ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เผยเคล็ดลับ อ่านหนังสือแล้วทำอย่างไร ให้จำได้ดี


ความรู้ทั่วไป 16 เม.ย. 2558 เวลา 21:38 น. เปิดอ่าน : 25,966 ครั้ง
Advertisement

เผยเคล็ดลับ อ่านหนังสือแล้วทำอย่างไร ให้จำได้ดี

Advertisement

"ความสำเร็จในการสอบ มิได้มาเพราะโชคช่วย หรือด้วยคำพร่ำภาวนา แต่มาจากการไขว่คว้า พยายาม เอาจริงเอาจังและมีวินัย"

เผย...เคล็ดลับ!!! ความจำดี-อ่านและรู้แล้ว ให้ "รีบนอนให้หลับ"

เคล็ด ให้ความจำระยะยาวฝังหัว พอรู้แล้วให้งีบ หลับกลางวันเสีย มีข้อแนะนำกับผู้ที่อ่านข่าวเรื่องนี้ว่า หากอยากจะจดจำให้ได้แม่น พออ่านจบแล้วให้ไปรีบนอนงีบให้หลับเสีย

เหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น การนอนหลับ มีผลต่อความจำอย่างไร ครูบ้านนอกได้ลองค้นคว้าเนื้อหาบทความจาก Eduzones เกี่ยวกับการนอนหลับกับความจำ พบข้อมูลดังนี้ครับ

นักวิจัยสมองของมหาวิทยาลัยไฮ ฟาของอิสราเอล ได้สำรวจพบวี่แววว่า การนอนช่วยเก็บงำความจำระยะยาวที่บางครั้งบางคราวมักจะผ่านไปเร็วให้ โดยเฉพาะหากได้ นอนกลางวันได้นาน 90 นาที จะได้ผลดีที่สุด

นายอาวี คาร์นี นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่า “เราก็ยังไม่รู้กลไกของขบวนการความจำที่เป็นไปตอนนอนหลับชัดเจนเหมือนกัน แต่ผลการวิจัยส่อว่า มันอาจจะเป็นไปได้ว่าช่วยเร่งฝังหัวไว้ให้เร็วขึ้น”

ความจำระยะยาว หมายถึงความจำที่คงอยู่กับเราได้แรมปี อย่างเช่น การได้รับอุบัติเหตุทางรถ หรือความจำในวิธีการต่างๆ เช่น การฝึกตีกลอง

เขารายงานผลการศึกษาวิจัยในวารสาร “ประสาทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ” ของสหรัฐฯว่า ได้ทำการศึกษาโดยการบอกให้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จดจำวิธีการบางอย่าง หลังจากนั้นให้กลุ่มที่หนึ่งงีบตอนบ่ายไปนาน 1 ชม. พบว่ากลุ่มที่ได้งีบ แสดงให้เห็นว่าทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ทั้งยังพบด้วยว่า การหลับชั่ว 90 นาที ช่วยให้สมองเก็บงำความจำระยะยาวได้เร็วขึ้นมาก

ดร.คาร์นี กล่าวชี้ว่า “การนอนงีบกลางวัน จะช่วยย่นระยะเวลาของการเก็บงำความจำ แทนที่ต้องใช้เวลาตั้ง 6-8 ชม. สมองสามารถบีบอัดความจำ ชั่วในเวลาหลับแค่ 90 นาที เอาไว้ได้”.

อาจกล่าวได้ว่า การอ่านหนังสือ เมื่อมีความเข้าใจและรู้ในเรื่องนั้นแล้ว ควรให้สมองได้พักผ่อนบ้าง ไม่เติมเรื่องอื่นเข้าไปเป็นการรบกวนความจำในเรื่องนั้น เพื่อเป็นการปล่อยให้เรื่องนั้นได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในความจำส่วนลึก

จากเรื่องนี้ ก็มีข่าวเกี่ยวกับผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ว่านักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันว่าการนอนหลับ มีความสำคัญต่อความจำด้วยครับ ลองอ่านดูจากเรื่องนี้ครับ

 

