Advertisement
วันก่อนนั่งอ่านกระทู้ในเว็บบอร์ดชื่อดัง "พันทิปดอทคอม" เกี่ยวกับเรื่องบริหารจัดการรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน มีคนเข้ามาแชร์ข้อมูลมากมาย ทำให้ได้รับรู้ข้อมูลน่าทึ่งที่ทำให้ฉุกคิด และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ เกี่ยวกับการออมเงินได้มากทีเดียว
เทคนิคการออมที่ง่าย และได้ผล (สำหรับตนเอง) ที่ได้มาจาก "พันทิป" คือ การเก็บแบ๊งห้าสิบบาท
ไม่ต้องคิดอะไรให้มาก แค่เจอแบ๊งห้าสิบที่ไหน ห้ามใช้ เก็บใส่กระปุกกระป๋องอะไรก็ได้แล้วแต่สะดวก ไม่ต้องสรรหาให้มากเรื่องเอาง่าย ๆ ไว้ก่อน
ลองทำตามมาแล้ว แค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น ได้แบ๊งห้าสิบเป็นปึก ๆ
ทุกครั้งที่มองเห็นจำนวนแบ๊งห้าสิบที่เพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นให้อยากเก็บมากขึ้นไปอีก
จากที่คิดว่า มีก็แค่เก็บก็พอ กลายเป็นว่าเห็นแบ๊งห้าสิบของเพื่อนก็เริ่มขอแลกมาเก็บหลายครั้งยังคิดแว้บ ๆ ว่าไปแลกแบ๊งห้าสิบใหม่ ๆ ที่ธนาคารมาเก็บสักปึกสองปึกดีไหม
เมื่อเก็บได้จนแน่นกล่อง (ผู้เขียนใช้กล่องช็อกโกแลต) ก็ค่อยเอาไปฝากธนาคาร แล้วเริ่มต้นเก็บใหม่
เป็นวิธีที่สนุกดี ไม่เชื่อลองดูได้
นอกจากเรื่องการออมเงินที่แต่ละคนนำมาแชร์หลากหลายรูปแบบแล้วยังทำให้รู้ด้วยว่า มีเยอะแยะไปคนมีเงินเดือนหลายหมื่นบาท มีเงินเก็บน้อยกว่าคนเงินเดือนไม่ถึงสองหมื่นบาท
และมีไม่น้อยที่คนเงินเดือนหมื่นกว่าบาทแถมต้องเช่าหอพัก เช่าอพาร์ตเมนต์อยู่ แต่กลับส่งเงินกลับบ้านให้พ่อแม่ใช้ทุกเดือนมากกว่า (ย้ำว่า) มากกว่า คนเงินเดือน 2-3 หมื่นบาทด้วยซ้ำไป
การบริหารจัดการเงินของบางคนอ่านแล้วน่าทึ่งมาก ๆ มีบ้างที่ทำให้รู้สึก "อาย" ยิ่งช่วยตอกย้ำความเชื่อที่ว่า "รายได้เท่าไร ไม่สำคัญเท่ากับใช้จ่ายเท่าไร" (จริง ๆ นะ)
ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ ในบรรดาค่าใช้จ่ายรายเดือนทั้งหลายที่แต่ละคนนำมาแชร์นั้น เมื่อตัดภาระผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ การส่งเงินให้พ่อแม่ใช้ และเงินออม (ถ้ามี) ออกไปแล้วพบว่า มีค่าใช้จ่ายประจำเดือนที่มนุษย์เงินเดือนในยุคนี้ (จำเป็น) ต้องจ่ายเหมือน ๆ กัน มากบ้างน้อยบ้างทุก ๆเดือน ได้แก่ "ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ"
บ้างก็มีค่า "อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์" เพิ่มเข้ามาอีกอย่าง
เฉพาะค่าโทรศัพท์มือถือจ่ายกันเดือนละ500-600 บาท เป็นอย่างน้อย
ค่าโทรศัพท์มือถือได้กลายเป็น "รายจ่ายจำเป็น" ประจำเดือนของคนยุคปัจจุบันไปแล้วเรียบร้อย ทั้ง ๆ ที่ย้อนหลังกลับไปสักสิบกว่าปีที่ผ่านมา มีคนเพียงหยิบมือเดียวในบ้านเราที่สามารถใช้บริการโทรศัพท์มือถือได้ ด้วยว่าราคาเครื่องที่แพงระยับระดับแสนกว่าบาท จึงไกลเกินเอื้อมถึงสำหรับคนส่วนใหญ่
คิดดูดี ๆ เวลานั้น ไม่มีโทรศัพท์มือถือใช้ก็ไม่เห็นว่าจะเดือดร้อนตรงไหน ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าชีวิตลำบากยากเย็นอะไร แต่ทำไม ๆ มาวันนี้กลับรู้สึกว่า ไม่มีไม่ได้
หลายปีผ่านไป เมื่อเทคโนโลยีมีราคาถูกลง จำนวนคนใช้บริการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งราคา "ค่าบริการ และราคาเครื่อง"ปรับลดลงมาก
ใครจะคิดว่าโทรศัพท์มือถือธรรมดาสามัญที่ใช้ได้เฉพาะเพื่อรับสายเข้า และโทร.ออก ที่เคยมีราคาเรือนแสนบาท จะลงมาเหลือแค่เครื่องละไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น
สิบกว่าปีผ่านมาจนถึงวันนี้ กลายเป็นว่ามีคนเพียงแค่หยิบมือเดียว หรืออาจไม่มีเลย...ไม่มีโทรศัพท์มือถือ
