วินัยคืออะไร
วินัย คือ กฏหมาย กฏ ข้อบังคับ ระเบียบ และแบบธรรมเนียมที่กำหนดให้ปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติ
? ข้าราชการต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือว่า ผู้นั้นกระทำผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ(มาตรา 65)
? ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ส่งเสริมและดูแลระมัดระวังให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติตามวินัย ถ้ารู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาคนใดกระทำผิดวินับ จะต้องดำเนินการทางวินัยทันที
? ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ผู้นั้นกระทำผิดวินัย(มาตรา 82)
วินัยข้าราชการครู มีดังนี้
1. ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ (มาตรา 66)
2. ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรม (มาตรา 67)
3. ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม หาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น (มาตรา 67 วรรคสอง)
4. ต้องไม่ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ(มาตรา 67 วรรคสาม)
5. ต้องสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามกฏหมาย ระเบียบของทางราชการ และมติคณะรัฐมนตรีให้เกิดผลดี หรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความอุตสาหะเอาใจใส่ และระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ (มาตรา 68)
6. ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบของทางราชการ หรือมติคณะรัฐมนตรี อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง (มาตรา 68 วรรคสอง)
7. ต้องสนใจและรับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตราย ต่อประเทศชาติและป้องกันภยันตรายซึ่งจะบังเกิดแก่ประเทศชาติจนเต็มความสามารถ(มาตรา 69)
8. ต้องรักษาความลับของทางราชการ (มาตรา 70) การเปิดเผยความลับของทางราช
การอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง(มาตรา 70 วรรคสอง)
9. ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วย กฏหมายและระเบียบของทางราชการ (มาตรา 71)
การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไปปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบ ด้วยกฏหมายและระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง (มาตรา 71 วรรคสอง)
10. ต้องปฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นการกระทำข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นเป็นผู้สั่งให้กระทำ หรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วคราว (มาตรา 72)
11. ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้อง บอก ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย (มาตรา 73) การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่าง ร้ายแรง (มาตรา 73 วรรคสอง)
12. ต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ (มาตรา 74)
13. ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการไม่ได้
(มาตรา 75)การละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง การละทิ้งหน้าที่ราชการติดกันในคราวเดียวกันเป็นเวลาไม่เกิน 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือมีพฤติกรรมอันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (มาตรา 75 วรรคสอง)
14. ต้องสุภาพเรียบร้อยและรักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการ และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ (มาตรา 76)
15. ต้องสุภาพเรียบร้อย ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้ความสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้มาติดต่อในหน้าที่ราชการ อันเกี่ยวกับหน้าที่ของตน โดยไม่ชักช้า (มาตรา 77) การหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงราษฎร เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (มาตรา 77 วรรคสอง)
16. ต้องไม่กระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์ อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน (มาตรา 78)
17. ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะ
งานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท (มาตรา 79)
18.ต้องไม่เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (มาตรา 80)
