ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สร้าง "คนเก่ง" ให้เป็น "ครูสอนดี"


บทความการศึกษา 26 เม.ย. 2558 เวลา 14:35 น. เปิดอ่าน : 10,964 ครั้ง
Advertisement

สร้าง "คนเก่ง" ให้เป็น "ครูสอนดี"

Advertisement

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์
       โครงการสถาบันวิจัยระบบการเรียนรู้
       สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
       
       ในโครงการทดสอบความรู้ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกคณิตศาสตร์ปีสุดท้าย ปี 2551 (Teacher Educational Development Study-Mathematics หรือ TEDS-M 2008)[1] พบว่ามีนักศึกษาไทยร้อยละ 57 สอบไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในด้านเนื้อหาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาต้น และมีถึงร้อยละ 70 สอบไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในด้านการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาต้น โดยผู้ที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำถือว่ายังมีความรู้เนื้อหาวิชาไม่เพียงพอที่ใช้สอนและยังไม่สามารถวางแผนการสอนและวิเคราะห์ความเข้าใจผิดของนักเรียนได้ 
       
       ในปี 2554 ผลสำรวจของโครงการทดสอบนานาชาติ TIMSS (The Trends in International Mathematics and Science Study) พบว่าในกลุ่มนักเรียนไทย ม.2 ที่เรียนกับครูรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์การสอนน้อยกว่า 5 ปี มีเพียงร้อยละ 20 ได้เรียนกับครูที่มีความมั่นใจในการออกแบบโจทย์คณิตศาสตร์ที่ชวนให้นักเรียนคิด ขณะที่ ร้อยละ 55 ได้เรียนกับครูที่ให้นักเรียนจำสูตรและวิธีการทำในทุกคาบเรียน ซึ่งมากกว่าในประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา
       
       หลักฐานเชิงประจักษ์ข้างต้นชี้ไปในทางที่ว่าครูไทยรุ่นใหม่ยังไม่มีความพร้อมด้านความรู้เนื้อหาและทักษะการสอน 
 

สร้าง “คนเก่ง” ให้เป็น “ครูสอนดี”

        การปฏิรูปการศึกษาในรอบทศวรรษที่ผ่านมาพยายามยกระดับคุณภาพครูรุ่นใหม่ โดยการยกระดับสถานะอาชีพครูเพื่อดึงดูดคนเก่งเข้าสู่วิชาชีพครู เช่น ยกระดับเงินเดือนของข้าราชการครูให้ทัดเทียมกับอาชีพอื่น และสร้างตำแหน่งวิทยฐานะซึ่งคล้ายกับตำแหน่งวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ครูมีความก้าวหน้าทางอาชีพ
       
       จนปัจจุบัน คณะศึกษาศาสตร์เป็นที่นิยมมากขึ้นและมีคนที่เก่งขึ้นเข้ามาเรียน จากข้อมูลการสอบกลาง หรือ Admission พบว่ามีจำนวนผู้เลือกเรียนคณะศึกษาศาสตร์เป็นอันดับ 1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24 ของผู้เลือกคณะศึกษาศาสตร์ทั้งหมดในปี 2551 เป็นร้อยละ 34 ในปี 2556 และในปี 2556 ผู้สอบติดคณะศึกษาศาสตร์มีผลสอบเฉลี่ยร้อยละ 56 ของคะแนนเต็มสูงกว่าคณะยอดนิยมอื่น เช่น นิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์ และบริหารธุรกิจ 
 

สร้าง “คนเก่ง” ให้เป็น “ครูสอนดี”

        อย่างไรก็ดี นโยบายดึงดูดคนเก่งคงไม่เพียงพอที่จะยกระดับคุณภาพครูรุ่นใหม่ได้ เราจำเป็นต้องสร้าง “คนเก่ง” ให้เป็น “ครูสอนดี” ด้วยเพื่อทดแทนการเกษียณของครูขนานใหญ่กว่า 2 แสนคนในอีกทศวรรษข้างหน้า
       
       “ครูสอนดี” จำเป็นต้องรู้เนื้อหาวิชาที่สอนอย่างลึกซึ้ง แต่การรู้อย่างลึกซึ้งนี้มิใช่เพียงเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการหรือการใช้ความรู้ได้อย่างถูกต้องเท่านั้น “ครูสอนดี” ยังต้องเข้าใจเนื้อหาจากมุมมองและฐานความรู้ของนักเรียน แปลงเนื้อหาสู่โจทย์และกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้เนื้อหาดังกล่าว และสามารถวิเคราะห์และแก้ไขความเข้าใจผิดในเนื้อหาของนักเรียนได้ ความรู้และทักษะนี้สมรรถนะเฉพาะของวิชาชีพครู ซึ่งเรียกกันว่า “ความรู้และทักษะด้านเนื้อหาวิชาสำหรับการจัดการเรียนรู้” (Pedagogical Content Knowledge: PCK)
       
