ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความเทคโนโลยีการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปัญหาของชาวโซเชียล เฟซบุ๊กกับภาวะซึมเศร้า


บทความเทคโนโลยีการศึกษา 14 เม.ย. 2558 เวลา 06:00 น. เปิดอ่าน : 12,364 ครั้ง
ปัญหาของชาวโซเชียล เฟซบุ๊กกับภาวะซึมเศร้า

Advertisement

ปัญหาของชาวโซเชียล เฟซบุ๊กกับภาวะซึมเศร้า

โดย ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์

เทศกาลสงกรานต์เวียนมาบรรจบกันอีกครั้ง คนส่วนใหญ่มีวันหยุดยาว จำนวนมากคงออกเดินทางไปเที่ยวหรือไปร่วมฉลองสงกรานต์กัน เป็นเวลาที่มีกิจกรรมอย่างอื่นๆ นอกบ้านกัน เคยสังเกตอยู่เหมือนกันว่าในช่วงวันหยุดหลายๆ วันแบบนี้ ความเคลื่อนไหวต่างๆ บนโซเชียล เน็ตเวิร์ก อย่างเช่นเฟซบุ๊กจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ความถี่ในการโพสต์การแชร์อะไรต่อมิอะไรลดลงไปบ้าง

อาจจะถือเป็นเรื่องดีที่ได้ละจากโซเชียลเน็ตเวิร์กกันบ้าง อย่างน้อยก็ลดลงเพราะช่วงแบบนี้เอาเวลาไปทำอย่างอื่นกันมากขึ้น เพราะพูดกันตามตรงปัญหาสุขภาพจิตกับเฟซบุ๊กมันเคียงคู่กันมา เช่น การเกิดภาวะซึมเศร้า เป็นต้น มีผลการศึกษาหลายต่อหลายชิ้นชี้ให้เห็นเรื่องนี้

เมื่อเร็วๆ นี้มีผลการศึกษาใหม่ล่าสุดอีกชิ้นตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารจิตวิทยาสังคมและคลินิก (Journal of Social and Clinical Psychology) ที่ไม่เพียงชี้ให้เห็นว่าภาวะซึมเศร้ากับเฟซบุ๊กเป็นสิ่งที่ควบคู่กันมาเท่านั้น แต่องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะอันไม่พึงปรารถนาดังกล่าวคือการเปรียบเทียบทางสังคม

นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยฮุสตันสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก ดูแนวโน้มการเปรียบเทียบทางสังคมที่กลุ่มตัวอย่างใช้เมื่อเข้าเฟซบุ๊ก เทียบกับความถี่ในการเกิดภาวะซึมเศร้า

ผลลัพธ์ที่ได้มาก็คือ คนใช้เฟซบุ๊กมากกว่า ก็จะพบว่ามีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นมากกว่า และสื่อกลางที่นำไปสู่อาการเช่นนั้นคือการเปรียบเทียบทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบกับผู้ที่เหนือกว่า ด้อยกว่า หรือเสมอกัน ที่ใช้เฟซบุ๊กแล้วเกิดอาการซึมเศร้าก็เพราะเข้าไปแล้วก็จะทำการเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ จากเนื้อหาต่างๆ ที่คนอื่นโพสต์เอาไว้

การเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ แล้วนำไปสู่ภาวะสุขภาพจิตอันไม่พึงปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ หงุดหงิด อิจฉาริษยา หรือถึงขั้นซึมเศร้านั้น ที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นเรื่องที่พอรู้กันอยู่ว่ามันก็เกิดขึ้นอยู่ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไปอยู่แล้ว แม้ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเฟซบุ๊กหรือโซเชียล เน็ตเวิร์กอยู่ในโลกนี้เลยก็ตาม

แต่การวิจัยพบว่าคนใช้เฟซบุ๊กมีแนวโน้มจะเกิดอาการมาก อาการที่เกิดขึ้นนั้นมาจากเมื่อใช้แล้วก็เกิดการเปรียบเทียบกันคนอื่นๆ ตามมา ยิ่งใช้มากโอกาสเกิดก็ยิ่งมาก

การเปรียบเทียบทางสังคมเป็นเรื่องที่อดไม่ได้สำหรับปุถุชนทั้งหลาย ลองถามตัวเองกันดูก็ได้ว่าเคยเห็นสิ่งที่เพื่อนๆ โพสต์บนเฟซบุ๊กแล้วเกิดการเปรียบเทียบกับตัวเองบ้างไหม ใครตอบว่าไม่เคย สันนิษฐานได้เลยว่าโกหก

จากผลงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้มีข้อแนะนำว่า ถ้าใครใช้เฟซบุ๊กหรือโซเชียล เน็ตเวิร์กอื่นๆ ทั้งหลายแล้วเกิดอารมณ์บ่จอยค่อนข้างถี่ ให้ระลึกไว้เลยว่าควรจะถอยห่างออกจากมันได้แล้ว พร้อมๆ กับการไปฝึกจิตให้มั่นคง หาหนทางเคารพนับถือตัวเองให้มากขึ้นมากๆ รู้จักเปรียบเทียบในเชิงบวกให้เป็น ไม่ใช่เอาแต่ถ่มถุยตัวเองไม่หยุดหย่อน

หากทำไม่ได้ เลิกเล่นไปเลยก็เป็นวิธีหนึ่งในการรักษาสุขภาพจิตตัวเองไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีแนวโน้มเกิดภาวะซึมเศร้าง่ายๆ

ช่วงเทศกาลสงกรานต์ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะละจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ออกไปฉลองกับชาวบ้านชาวช่องเขา ออกไปแล้วก็ให้มือห่างจากโทรศัพท์มือถือด้วย เพราะขืนเอาออกมาจิ้มๆ ไม่ดูตาม้าตาเรือ โดนสาดน้ำเข้าไปมันอาจพังได้ จะยิ่งทำให้ซึมเศร้าหนักขึ้นอีก

 

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558


ปัญหาของชาวโซเชียล เฟซบุ๊กกับภาวะซึมเศร้าปัญหาของชาวโซเชียลเฟซบุ๊กกับภาวะซึมเศร้า

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความหมายของระบบ

ความหมายของระบบ


เปิดอ่าน 191,112 ครั้ง
แนวทางการสร้างคอร์สแวร์

แนวทางการสร้างคอร์สแวร์


เปิดอ่าน 16,082 ครั้ง
A Systems Approach for Developing Technological Literacy

A Systems Approach for Developing Technological Literacy


เปิดอ่าน 10,813 ครั้ง
Student Perceptions of Selected Technology Student Association Activit

Student Perceptions of Selected Technology Student Association Activit


เปิดอ่าน 10,676 ครั้ง
ADDIE Model timeline

ADDIE Model timeline


เปิดอ่าน 44,318 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

บทบาทของการสื่อสารและเครือข่ายฯ

บทบาทของการสื่อสารและเครือข่ายฯ

เปิดอ่าน 19,987 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ใช้เทคโนโลยีสร้าง "การคิดวิเคราะห์"
ใช้เทคโนโลยีสร้าง "การคิดวิเคราะห์"
เปิดอ่าน 15,121 ☕ คลิกอ่านเลย

การเรียนรู้โดยใช้แป้นพิมพ์แทนการเขียน ดีหรือไม่?
การเรียนรู้โดยใช้แป้นพิมพ์แทนการเขียน ดีหรือไม่?
เปิดอ่าน 19,757 ☕ คลิกอ่านเลย

ความพอเพียงของสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
ความพอเพียงของสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
เปิดอ่าน 14,218 ☕ คลิกอ่านเลย

ความหมายของเทคโนโลยี
ความหมายของเทคโนโลยี
เปิดอ่าน 53,852 ☕ คลิกอ่านเลย

แนวทางการพัฒนาทักษะการค้นคว้า และศึกษาด้วยตนเองเพื่อรองรับ AEC : 2558
แนวทางการพัฒนาทักษะการค้นคว้า และศึกษาด้วยตนเองเพื่อรองรับ AEC : 2558
เปิดอ่าน 19,617 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีการเชิงระบบ
วิธีการเชิงระบบ
เปิดอ่าน 44,316 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ระบบการศึกษา กุญแจความสำเร็จของเกาหลี
ระบบการศึกษา กุญแจความสำเร็จของเกาหลี
เปิดอ่าน 17,435 ครั้ง

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2553
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2553
เปิดอ่าน 15,127 ครั้ง

เปิดจุดแข็ง-จุดอ่อนของคน 12 ราศี
เปิดจุดแข็ง-จุดอ่อนของคน 12 ราศี
เปิดอ่าน 17,831 ครั้ง

5 เกมส์ฝึกพูดภาษาอังกฤษ (Speaking Skills) ในห้องเรียน
5 เกมส์ฝึกพูดภาษาอังกฤษ (Speaking Skills) ในห้องเรียน
เปิดอ่าน 60,784 ครั้ง

อำลาโทรเลขไทย 133 ปี
อำลาโทรเลขไทย 133 ปี
เปิดอ่าน 17,782 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