19. ต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว (มาตรา 81)
20. การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษหนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้โทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (มาตรา 81 วรรคสอง)
Advertisement
โทษผิดวินัยมี 5 สถาน คือ
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดขั้นเงินเดือน
4. ปลดออก
5. ไล่ออก
การพิจารณาลงโทษทางวินัย
1. ความผิดไม่ร้ายแรงมีโทษ
ภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน
ลดขั้นเงินเดือน
วิธีพิจารณา
กฏหมายไม่บังคับให้ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผู้บังคับบัญชาลงโทษได้เอง
เพียงให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงแก้ข้อหาก็ลงโทษได้
2. ความผิดร้ายแรง
ปลดออก
ไล่ออก
วิธีพิจารณา
ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน
เสนอ อ.ก.ค. กรม พิจารณามีมติให้ลงโทษเสียก่อน ผู้บังคับบัญชาจึงสั่งลงโทษได้
ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องสอบสวน
ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาจึงสั่งลงโทษหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน
กรณีความผิดที่ชัดแจ้ง ตามกฏ ก.พ. ฉบับที่ 7
ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
มีความผิดวินัยอย่างร้ายแรงอยู่ 2 กรณี เรียกว่า “ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง” คือ
1. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อกันเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์ที่แสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
2. กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความความผิดลหุโทษ
“ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง” ต่างกับความผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่น ๆ อยู่ประการหนึ่ง คือ ความผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่น ๆ ก่อนจะลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อน แต่ “ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง” ผู้มีอำนาจจะลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก โดยไม่สอบสวนก็ได้
ข้อควรทราบในการดำเนินการทางวินัย
1. ความผิดทางวินัยไม่มีอายุความ เช่น โกงค่าเช่าบ้านตั้งแต่ พ.ศ.2500 ตรวจพบเมื่อปี 2530 ถ้าผู้นั้นยังเป็นข้าราชการอยู่ก็สามารถดำเนินการทางวินัยได้
2. ความผิดทางวินัยยอมความกันไม่ได้ เช่น ครู 2 คน ชกกันต่อหน้านักเรียนแม้ต่างฝ่ายต่างไม่เอาเรื่องกัน ก็ไม่พ้นความรับผิดทางวินัย
3. ความผิดทางวินัยไม่อาจชดใช้ด้วยเงิน เช่น ยักยอกเงินราชการไปแล้วนำมาคืนครบถ้วนก็ไม่อาจลบล้างความผิดทางวินัยได้
4. ความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง หัวหน้าสถานศึกษาลงโทษโดยไม่ตั้งกรรมการสอบสวนก็ได้ เช่น ครูไม่เข้าสอน สอบถามแล้วปรากฏว่าแอบไปนอนหลับที่บ้านพักครู กรณีเช่นนี้หัวหน้าสถานศึกษาลงโทษครูผู้นั้นได้เลยโดยไม่ต้องตั้งกรรมการสอบสวนอีก
5. ข้าราชการครูที่อยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัยมีสิทธิ์ลาออกจากราชการ ผู้บังคับบัญชาจะอ้างการสอบสวนมายับยั้งการลาออกไม่ได้ แต่การสอบสวนไม่ยุติต้องดำเนินการต่อไป
การพิจารณาความผิด
หลักการพิจารณาความผิด
1. นำพฤติกรรมของผู้ถูกกล่าวหาที่ปรากฏในเอกสารสืบสวน สอบสวน มาพิจารณาว่าเป็นพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยวินัยหรือไม่
2. ถ้าพฤติกรรมของผู้ถูกกล่าวหาฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วย มาตราใดฐานใดก็ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาลักษณะทำผิดนัยมาตรานั้น ฐานนั้น
3. ถ้าพฤติกรรมของผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยวินัย ก็ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดวินัย
การกำหนดโทษ
วิธีในการกำหนดโทษ
1. ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง จะลงโทษต่ำกว่าให้ออกราชการไม่ได้
2. ความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ระดับโทษไม่เกินลดขั้นเงินเดือน
3. ความผิดเล็กน้อย ลงโทษภาคทัณฑ์
4. ความผิดเล็กน้อย และเป็นความผิดครั้งแรก ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุอันควรลงโทษจะงดโทษ โดยว่ากล่าวตักเตือน หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้