นักวิทย์ยืนยันการนอนหลับสำคัญต่อความจำ

การนอนหลับนั้นเป็นปริศนามานาน แต่งานวิจัยหลายๆชิ้นก็ได้รวบรวมเบาะแสต่างๆที่พยายามจะชี้ชัดว่าการเรียนรู้นั้นสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้และจดจำ โดยงานวิจัยชิ้นใหม่ล่าสุดยืนยันว่า การนอนหลับนั้นเป็นหน้าที่หลักเลยสำหรับการทำให้ความจำนั้นเป็นความจำถาวร และเป็นการเตรียมให้สมองได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

พอล ชอว์ แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์ ได้ค้นพบว่า เมื่อทำการกระตุ้นเส้นประสาท 2-3 จุดที่สมองส่วนบนของแมลงหวี่จะทำให้แมลงหวี่หลับได้ จากนั้น เมื่อสมองเข้าสู่ช่วงหลับช่วงแรก ความจำระยะสั้นก็จะเปลี่ยนเป็นความจำระยะยาว โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาทวิชาการ Science วันที่ 24 มิถุนายนแล้ว

นอกจากนี้ ในวารสาร Science ฉบับเดียวกัน ก็ได้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ที่ได้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในระดับไมโครในช่วงที่มีการนอนหลับดังกล่าว ซึ่งจะเห็นว่าการเชื่อมต่อในสมองนั้นจะถูกตัดออกไปในขณะที่หลับ ก่อนหน้านี้ กลุ่มวิจัยกลุ่มนี้เคยสรุปโดยอ้อมไว้แล้วว่า การนอนหลับเป็นการเตรียมความพร้อมให้สมองได้เรียนรู้สิ่งใหม่ในวันต่อไปก็เพราะมีการเชื่อมต่อในสมองออกไปนี่เอง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ได้หลักฐานที่ยืนยันโดยตรง

"การค้นพบครั้งนี้ได้ยืนยันว่ากระบวนการเรียนรู้และจดจำเป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของการหลับ" มาร์คอส แฟรงก์ นักประสาทวิทยา มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย กล่าว แม้จะไม่ได้ร่วมกับงานวิจัยเลยก็ตาม

สำหรับกลุ่มวิจัยของชอว์นั้น ได้ดัดแปลงพันธุกรรมของแมลงหวี่ โดยทำให้แมลงหวี่เหล่านี้สร้างโปรตีนที่จะไปเปลี่ยนประสาทของแมลงหวี่ให้เกิดความรู้สึกอยากนอนเมื่อได้รับความร้อน ที่อาจจะเป็นอุณหภูมิที่ร้อนหรือหรือเมื่อได้รับสารแคปไซซิน ที่เป็นสารให้ความเผ็ดในพริก สำหรับแมลงหวี่ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุรรมที่ได้รับสารแคปไซซินเข้าไปนั้นจะเกิดการหลับ แต่ไม่ได้หลับทันทีทันใด ตรงกันข้าม แมลงหวี่ที่ถูกจับให้อยู่ในตู้อบที่อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียสจะเกิดอาการหลับสนิทในทันทีเลย

จากนั้น นักวิจัยได้ส่งแมลงหวี่ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมตัวผู้เข้าไปในฝูงของตัวผู้อีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการชุบฟีโรโมนของเพศเมียมา แมลงหวี่เพศผู้กลุ่มนี้สามารถจีบเพศเมียเทียมเหล่านี้ได้ดีเห็นได้จากการพยายามเข้าไปผสมพันธุ์แต่โดนปฏิเสธกลับมาเพราะเป็นเพศเดียวกัน แต่เหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้แมลงหวี่ตัวผู้ไม่สามารถเกิดความจำระยะยาวได้เลยหากว่ามันยังดันทุรัง ไม่นอนหลังจากไม่สามารถหาตัวผสมพันธุ์ได้ เหมือนกับการไม่นอนเพื่ออ่านหนังสือสอบทั้งคืนนั่นเอง

และเมื่อขังให้อยู่กับตัวเมียเทียมเช่นนี้ไปเป็นเวลา 2 วัน แมลงหวี่กลุ่มเดิมที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมก็ดูเหมือนจะไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับการโดนปฏิเสธมาก่อนเลย และเมื่อนักวิจัยได้เปิดสวิตช์ที่จะทำให้พวกมันหลับ ความทรงจำเกี่ยวกับการได้รับการปฏิเสธก็กลายมาเป็นความทรงจำถาวร ขณะที่การกระตุ้นสมองส่วนอื่นกลับไม่สามารถเปลี่ยนความจำระยะสั้นเป็นระยะยาวได้เลย