ความต้องการของคนวันนี้ยังไม่ได้หยุดอยู่ที่โทรศัพท์มือถือธรรมดา ๆ เสียด้วย แต่ต้องการโทรศัพท์ที่ฉลาดขึ้น เพื่อต่อเชื่อมเข้าสู่โลกกว้างใหญ่ที่ชื่อ "อินเทอร์เน็ต"
"สมาร์ทโฟน" มาแทนโทรศัพท์มือถือธรรมดา ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ
ถ้าดูปริมาณคนใช้บริการคิดจากจำนวนเลขหมายเทียบกับประชากรในประเทศไทย ณ วันนี้ ทะลุ 100% ไปไกลมากแล้ว
หมายความว่า มีไม่น้อยที่มีมากกว่า 2 เลขหมาย
แต่ในจำนวนโทรศัพท์มือถือที่ใช้ ๆ กันอยู่ในปัจจุบัน เป็น "สมาร์ทโฟน" สักครึ่งหนึ่งไม่น้อยเลย
พวกที่มี 2 เบอร์ ย่อมมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนมากกว่า 500-600 บาทแน่ ๆ
จากที่ (เคย) ไม่มีก็ไม่เป็นไร มาวันนี้... วันไหนลืมโทรศัพท์มือถือไว้ที่บ้าน เป็นต้องรีบตะกายกลับไปเอาแทบไม่ทัน
เพราะอะไรกัน
เมื่อโทรศัพท์มือถือได้สถาปนาตนเองขึ้นมาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันของคนยุคใหม่ที่มาพร้อม ๆ กับค่าใช้จ่ายรายเดือน จะเพราะเรามีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้ความสามารถในการจับจ่ายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน หรือแท้จริงแล้ว รายได้ก็ไม่ได้เพิ่ม แต่มีสิ่งจำเป็นต้องใช้ในชีวิตเพิ่มขึ้นก็เท่านั้นเอง
จึงไม่น่าแปลกที่ ไม่ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบช้าที่สุด คือธุรกิจโทรศัพท์มือถือ
เพราะไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย ? แต่เป็นของจำเป็น....หรือจำเป็นต้องใช้ ??
จำเป็นแค่ไหนกัน ??? ถ้าดูจากพฤติกรรมของคนใช้สมาร์ทโฟนวันนี้ ก็คงต้องบอกว่า "จำเป็นมาก"
ไม่อย่างนั้นคนส่วนใหญ่คงไม่พากันก้มหน้าก้มตาอยู่กับหน้าจอสี่เหลี่ยมในมือแทบตลอดเวลา จนถึงกับมีการเรียกสาวกสมาร์ทโฟนทั้งหลายว่า "ชนเผ่าก้มหน้า" ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ไม่ได้เกินจริงเลย ไม่เชื่อลองหันมามองดูตนเอง หรือคนข้าง ๆ ก็ได้
ไหน ๆ ก็จำเป็นต้องใช้ ถามตนเองกันสักนิดดีไหมว่า ใช้คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนแล้วหรือยัง
โดย เชอรี่ประชาชาติ cheryd@gmail.com
ขอบคุณที่มาจาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
Advertisement
เปิดอ่าน 9,061 ครั้ง เปิดอ่าน 12,677 ครั้ง เปิดอ่าน 12,639 ครั้ง เปิดอ่าน 18,076 ครั้ง เปิดอ่าน 17,737 ครั้ง เปิดอ่าน 18,043 ครั้ง เปิดอ่าน 19,981 ครั้ง เปิดอ่าน 85,164 ครั้ง เปิดอ่าน 10,232 ครั้ง เปิดอ่าน 41,001 ครั้ง เปิดอ่าน 733 ครั้ง เปิดอ่าน 11,199 ครั้ง เปิดอ่าน 18,322 ครั้ง เปิดอ่าน 23,151 ครั้ง เปิดอ่าน 17,119 ครั้ง เปิดอ่าน 2,767 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 8,407 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,746 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,768 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,440 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,266 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,795 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,694 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 34,426 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,954 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,628 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,998 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,191 ครั้ง |
|
|