การสั่งลงโทษ
วิธีการสั่งลงโทษ
1. ต้องออกเป็นคำสั่ง
2. ในคำสั่งให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำความในกรณีใด ตามมาตราใด
อำนาจการสั่งลงโทษของหัวหน้าสถานศึกษา
1. ผู้อำนวยการโรงเรียนและอาจารย์ใหญ่ ลงโทษข้าราชการครูในบังคับบัญชาดังนี้
1.1 ภาคทัณฑ์
1.2 ตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน 10% เป็นเวลาไม่เกิน 2 เดือน
2. ครูใหญ่ ลงโทษข้าราชการครูในบังคับบัญชาได้ดังนี้
1.1 ภาคทัณฑ์
1.2 ตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกิน 10% เป็นเวลาไม่เกิน 1 เดือน
การสืบสวน
การสืบสวนควรกระทำเมื่อ
1. มีความเสียหายเกิดขึ้นแต่ไม่ทราบว่าผู้กระทำคือใคร เช่น ข้อสอบรั่ว แต่ไม่ทราบว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด
2. ผู้ใต้บังคับบัญชาถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย แต่ยังไม่ทราบว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูลหรือไม่ (มีมูล หมายถึง มีเหตุผลน่าเชื่อ) เช่น ผู้ปกครองนักเรียนมาฟ้องว่า ครูเกษตรเก็บเงินนักเรียนอ้างว่า จะไปซื้อต้นไม้มาใช้ในการเรียนการสอนแต่ไม่ได้ซื้อ เงินก็ไม่คืน เรื่องที่ผู้ปกครองมาฟ้องนี้ จะจริงหรือไม่ น่าเชื่อหรือไม่ ยังไม่ทราบ ต้องสืบสวนดูก่อน
3. ผู้ใต้บังคับบัญชาหยุดงานติดต่อกันเกิน 15 วัน (การสืบสวน กรณีนี้ เป็นการสืบสวนตามกฎหมาย ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2528) เพื่อต้องการทราบว่าที่หยุดไปนี้มีเหตุผลอันสมควรหรือไม่)
ผู้มีหน้าที่สืบสวน ได้แก่
1.หัวหน้าสถานศึกษา
2.ผู้ที่หัวหน้าสถานศึกษามอบหมาย
3.หัวหน้าสถานศึกษาสืบสวนร่วมกับผู้ที่หัวหน้าสถานศึกษามอบหมาย
การสืบสวน ทำได้หลายวิธี เช่น
1.สอบถาม
2.ตรวจสอบ
3.ให้ชี้แจง
การสอบสวน
การสอบสวนทางวินัย มี 2 ประเภท ได้แก่
1.การสอบสวนทางวินัยไม่ร้ายแรง การสอบสวนประเภทนี้หัวหน้าสถานศึกษา มีอำนาจ
แต่งตั้งกรรมการสอบสวน
2.การสอบสวนทางวินัยร้ายแรง หัวหน้าสถานศึกษาไม่มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวน
ผู้มีอำนาจได้แก่
2.1 ในระดับจังหวัด คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
2.2 ในระดับกรม คือ อธิบดีกรมสามัญศึกษา
การสอบสวนจะกระทำเมื่อ
1.ผู้ใต้บังคับบัญชาถูกกล่าวว่ากระทำผิดวินัย และ
2.ข้อกล่าวหานั้นมีมูล
2.1 ถ้าข้อกล่าวหานั้นเป็นข้อกล่าวหาวิธีกรทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงจะแต่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยไม่ร้ายแรง
2.2 ถ้าข้อกล่าวหานั้นเป็นข้อกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจะต้องตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง
หลักเกณฑ์วิธีการสอบสวน
1.การสอบสวนทางวินัยไม่ร้ายแรง ไม่มีกฎหมาย ระเบียบ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการไว้ กรรมการสอบสวนจึงชอบที่จะดำเนินการใด ๆ ตามที่เห็นสมควรได้
2.การสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ต้องปฏิบัติตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2528) โดยเคร่งครัด มิฉะนั้นการสอบสวนอาจเสียไปทั้งหมด
กฏหมาย ระเบียบ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี ที่ข้าราชการครูควรทราบ
1. ข้าราชการผู้มีหน้าที่ปฏิบัติราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง จะอ้างว่าไม่รู้กฏหมายหรือระเบียบแบบแผนข้อบังคับอันตนจำต้องปฏิบัติและอยู่ในหน้าที่ของตนมิได้
(มติคณะรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ น.ว. 89/2497 ลงวันที่ 1 เมษายน 2497)
2. ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา จะต้องมาถึงสถานศึกษา ก่อนเวลาทำงานปกติอย่างน้อย 15 นาที และกลับหลังเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 15 นาที
(ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ. 2502 ข้อ 8)
3. ข้าราชการซึ่งปฏิบัติราชการอยู่ในโรงเรียนถ้าลาปีหนึ่งเกินกว่า 12 ครั้ง ถือว่าลาบ่อยครั้ง ไม่มีสิทธิ์ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีนั้น
ในกรณีข้าราชการลาปีหนึ่งเกิน 12 ครั้ง แต่ลาไม่เกิน 30 วัน และมีผลการปฏิบัติงานดีกรมอาจพิจารณาผ่อนผันให้เลื่อนขั้นเงินเดือนได้
ข้าราชการซึ่งปฏิบัติราชการอยู่ในโรงเรียน ถ้ามาทำงานสายปีหนึ่งเกิน 15 ครั้ง ถือว่ามาทำงานสายอยู่เนือง ๆ ไม่มีสิทธิ์ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีนั้น
