ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?


บทความการศึกษา 23 เม.ย. 2558 เวลา 05:25 น. เปิดอ่าน : 11,198 ครั้ง
Advertisement

"อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?

Advertisement

ในปัจจุบัน พ่อแม่หลายๆ ต่างพยายามค้นหา แสวงหาสิ่งที่ดีให้กับลูกของตน ตามกระแสของโลกที่เปลี่ยนไป มีการรับรู้และเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น การแข่งขันทางด้านธุรกิจการศึกษาก็มีมากขึ้นไปด้วย สถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมไปถึงเอกชนรายย่อย ต่างก็งัดแคมเปญด้านการศึกษาออกมาแข่งขันกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ปกครองหลายๆ ท่าน พยายามที่จะส่งเสริมลูกหลานให้ได้มีโอกาสในด้านการศึกษามากขึ้น ด้วยความคิดที่ว่าอยากจะให้ลูกหลานของตน "เก่ง" จะได้เป็นที่ยกย่องจากสังคม และคาดหวังแบบเทียบบัญญัติไตรยางค์ไปว่า อายุแค่นี้สามารถทำแบบนี้ได้แล้ว โตขึ้นจะขนาดไหน ครูบ้านนอกดอทคอม ได้อ่านเจอบทความของคุณปรัชญาวดี สินทวี เรื่อง "อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ? จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า เห็นว่าเป็นบทความที่เขียนได้สะท้อนสภาวการณ์ด้านการศึกษาในระดับปฐมวัยของไทยได้ดี จึงอยากจะนำมาเสนอให้ท่านผู้อ่านได้อ่าน และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ ลองไปอ่านดูครับ


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ตไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

"อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?

“โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร?” คำถามที่ผู้ใหญ่หลายคนตั้งไว้ถามเด็กๆ ตั้งแต่เริ่มเข้าโรงเรียนอนุบาล จนนำมาซึ่งค่านิยมที่คุ้นหูว่า “ถ้าอย่างนั้นต้องเรียนเก่งๆ นะ จะได้เป็นคนใหญ่คนโต เป็นเจ้าคนนายคน” เห็นได้จากพ่อแม่หลายคนที่เมื่อมีลูกแล้วก็ตั้งความหวัง ความฝันของตัวเองที่อยากจะให้ลูกเรียนเก่งๆ สอบได้คะแนนสูงๆ ตามทันโลกที่หมุนไปเร็วกว่าแต่ก่อน

ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็น “ธุรกิจกวดวิชา” ที่ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่เด็กโตเท่านั้น แต่ยังลามไปถึง “เด็กปฐมวัย” หรือเด็กอนุบาล-ประถมต้น ผุดขึ้นมากมายทั้งในห้างสรรพสินค้าหรือตึกแถวต่างๆ ซึ่งผู้ปกครองก็หวังพึ่งช่องทางนี้ เพื่อให้ลูกอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณเป็น หวังให้ลูกเก่งกว่าใครๆ ทว่าอีกด้านหนึ่ง ก็มีผู้คนไม่น้อยเริ่มตั้งคำถามเช่นกันว่า เส้นทางกระแสหลักของสังคมที่เรากำลังเดินไปอยู่นั้น “ถูกต้องแล้ว” จริงๆ หรือ?

“เพราะเป็นเด็กจึงเจ็บปวด”..ประโยคสั้นๆ จากเยาวชน แต่สะท้อนอะไรหลายอย่างได้มากมาย!!!