เพราะแมลงหวี่ตัวที่พยายามจะฝืนไม่หลับก็จะไม่สามารถจำเหตุการณ์ตอนโดนปฏิเสธได้

จึงสรุปได้ว่า การนอนหลับมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนความทรงจำระยะสั้นเป็นความทรงจำระยะยาว ไม่ใช่แค่การกระตุ้นสมองแต่อย่างใด

"ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่เราพยายามจะบอกก็คือ การนอนหลับนี้มีหน้าที่สำคัญมากในการรวบรวมความจำ ไม่ได้มีหน้าที่โดยอ้อม" ชอว์กล่าว

แม้ว่าจะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการนอนหลับนี้มีกลไกอย่างไรจึงให้ผลออกมาเช่นนี้ นอกจากนี้ การนอนหลับก็คือมีผลกระทบกับความทรงจำด้วยคือ จะไปกำจัดความทรงจำที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปเพื่อเก็บเฉพาะประสบการณ์ที่มีค่า แนวความคิดนี้เรียกว่าโมเดล synaptic homeostasis ที่บอกว่า ในขณะที่หลับนั้น การเชื่อมต่อหรือ synapse ระหว่างเซลล์สมองจะอ่อนลง การเชื่อมต่อแบบอ่อนอาจจะวิกฤตมากๆ ขณะที่การเชื่อมต่อแบบแข็งแรงอาจจะอยู่รอดได้ ลักษณะเช่นนี้เองที่ทำให้สมองที่ได้รับประสบการณ์ต่างๆมาทั้งวันเกิดการรีเซ็ตเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับวันใหม่ได้ ทีมวิจัยของชอว์ได้แสดงให้เห็นในการศึกษาครั้งใหม่ว่า การนอนหลับและ synapse มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก

ขณะที่การศึกษาอีกทีมหนึ่ง โดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ได้แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดในระดับไมโครสโคปิก โดยบอกว่า ยิ่งเราเรียนรู้มากเท่าไหร่ synapse จะยิ่งแข็งแรงและก็ยิ่งต้องการการนอนหลับมากเท่านั้นเพื่อให้สมองกลับเข้ามาสู่สถานะที่พร้อม

ทีมวิจัยได้ค้นพบหลักการนี้จากการทดลองกับแมลงหวี่ที่อยู่ที่รังแมลงหวี่ "รังแมลงหวี่นี้ไม่ได้มีอะไรพิสดาร มันเป็นแค่ขวดลิตรที่แมลงหวี่สามารถบินและจับกลุ่มกันได้ อาจจะฟังดูเหมือนเยอะ แต่สำหรับแมลงหวี่ที่ถูกจำกัดให้ใช้เวลาทั้งสัปดาห์แรกของชีวิตในท่อเล็กๆนั้นจะไม่สามารถกางปีกได้นะดังนั้น การเข้าไปอยู่ในรังแมลงหวี่ได้นี่ถือเป็นเรื่องใหญ่" เคียร่า ซิเรลลี่ นักประสาทวิทยาผู้ร่วมวิจัยกล่าว

ในกระบวนการเรียนรู้นั้น สมองทั้งสามส่วนของแมลงหวี่ ตอนท้ายของวันจะเกิด synapse มากกว่าตอนต้นวัน แมลงหวี่ที่นอนหลับพักผ่อนจะตัดการเชื่อมต่อออกไปมากมายเพื่อเข้าสู่ระดับเดียวกับตอนเช้า แต่แมลงหวี่ที่ไม่ยอมนอนจะไม่มีการตัดการเชื่อมต่อเหล่านี้ นักวิจัยไม่ทราบว่า synapse ตัวไหนที่จะเกิดวิกฤตหรือกระบวนการที่เกิดนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และทีมวิจัยกำลังนำการทดลองนี้ไปทดสอบกับหนูเพื่อหาคำตอบของคำถามนี้อยู่ แต่สิ่งสำคัญก็คือว่า การนอนหลับนั้นเป็นเรื่องสำคัญต่อกระบวนการจำ และแฟรงก์ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า "นี่ไม่ใช่แค่ว่าการนอนหลับจะทำให้สมองของคุณสามารถเรียนรู้ในวันต่อไปได้ด้วยการตัดกิ่งความสำคัญ แต่สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าคุณไม่นอน คุณก็ไม่สามารถสร้างความจำได้เลย"

