันให้เกิดการประสานกลมกลืนกันเป็นอย่างดี เช่นกลมกลืนด้วยขนาด กลมกลืนด้วยลักษณะผิว กลมกลืนด้วยสีและกลมกลืนจากสิ่งที่เหมือนกัน
กลมกลืนด้วยสี กลมกลืนด้วยขนาดและรูปร่าง ความขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกันเข้ากันไม่ได้ ไม่ประสานสัมพันธ์กัน ขององค์ประกอบศิลป์ ทำให้ขาดความกลมกลืนในเรื่องรูปทรง สี ขนาด ลักษณะผิวที่แตกต่างกัน ดังนั้นนักออกแบบที่ดี จะต้องลดความขัดแย้งดังกล่าว ให้เป็นความกลมกลืน จึงจะทำให้งานออกแบบมีคุณค่า ลักษณะของความขัดแย้ง เช่น
ความขัดแย้งของรูปร่าง ความขัดแย้งของขนาด เป็นต้น
การขัดแย้งด้วยสี
ขัดแย้งด้วยรูปร่าง เอกภาพ หมายถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมีความสัมพันธ์กลมกลืนกัน เป็นกลุ่มก้อน ไม่กระจัดกระจาย สื่อความหมายได้ง่ายและรวดเร็ว การสร้างเอกภาพโดยทำให้เกิดความสัมพันธ์กันของภาพ ๒ มิติ คือ
๑.๑ วิธีสัมผัส (Edge in contact )
๑.๒ วิธีทับซ้อนกัน (Overlapping)
๑.๓ รูปร่างที่สัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น
๑.๔ การจัดกลุ่ม