       ยกตัวอย่างเช่น เราคงทราบกันว่า 0.2 * 6 น้อยกว่า 6 / 0.2 การตอบได้ถูกต้องคงเพียงพอสำหรับบุคคลทั่วไป แต่สำหรับ “ครูสอนดี” ต้องวิเคราะห์ได้ด้วยว่า หากนักเรียนตอบผิด น่าจะมาจากสาเหตุใด พร้อมทั้งอธิบายหรือหากิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เข้าใจอย่างถูกต้อง หรือในโจทย์ปัญหา “1 ¼ หารด้วย ½” ซึ่งซับซ้อนสำหรับนักเรียน “ครูสอนดี” ต้องสามารถหาตัวอย่างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจความหมายของโจทย์นี้ 
       
       เพื่อสร้าง “ครูสอนดี” ระบบการศึกษาไทยควรต้องปรับเปลี่ยนแนวนโยบายสำคัญอย่างน้อย 2 ประการ ได้แก่
       
       1. ให้ครูรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วิชา PCK เพิ่มขึ้น
       
       โครงสร้างหลักสูตรศึกษาศาสตร์ไทยยังให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนวิชา PCK น้อยเกินไป ที่ผ่าน การปรับหลักสูตร 4 ปี เป็น 5 ปี พยายามเพิ่มหน่วยกิตกลุ่มวิชาเอกเพราะเชื่อว่าครูไทยมีปัญหาอ่อนด้านเนื้อหา โดยให้นักศึกษาต้องเรียนวิชาเอกเรียนกับคณะที่สอนวิชาเอกซึ่งเน้นการเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ เช่น เรียนคณิตศาสตร์เพื่อเป็นนักคณิตศาสตร์ ขณะที่ การเรียนวิชาครูส่วนใหญ่เป็นการจัดการสอนทั่วไปซึ่งไม่ได้ผสมผสานเข้ากับเนื้อหาวิชา เช่น หลักการศึกษาและความเป็นครู จากการสัมภาษณ์คณบดีคณะศึกษาศาสตร์และการสุ่มเอกสารหลักสูตร พบว่าบางแห่งมีวิชาบังคับที่เป็นวิชา PCK เพียง 6 หน่วยกิตจาก 160 หน่วยกิต
       
       ขณะที่ ระบบการศึกษาที่ได้รับการยอมรับว่าครูมีคุณภาพสูง ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้าน PCK เช่น ในช่วงทศวรรษ 1980 สิงคโปร์ได้เริ่มบรรจุกลุ่มวิชา PCK ในหลักสูตรศึกษาศาสตร์ พร้อมทั้งได้ริเริ่มพัฒนาองค์ความรู้ด้าน PCK สำหรับการสอนคณิตศาสตร์ ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า Singapore Math ในแนวทางการเรียนการสอนี้ นักเรียนจะเริ่มเรียนรู้แนวคิดและการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ บวก ลบ คูณ ผ่านสิ่งของที่จับต้องได้ ผ่านรูปภาพและกราฟแท่ง ซึ่งง่ายต่อความเข้าใจของนักเรียน ก่อนจะเรียนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ซึ่งมีความเป็นนามธรรมสูง ในปัจจุบัน หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีของสิงคโปร์มีกลุ่มวิชา PCK คิดเป็นร้อยละ 18 ของหน่วยกิตทั้งหมด[2]
       
       ส่วนมหาวิทยาลัยในเกาหลีใต้มีกลุ่มวิชา PCK ประมาณร้อยละ 20-40[3] และมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิในประเทศฟินแลนด์มีกลุ่มวิชา PCK ประมาณร้อยละ 21 โดยออกแบบการจัดการเรียนร่วมกับคณะที่สอนวิชาเอก[4] 
 

สร้าง “คนเก่ง” ให้เป็น “ครูสอนดี”

        ดังนั้นเราควรปรับโครงสร้างหลักสูตรให้มีกลุ่มวิชา PCK หรือสนับสนุนให้คณะศึกษาศาสตร์ออกแบบการเรียนรู้ร่วมกับคณะที่สอนวิชาเอก นอกจากนี้ ก็ควรปรับเปลี่ยนวิธีการรับรองหลักสูตรซึ่งปัจจุบันเน้นตรวจหน่วยกิตและเอกสารหลักสูตร มาให้ความสำคัญกับผลการเรียนรู้ของนักศึกษามากขึ้น เช่น ในปี 2562 คุรุสภาจะมีการทดสอบความรู้และทักษะเพื่อออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หากการทดสอบนี้วัดความรู้และทักษะด้านเนื้อหาและ PCK ก็ควรนำมาผลการสอบมาพิจารณาการรับรองและปรับปรุงหลักสูตร
       