ที่งานแถลงข่าว “ปฐมวัย:ลงทุนอย่างไรให้คุ้มค่า” ณ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) อาคารไอบีเอ็ม ชั้น 13 กทม. เมื่อเดือน มี.ค. 2558 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ ประธานสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากอดีตถึงปัจจุบัน ค่านิยมของพ่อแม่ผู้ปกครองไทย เชื่อมาตลอดว่าการให้เด็กเรียนรู้ทางวิชาการมากๆ ทั้งการอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณทางคณิตศาสตร์เป็นตั้งแต่อายุน้อยๆ คือเครื่องชี้วัดว่าบุตรหลานของตนนั้น “เก่ง-หัวดี-อัจฉริยะ”

ทว่าในความเป็นจริงแล้ว การกระทำดังกล่าวเป็นการ “ขัดขวางพัฒนาการเด็ก” โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจารย์ศศิลักษณ์ อธิบายว่า จริงๆ แล้วทักษะของคนเรามีหลายประเภท ซึ่งทักษะทางวิชาการก็เป็น 1 ในทักษะเหล่านั้น โดยนอกจากวิชาการแล้ว ยังมีทักษะการใช้ร่างกาย จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการเข้าสังคม ฯลฯ และช่วงปฐมวัยนั้นเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับการพัฒนาทักษะเหล่านี้ไปพร้อมๆ กัน แต่น่าเสียดายที่กระแสสังคม ได้ทำลายโอกาสเหล่านี้ไป เพียงเพราะต้องการให้บุตรหลานเก่งวิชาการเพียงด้านเดียวเท่านั้น

“เรื่องของการเร่งให้เรียน มันเป็นเหมือนวิธีคิด ค่านิยมของเราที่เรามองว่าเด็กที่สามารถอ่านหนังสือได้ เขียนหนังสือได้ คิดคำนวณเลขได้ คือเด็กที่เก่ง แต่จริงๆ แล้วความสามารถเรามีด้านอื่นได้ บางคนมีความสามารถด้านศิลปะ บางคนมีความสามารถในเรื่องของการใช้ร่างกาย เด็กๆ จะมีความสามารถที่จะพัฒนาได้ทุกเรื่อง แต่ผู้ปกครองจะมองว่าการที่เด็กเขียนได้ พูดได้ คิดเลขได้ก่อนวัยอันควรคือความเก่ง มันก็ทำให้การพัฒนาด้านอื่นๆ ถูกตัดออกไปเด็กก็อาจจะไม่ได้ให้ร่างกายเขาอย่างเต็มที่ ไม่ได้มีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ รอบตัว

ซึ่งร่างกายเขาจะต้องพัฒนาในด้านของมิติสัมพันธ์ และในเรื่องของภาษา ความคิด การมองเห็นรายละเอียดของสีสันต่างๆ ในธรรมชาติ ถ้าเขาไม่มีโอกาสได้รับสิ่งธรรมชาติ จ้องแต่จอคอมพิวเตอร์ ความสามารถ พัฒนาการของเขาในอนาคตก็อาจจะสมาธิสั้น หรือความสามารถในการแยกแยะสีธรรมชาติก็อาจจะแย่ลง ซึ่งนี่ก็เป็นการพัฒนาทางสมองที่หลากหลาย” อาจารย์ศศิลักษณ์ ระบุ

นี่ไม่ใช่แต่เพียงสมมุติฐานทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังมีการทดลองจนเห็นผลเป็นที่ประจักษ์มาแล้ว โดย ดร.นฤมล เนียมหอม ครูปฐมวัย โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ กทม. บอกเล่าถึงการเรียนการสอนเด็กอนุบาลใน รร.ทุ่งมหาเมฆ ซึ่งใช้แนวทาง “เรียนจากการเล่น” ยกตัวอย่างวันหนึ่งที่อ่านนิทานเรื่อง “บ้านขนม” ให้เด็กๆ ฟัง จากนั้นก็ชวนให้เด็กๆ ลองคิดว่า “แล้วเราจะสร้างบ้านขนมจริงๆ ได้อย่างไร?”