(หนังสือกระทรวงศึกษาธิการที่ ศธ 0204/31100 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2525)
4. วันปิดภาคเรียนถือว่าเป็นวันพักผ่อนของนักเรียน ซึ่งสถานศึกษาอาจอนุญาตให้ค
หยุดพักผ่อนได้ แต่ถ้ามีราชการจำเป็น ครูต้องมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชก(ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของ
สถานศึกษา พ.ศ. 2520 ข้อ 9)
5. ข้าราชการที่หนีหรือขาดราชการในวันใด ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินสำหรับวันที่ขาดหรือหนี
ราชการนั้น
(มาตรา 15 แห่งพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จบำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2522)
6. ถ้าปรากฏว่าเวรทิ้งหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นผิดอย่างร้ายแรง และให้พิจารณาโทษอย่างน้อยให้ออกจากราชการ
(มติคณะรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี น.ว. 101/2495 ลงวันที่ 18 เมษายน 2495)
7. ข้าราชการเสพสุรามึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ ซึ่งอาจทำให้เสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการจะต้องถูกลงโทษตามควรแล้วแต่กรณี
- ข้าราชการผู้ใดเสพสุราในขณะปฏิบัติราขการ เมาสุราเสียราชการ หรือเมาสุราในที่ประชุมจนเกิดเรื่องเสียหาย หรือเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ อาจถูกลงโทษสถานหนักถึงให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
- ข้าราชการครูเล่นการพนันอาจได้รับโทษสถานหนักถึงให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
8. การที่ข้าราชการไปร่วมเล่นแชร์ย่อมก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นได้ เพราะได้ใช้เงินเดือนไปเล่นและเมื่อประมูลดอกเบี้ยสูง เพื่อให้ได้รับเงินไปใช้สอยแล้วในเดือนต่อไป ก็ย่อมจะขาดแคลนเงินสำหรับใช้สอย อันก่อให้เกิดคอรัปชั่นได้ง่าย จึงห้ามข้าราชการเล่นแชร์
(มติคณะรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรี ฝ่ายบริหาร ที่ น.ว. 12/2498 ลงวันที่ 14 มกราคม 2498
9. ข้าราชการเป็นเจ้ามือ เดินขาย หรือเล่นสลากกินรวบต้องถูกลงโทษอย่างน้อยให้ออกจากราชการ
(มติคณะรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหารที่ น.ว. 280/2498 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2498)
10. ห้ามข้าราชการสมรสหรือหรืออยู่กินอย่างสามีภรรยากับผู้อพยพหรือผู้ลี้ภัย ซึ่ง
เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฏหมาย ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(มติคณะรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สร. 0202/ว.31 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2524)
11. ผู้ใดลาป่วยต่อเนื่องกันตั้งแต่ 10 วันขึ้นไป ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายไปสอบสวนให้ได้ความจริงว่าป่วยจริงหรือไม่อย่างไร
- การลากิจ ควรอนุญาตเฉพาะกรณีจำเป็นจริง ๆ ไม่ใช่ลากิจ เพื่อไปรับจ้างหารายได้พิเศษอย่างอื่น
- ผู้บังคับบัญชาคนใดรู้เห็นเป็นใจอนุญาตให้ข้าราชการลาเท็จ ให้ถือว่ามีความผิดทางวินัยด้วย
(คำสั่งนายกรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรี ฝ่ายบริหารที่ น.ว. 128/2497 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2497)
12. ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือละทิ้งหน้าที่ราชการไปเลยเกินกว่า 15 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นความผิดร้ายแรงซึ่งควร ไล่ออกจากราชการ จะปราณีลดหย่อนผ่อนโทษลงได้ก็เพียงปลดออกจากราชการ การนำเงินที่ทุจริตยักยอกไปแล้วมาคืนก็ดี การที่เป็นผู้ที่ไม่กระทำความผิดมาก่อนก็ดี หรือมีเหตุอันควรปราณีอื่นใด ไม่เป็นเหตุเพียงพอที่จะลดหย่อนโทษลงเป็นให้ออกจากราชการได้
(มติคณะรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ น.ว. 125/2503 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2503)
13. ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาวิชาต่างประเทศ เมื่อครบกำหนดวันลาแล้วไม่ยอมเดินทางกลับมาปฏิบัติราชการเป็นเวลานาน ถ้าปรากฏว่ามีเจตนาละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันควร ให้นำมติคณะรัฐมนตรีตามหนังสือที่ น.ว. 125/2503 ลงวันที่ 5 ตุลาคม2503 มาประกอบการพิจารณาในการสั่งลงโทษทางวินัย
(มติคณะรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการรัฐมนตรี ส.ร. 0401/ว.50 ลงวันที่22 พฤษภาคม 2510)
14. บัตรสนเทห์ไม่รับพิจารณา เว้นแต่รายที่ระบุหลักฐานกรณีแวดล้อม ปรากฏชัดแจ้งตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอน
(มติคณะรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี น.ว. 148/2502 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2502)
15. กระทรวงศึกษาธิการไม่มีความประสงค์ที่จะให้ครูลงโทษนักเรียนรุนแรง หรือแบบวิตถาร เช่น ตบหน้า เขกศรีษะ ทุบหลัง ตบกกหู หรือใช้แปรงลบกระดานทุบ ตี ขว้างปาหรือให้เขกโต๊ะจนมือเลือดออกเป็นต้น ครูคนใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(หนังสือกระทรวงศึกษาธิการที่ ศธ. 7754/2506 ลงวันที่ 16 เมษายน 2506)
16. กระทรวงศึกษาธิการไม่อนุญาตให้ครูสตรีเข้าประกวดนางงาม ตลอดจนการประกวดหรือแสดงแบบเครื่องแต่งกายสตรี ไม่ว่าการประกวดนั้นจะเรียกชื่ออย่างไร และผู้ใดเป็นผู้จัด หาก
ฝ่าฝืนอาจได้รับการพิจารณาลงโทษถึงให้ออกจากราชการ
(หนังสือกระทรวงศึกษาธิการที่ ศธ. 1422/2504 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2504)
17. การประพฤติผิดประเวณีต่อบุคคลอื่น หรือคู่สมรสของผู้อื่น เป็นความประพฤติไม่เหมาะสม และเข้าลักษณะเป็นความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
18. กระทรวงศึกษาธิการรังเกียจและจำต้องห้ามความประพฤติผิดประเวณีในระหว่าง
ข้าราชการชายหญิงในกระทรวงศึกษาธิการ หรือครูกับนักเรียนเว้นไว้แต่ผู้เป็นโสดต่างตั้งใจเลี้ยงดูกันฐานสามีภรรยาและสู่ขอสมรสกันตามประเพณี
ถ้าเกิดความรังเกียจขึ้นในส่วนความประพฤติของเขาต่อนักเรียนหญิง(ครูสตรีต่อนักเรียนชาย) เขาจะมีความผิดและเป็นครูไม่ได้ ต้องออกจากหน้าที่ครูทันที
(ข้อบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องครูชายกับนักเรียนหญิง)
19. ถ้าปรากฏว่า การร้องเรียนไม่มีมูลความจริงหรือเป็นการกลั่นแกล้งกัน ผู้ร้องเรียนจะต้องได้รับการพิจารณาลงโทษ
หากปรากฏว่าครู อาจารย์มีส่วนช่วยวางแผน ยั่วยุ ชี้หรือสนับสนุน หรือดำเนินการในลักษณะวิธีใดก็ตามที่จะทำให้เกิดความไม่สงบในโรงเรียน ให้ถือว่ามีความผิดทางวินัยสถานหนัก
(มาตรการป้องกันและแก้ไขการก่อความไม่สงบในสถานศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาตามหนังสือที่ ศธ 0807/13117 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2525)
20. เรียกและรับเงินจากผู้สมัครสอบ โดยอ้างว่าจะช่วยเหลือให้สอบได้ เป็นความผิดฐานประพฤติชั่วร้ายแรง ให้ลงโทษระดับเดียวกับความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
(มติ ก.พ. แจ้งตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ ส.ร. 1006/ว.15 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2516)
21. ข้าราชการยื่นใบลาออกจากราชการแล้วหยุดราชการไปเลย โดยทั้งที่ผู้บังคับบัญชายังมิได้อนุญาต ถ้าสืบสวนได้ความว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรถือเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามกฏ ก.พ.
(มติ ก.พ. แจ้งตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ ศธ 6140/2498 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2498)
22. ผู้ใดมาทำงานสายกว่ากำหนดเวลาเป็นนิจ อันเป็นการแสดงว่ามิได้ตั้งใจปฏิบัติ
หน้าที่ราชการโดยเต็มที่ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษทางวินัย
(มติคณะรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ น.ว. 108/2502 ลงวันที่ 18 กันยายน 2502)
23. ข้าราชการเลิกงานออกจากสถานที่ราชการก่อนกำหนดเวลา เป็นการไม่ร่วมมือและปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล ให้พิจารณาลงโทษสถานหนัก
(มติคณะรัฐมนตรี แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ น.ว. 108/2502 ลงวันที่ 18 กันยายน 2502)
24. ข้าราชการที่สังกัดส่วนกลางแต่ปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาค และอธิบดีเจ้าสังกัดเดิมมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองบังคับบัญชาแทน เมื่อมีความจำเป็นจะต้องออกนอกเขตจังหวัดที่ตนอยู่ จะต้องขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(หนังสือกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0204/4432 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2526)