       2. ให้ครูรุ่นใหม่ได้ “ฝึกคิดและฝึกสอน” จากการเรียนรู้ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
       
       นอกจากการเรียนรู้วิชา PCK ในภาคทฤษฎี ครูรุ่นใหม่ควรมีโอกาสได้นำแนวคิดและทฤษฎีมา ฝึกคิด ฝึกวางแผนการสอนและแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริงในห้องเรียน เช่น สังเกตและวิเคราะห์การสอนของครูพี่เลี้ยงที่เป็น “ครูสอนดี” วิเคราะห์ปัญหาการเรียนของนักเรียนเพื่อวางแผนการสอน รวมทั้งได้ทดลองสอนจริงพร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาที่ได้พบร่วมกับเพื่อนและครูพี่เลี้ยง
       
       แม้หลักสูตรศึกษาศาสตร์ 5 ปี จะกำหนดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในโรงเรียน โดยมีครูพี่เลี้ยงดูแล 1 ปี แต่นักศึกษาจำนวนมากยังไม่ได้รับการดูแลจากครูพี่เลี้ยงสม่ำเสมอ ผลการสำรวจของโครงการ TEDS-M พบว่าร้อยละ 57 ของนักศึกษาฝึกสอนทั้งหมดได้รับการดูแลน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และประมาณกว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มนักศึกษาที่ไม่ได้รับการดูแลนี้ ถูกปล่อยให้เข้าสอนจริงมากกว่าครึ่งหนึ่งของเวลาการฝึก
       
       นอกจากนี้ นักศึกษาฝึกสอนจำนวนมากไม่ได้นำเอาแนวคิดและทฤษฎีมาฝึกคิดฝึกปฏิบัติ เพราะโรงเรียนและครูพี่เลี้ยงมีแนวทางการสอนแตกต่างจากคณะศึกษาศาสตร์ ผลการสำรวจของโครงการ TEDS-M พบว่ามีนักศึกษาเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่มองว่าโรงเรียนมีแนวทางและหลักการสอนที่ดีสอดคคล้องกับคณะศึกษาศาสตร์
       
       ปัญหาส่วนหนึ่งคงมาจากความไม่พร้อมของโรงเรียน เช่น จากข้อมูลของคุรุสภา ในช่วงปี 2550-2554 มีสถานศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 4,070 จากทั้งหมด 5,200 แห่ง เป็นโรงเรียนสังกัด สพฐ. ซึ่งโดยทั่วไป ยังไม่มีความพร้อมด้านการดูแลครูรุ่นน้อง และครูผู้สอนเองมีภาระงานหนักทั้งงานสอน งานเอกสาร และงานประเมิน 
 

สร้าง “คนเก่ง” ให้เป็น “ครูสอนดี”

        อีกส่วนหนึ่งเป็นปัญหาด้านการบริหารจัดการความร่วมมือ จากการสัมภาษณ์กับคณบดีและอาจารย์ศึกษาศาสตร์ พบว่าคณะศึกษาศาสตร์พยายามสร้างความร่วมมือในการออกแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับโรงเรียนในระยะยาว แต่ประสบปัญหาความไม่ต่อเนื่องเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโรงเรียน หรือแม้แต่โรงเรียนสาธิตบางแห่งก็ไม่ได้มีการออกแบบแนวทางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์
       
       ทางออกหนึ่งของปัญหาข้างต้นคือการสร้างโรงเรียนพัฒนาวิชาชีพครูโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นแนวทางการสร้าง “ครูสอนดี” ในหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษาอย่างฟินแลนด์หรือเนเธอแลนด์ โรงเรียนพัฒนาวิชาชีพครูจะมีหน้าที่สร้างครูสอนดี โดยสร้างระบบการดูแลครูรุ่นน้องขึ้นในโรงเรียนและออกแบบการเรียนรู้ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ทั้งในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการเรียนรู้ในวิชาอื่น
       
       ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยไลเดน (Leiden) ประเทศเนเธอร์แลนด์ยกเลิกการเรียนวิชาทฤษฎีการศึกษาพื้นฐานและการสอนในมหาวิทยาลัยและให้นักศึกษาได้เรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน เช่น การบริหารชั้นเรียน โดยนักศึกษาจะได้เรียนทฤษฎี ดูวีดีโอการสอน และทำการวิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยสร้างกรอบการคิดและประเด็นถกเถียงก่อนการปฏิบัติจริง หรือในสหรัฐ บางมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาได้สังเกตการสอนและแลกเปลี่ยนกับครูสอนดี หรือให้เก็บข้อมูลของนักเรียนในโรงเรียนมาวิเคราะห์เพื่อทำแผนการเรียนสำหรับนักเรียนกลุ่มดังกล่าว
       