ซึ่งเด็กๆ ก็จะช่วยกันคิด ตั้งแต่การหาวัสดุว่าจะทำอย่างไรให้บ้านแข็งแรงสวยงาม หรือเด็กบางคนก็ถามกลับว่าสร้างแล้วมดจะไม่ขึ้นหรือ? ต่อเนื่องไปกระทั่งการหัดทำขนมทั้งขนมที่รับประทานได้จริงๆ และขนมปลอมๆ ไว้ใช้เป็นของเล่น โดยทั้งหมดนี้ล้วนเป็น “การเรียนรู้” ทั้งสิ้น

“เด็กได้ตั้งแต่ตั้งจุดประสงค์ของตัวเอง แล้วก็หาวิธีคิดแก้ปัญหาไปทีละขั้น ทำอย่างไรถึงจะสร้างขึ้นมาได้ ทำอย่างไงถึงจะให้บ้านแข็งแรง ทำอย่างไรให้มันสวย ทำอย่างไรให้เพื่อนๆเข้าไปเล่นได้ เราทำในส่วนนี้เราก็เห็นว่าเขาสนุกมาก แต่ความสนุกมันไม่ได้หมดแค่นั้น เด็กๆยังคิดกันว่าเราน่าจะลองทำขนมกันจริงๆ

เราก็เสนอความคิดกันว่าอยากทำขนมอะไรเด็กๆ บอกว่าทำเยลลี่ไหม เราก็ลองทำดูผสมด้วยน้ำร้อนผสมด้วยน้ำเย็นผสมด้วยน้ำธรรมดา เหมือนเป็นการทดลองไปในตัว แต่เขาก็สนุก แล้วก็ยังมีความคิดอีกว่า มาทำขนมปลอมๆ เอาไว้เล่นกันไหม เราก็เอาคุกกี้ปลอมไปไว้ในบ้าน เราก็ถามเด็กว่ารู้ใช่ไหมว่านี่คือของปลอม? เขาก็บอกว่ารู้เพราะว่าเราทำกันเอง” คุณครูรายนี้ กล่าว

และผลที่ได้รับต้องบอกว่า “น่าพอใจ” เห็นได้จากการสอบถามบรรดาครูประถมใน รร.ทุ่งมหาเมฆ ที่ต้อง “รับช่วงต่อ” เด็กกลุ่มนี้จากชั้นอนุบาลขึ้นไปเรียนต่อ พบว่าเด็กกลุ่มนี้มีทักษะการฟัง “ฟังรู้เรื่อง-จับใจความได้”, มีความใฝ่รู้ “รักการอ่าน”, มีทักษะการพูด “พูดดี-มีมารยาทในการพูด” ในระดับที่ดี ขณะที่ผู้ปกครองก็ชมว่าบุตรหลานของตนมีความประพฤติที่ดีขึ้น แม้จะมาจากครอบครัวที่พื้นฐานไม่ค่อยดีนักก็ตาม

“คือเด็กๆ ของเรา เป็นเด็กที่มาจากสังคมที่ไม่เรียบร้อยนัก พอผ่านไปสัก 1 ภาคเรียนเด็กจะมีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด พ่อแม่จะภูมิใจมากว่าลูกช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว ลูกมีมารยาททางสังคมที่ดีขึ้น ลูกอดทนรอคอยได้นานมากขึ้น ลูกมีความพยายามลูกรู้จักพูดกับคนอื่นอย่างสุภาพ ลูกทำสิ่งนู้นสิ่งนี้ได้ พ่อแม่ก็ภูมิใจ พอเด็กจบ ป.6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน เด็กก็เข้าเรียนต่อโรงเรียนมัธยมได้ 100 เปอร์เซ็นต์”