 

แปลจาก: http://www.sciencenews.org/
ขอบคุณที่มาข้อมลจาก วิชาการ.คอม

นอกจากนี้ ครูบ้านนอกยังพบว่ามีบทความ และงานวิจัยหลายชิ้นนะครับ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ที่มีผลต่อความจำที่ดีขึ้น ลองค้นหาในอินเทอร์เน็ตดูนะครับ

 

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


เผยเคล็ดลับ อ่านหนังสือแล้วทำอย่างไร ให้จำได้ดีเผยเคล็ดลับอ่านหนังสือแล้วทำอย่างไรให้จำได้ดี

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ประโยชน์ของโยเกิร์ต

ประโยชน์ของโยเกิร์ต


เปิดอ่าน 16,493 ครั้ง
ผิวสวย หน้าใส ด้วยมะพร้าว

ผิวสวย หน้าใส ด้วยมะพร้าว


เปิดอ่าน 12,541 ครั้ง
หนอนไหม

หนอนไหม


เปิดอ่าน 16,901 ครั้ง
หูป่วย! เพราะโลกใบนี้..

หูป่วย! เพราะโลกใบนี้..


เปิดอ่าน 10,756 ครั้ง
มารู้จัก GAT และ PAT กันดีกว่า

มารู้จัก GAT และ PAT กันดีกว่า


เปิดอ่าน 18,570 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เลือก "เคาน์เตอร์ครัว" ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์การทำครัว

เลือก "เคาน์เตอร์ครัว" ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์การทำครัว

เปิดอ่าน 3,632 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คืนนี้ชมจันทร์เต็มดวงขนาดใหญ่ และสว่างที่สุดในรอบปี
คืนนี้ชมจันทร์เต็มดวงขนาดใหญ่ และสว่างที่สุดในรอบปี
เปิดอ่าน 13,778 ☕ คลิกอ่านเลย

ถือศีล กินเจ
ถือศีล กินเจ
เปิดอ่าน 12,367 ☕ คลิกอ่านเลย

jobsDB เผย 10 สายงานที่มีเงินเดือนมากที่สุด
jobsDB เผย 10 สายงานที่มีเงินเดือนมากที่สุด
เปิดอ่าน 32,581 ☕ คลิกอ่านเลย

ทานอาหารช่วยบำบัดความเครียด
ทานอาหารช่วยบำบัดความเครียด
เปิดอ่าน 10,645 ☕ คลิกอ่านเลย

สถิติน่ารู้....นอนกรน
สถิติน่ารู้....นอนกรน
เปิดอ่าน 16,077 ☕ คลิกอ่านเลย

วิจัยพบ"ตำลึงทอง"รักษากระดูกพรุน
วิจัยพบ"ตำลึงทอง"รักษากระดูกพรุน
เปิดอ่าน 16,021 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

31 คุณสมบัติของคนประสบความสำเร็จ ที่อยากแชร์ให้โลกรู้
31 คุณสมบัติของคนประสบความสำเร็จ ที่อยากแชร์ให้โลกรู้
เปิดอ่าน 10,591 ครั้ง

ผลึกความรู้นิทรรศการวันครูสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา : เดชาพัชร  สมหมาย
ผลึกความรู้นิทรรศการวันครูสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา : เดชาพัชร สมหมาย
เปิดอ่าน 39,149 ครั้ง

ตักขี้ควายขายรายได้เดือนละ 2 หมื่น
ตักขี้ควายขายรายได้เดือนละ 2 หมื่น
เปิดอ่าน 15,479 ครั้ง

มิติใหม่การศึกษา ... เดินหน้า TEPE Online พัฒนา “ครู” สนับสนุน “ครูตู้” พัฒนาเด็กไทยอย่างเท่าเทียม
มิติใหม่การศึกษา ... เดินหน้า TEPE Online พัฒนา “ครู” สนับสนุน “ครูตู้” พัฒนาเด็กไทยอย่างเท่าเทียม
เปิดอ่าน 12,941 ครั้ง

9 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำบน Facebook
9 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำบน Facebook
เปิดอ่าน 14,432 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