       ///////////////////
       
       [1]โครงการ TEDS-M เป็นโครงการวิจัยสำรวจนโยบายด้านศึกษาศาสตร์และความรู้ของครูรุ่นใหม่ระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสมาคมนานาชาติเพื่อการประเมินผลการศึกษา (International Association for Educational Assessment หรือ IEA) และมหาวิทยาลัยมิชิแกน โครงการนี้ได้ทดสอบความรู้คณิตศาสตร์และการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นของนักศึกษาคณะศาสตร์ปีสุดท้ายในปี 2551 โดยมีประเทศเข้าร่วมทั้งหมด 15 ประเทศ
       ในการสุ่มตัวอย่างผู้เข้าสอบ โครงการ TEDS-M จะสุ่มตัวอย่างสถาบันการศึกษาก่อนแล้วจึงสุ่มตัวอย่างนักศึกษา ในบางกรณี เช่น ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างครอบคลุมจำนวนสถาบันและนักศึกษาจริงเกือบทั้งหมด โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมสอบ 1,312 คนจากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 46 แห่ง
       [2]ที่มา: หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี สำหรับการสอนมัธยมศึกษา จากเอกสารหลักสูตรปี 2014-2015 ของ สถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์
       [3]ที่มา: Kwon, O.N., (2004). Mathematics teacher education in Korea. In International Congress on Mathematical Education (ICME-10). Copenhagen, Denmark.
       [4]ที่มา: Sahlberg, P (2012). The most wanted: Teachers and Teacher education in Finland. In L. Darling-Hammond, &A. Lieberman (Eds.), Teacher education around the world changing policies and practices. London & New York: Routledge.

 

 

ขอบคุณที่มาภาพและเนื้อหาจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


สร้าง "คนเก่ง" ให้เป็น "ครูสอนดี"สร้างคนเก่งให้เป็นครูสอนดี

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การศึกษาในอนาคต

การศึกษาในอนาคต


เปิดอ่าน 21,145 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การขับเคลื่อน "6 ยุทธศาสตร์" ด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ

การขับเคลื่อน "6 ยุทธศาสตร์" ด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ

เปิดอ่าน 16,779 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น
ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น
เปิดอ่าน 12,007 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรับการเรียนแนวใหม่สู้ "โอเน็ต" ให้ได้ผล
ปรับการเรียนแนวใหม่สู้ "โอเน็ต" ให้ได้ผล
เปิดอ่าน 10,983 ☕ คลิกอ่านเลย

ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 12,321 ☕ คลิกอ่านเลย

เปิดม่านการศึกษา : 16 เม.ย. 58 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดม่านการศึกษา : 16 เม.ย. 58 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดอ่าน 9,507 ☕ คลิกอ่านเลย

ยิ่งกวดวิชามาก ยิ่งสะท้อนปัญหามาก
ยิ่งกวดวิชามาก ยิ่งสะท้อนปัญหามาก
เปิดอ่าน 8,276 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา คือ รากฐานของการปฏิรูปประเทศ โดย รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์
ปฏิรูปการศึกษา คือ รากฐานของการปฏิรูปประเทศ โดย รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์
เปิดอ่าน 11,055 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ประกาศศธ. เรื่อง วรรณคดีสำหรับจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลาง 2551
ประกาศศธ. เรื่อง วรรณคดีสำหรับจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลาง 2551
เปิดอ่าน 17,788 ครั้ง

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับผลไม้
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับผลไม้
เปิดอ่าน 16,915 ครั้ง

เรียนอะไร ได้ค่าตอบแทนสูงสุด ต้องคลิกมาอ่านนี่เลย
เรียนอะไร ได้ค่าตอบแทนสูงสุด ต้องคลิกมาอ่านนี่เลย
เปิดอ่าน 15,425 ครั้ง

วิธีแก้เคราะห์ สะเดาะกรรมให้ร่ำรวย
วิธีแก้เคราะห์ สะเดาะกรรมให้ร่ำรวย
เปิดอ่าน 14,170 ครั้ง

วิธีจัดฮวงจุ้ยห้องนอน เสริมพลังงานดีๆ
วิธีจัดฮวงจุ้ยห้องนอน เสริมพลังงานดีๆ
เปิดอ่าน 3,762 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