ครูนฤมลระบุ ซึ่งนอกจากจะทดลองที่ รร.ทุ่งมหาเมฆแล้ว ยังทดลองที่ รร.อนุบาลสามเสน อีกด้วย และผลที่ได้ก็ไม่ต่างกัน ระหว่างเด็กที่เรียนในแนวทางนี้ตั้งแต่อนุบาล กับเด็กที่มาจากที่อื่น เมื่อขึ้นไปเรียนในระดับประถมศึกษาแล้ว เด็กที่ “เรียนผ่านการเล่น” มีศักยภาพด้านการเรียนรู้เทียบเท่าเด็กที่ผ่านการเรียนหนักๆ มาตั้งแต่ชั้นอนุบาล แต่สิ่งที่ต่างกัน คือเด็กกลุ่มแรก จะรู้สึก “ผูกพันกับโรงเรียน” อยากมาเรียน เพราะรู้สึกว่าเรียนแล้วมีความสุข

ซึ่งการบ่มเพาะบุคลิกภาพแบบนี้เอง ที่จะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในอนาคต โดย ดร.ไกรยส ภัทราวาส นักเศรษฐศาสตร์ด้านการศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ยกตัวอย่างคำกล่าวของ ศาสตราจารย์ เจมส์ เฮ็คแมน (Prof. James Heckman) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปี 2543 ที่ระบุว่า ทักษะทางพฤติกรรม ต้องมาก่อน ทักษะทางปัญญา เพราะพฤติกรรมหรือนิสัยที่ดี ทั้งความรับผิดชอบ มีวินัย ขยันหมั่นเพียร อดทนอดกลั้น มุมานะพยายาม ตลอดจนคุณธรรมจริยธรรม เป็นสิ่งที่ต้องบ่มเพาะตั้งแต่เยาว์วัย

โดย ศ.เฮ็คแมน ย้ำว่า “การลงทุนกับเด็กปฐมวัยเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงที่สุดถึง 7-12 เท่า และแม้จะเอาเงินไปลงทุนใน มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ก็ไม่มีทางจะได้ผลตอบแทนสูงขนาดนี้” ซึ่งหากเด็กคนใดมีบุคลิกภาพที่ดีเหล่านี้ติดตัว เมื่อโตขึ้นไปเรียนต่อในระดับสูง หรือไปทำงานใดๆ ก็ตาม โอกาสที่จะประสบความสำเร็จย่อมมีสูงกว่าเด็กที่ถูกอัดความรู้ทางวิชาการแต่เพียงด้านเดียว และไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะมาฝึกฝนอุปนิสัยเหล่านี้ เมื่อพ้นช่วงปฐมวัยไปแล้ว

“ผลวิจัยระดับนานาชาติมีมานานแล้ว ว่าทักษะทางบุคลิกภาพในระยะยาวจะมีผลมากต่อการลดปัญหาอาชญากร หรือปัญหาทางพฤติกรรมต่างๆ และการประสบความสำเร็จในการทำงาน แม้ในช่วงต้นทักษะทางปัญญาจะมีผลบ้าง แต่ในระยะยาวคือทักษะทางบุคลิกภาพ ที่เด็กๆ กำลังสูญเสียไปในขณะนี้เพราะมัวแต่ไปเร่งพัฒนาทักษะทางสติปัญญาอย่างเดียว

อย่างสหรัฐอเมริกา เขาเก็บข้อมูลกัน 30 ปี ล้วนบอกตรงกันว่าทักษะทางสติปัญญา มีผลแค่ระยะสั้นๆ เท่านั้น แต่ถ้าวัดกันยาวๆ ทักษะพวกการควบคุมตนเอง การมีแรงบันดาลใจ ล้วนมีความสำคัญมากกว่าในการสร้างความสำเร็จ ทั้งทางวิชาการและการทำงานในอนาคตของเด็ก” ดร.ไกรยส ฝากทิ้งท้าย

แม้จะมีหลักฐานทางวิชาการรองรับ แต่ในความเป็นจริง การเปลี่ยนค่านิยมของสังคมคงเป็นเรื่องยาก ยิ่งปัจจุบันที่กระแสการแข่งขันมีแต่จะรุนแรงขึ้น พ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนมากที่กลัวว่าบุตรหลานโตขึ้นแล้วจะไม่ได้ทำงานดีๆ รายได้งามๆ เชื่อว่าก็ยังคงมุ่งไปหนทาง “เร่งเรียน-เร่งอัดความรู้” กันต่อไป

หนทางนี้ “ไม่ง่าย” ถ้าจะทำจริงๆ คงต้อง “ปฏิรูป” ร่วมกันทุกภาคส่วน!!!

 

ปรัชญาวดี สินทวี
SCOOP@NAEWNA.COM

 

ขอบคุณที่มาจาก หนังสือพิมพ์แนวหน้า

 


"อัดความรู้" แต่แบเบาะ สร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?อัดความรู้แต่แบเบาะสร้างอนาคตเด็กได้จริงหรือ?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา

ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา


เปิดอ่าน 7,456 ครั้ง
การศึกษาในอนาคต

การศึกษาในอนาคต


เปิดอ่าน 21,088 ครั้ง
ครูพันธุ์ควอลิตี้

ครูพันธุ์ควอลิตี้


เปิดอ่าน 9,336 ครั้ง
เฉลยข้อสอบอัตนัยด้วย FACEBOOKLIVE

เฉลยข้อสอบอัตนัยด้วย FACEBOOKLIVE


เปิดอ่าน 14,518 ครั้ง
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)

ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)


เปิดอ่าน 8,553 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การศึกษาในอนาคต

การศึกษาในอนาคต

เปิดอ่าน 21,088 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ที่เกาหลีใต้? เขาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยถนนแห่งปัญญา
ที่เกาหลีใต้? เขาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยถนนแห่งปัญญา
เปิดอ่าน 8,761 ☕ คลิกอ่านเลย

ว่าด้วยกรณีมหาวิทยาลัยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน??? โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร
ว่าด้วยกรณีมหาวิทยาลัยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน??? โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร
เปิดอ่าน 14,231 ☕ คลิกอ่านเลย

เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 8,423 ☕ คลิกอ่านเลย

ถอดบทเรียน ครอบครัว-การศึกษา สร้าง “เด็ก” เเตกต่าง “เก่ง” ในทางของตัวเอง
ถอดบทเรียน ครอบครัว-การศึกษา สร้าง “เด็ก” เเตกต่าง “เก่ง” ในทางของตัวเอง
เปิดอ่าน 32,748 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน
ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน
เปิดอ่าน 12,341 ☕ คลิกอ่านเลย

ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา
ซูปเปอร์ไฮเวย์การศึกษา
เปิดอ่าน 7,456 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คลิปเจ้าหนู 11 ปี นักบาสฯ ขั้นเทพ เล่นเก่งกว่าผู้ใหญ่ ฮิตกว่า 2 ล้านวิวแล้ว
คลิปเจ้าหนู 11 ปี นักบาสฯ ขั้นเทพ เล่นเก่งกว่าผู้ใหญ่ ฮิตกว่า 2 ล้านวิวแล้ว
เปิดอ่าน 17,215 ครั้ง

วิธีแก้แบตเตอรี่ iPhone-iPad บนiOS 5.1.1 ให้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพ
วิธีแก้แบตเตอรี่ iPhone-iPad บนiOS 5.1.1 ให้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพ
เปิดอ่าน 11,006 ครั้ง

รู้หรือไม่ สิทธิบัตรการออกแบบชิ้นแรก ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา คือ...
รู้หรือไม่ สิทธิบัตรการออกแบบชิ้นแรก ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา คือ...
เปิดอ่าน 16,950 ครั้ง

สวมแหวนแต่ละนิ้ว เสริมดวงอะไรบ้าง
สวมแหวนแต่ละนิ้ว เสริมดวงอะไรบ้าง
เปิดอ่าน 3,974 ครั้ง

ประวัติลูกเสือไทย
ประวัติลูกเสือไทย
เปิดอ่าน 4,784 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