Advertisement
สามัญสำนึกแห่งความเป็นคนดี ที่ปรากฏใน จิตใจของแต่ละบุคคล ย่อมเกิดจากการเรียนรู้ถึงหลักการของความเป็นคนดี และการปฏิบัติตนด้วยความตั้งใจที่จะเป็นคนดีตามหลักการ นั้น ความสุขที่เกิดจากความเป็นคนดี ย่อมอำนวย ผลให้บุคคลนั้นสามารถดำเนินชีวิตของตนไปสู่ความ สำเร็จที่ปรารถนา โดยไม่สร้างความทุกข์ยากเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่ตนเองและสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาติไทยถูกรังสรรค์ขึ้นเพื่อสร้างให้ลูกหลานไทยได้มี สามัญสำนึกแห่งความเป็นคนดี รอยยิ้มอันเปี่ยมด้วย ความสุขที่เกิดขึ้นในจิตใจของคนไทยที่มีสามัญสำนึกของความเป็นคนดี ถูกเรียกขานมานานว่า "ยิ้มสยาม" นี่เป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ของคนไทยที่โลกรู้จัก บัดนี้ยิ้มสยาม กำลังจะเลือนหายไปจากสังคมไทย ความมีน้ำใจต่อกันด้วยสามัคคีธรรมกำลังเหือดแห้ง ไปจากสังคม บ่งชี้ถึงการขาดสามัญสำนึกแห่งความ เป็นคนดีในจิตใจของคนไทย เรื่องเสื่อมเสียทางจริยธรรมของสังคมไทยจึงมีปรากฏในหน้า ๑ ของหนังสือพิมพ์ได้เกือบทุกวัน
การแก้ไขปัญหาสังคมเช่นนี้ เบื้องต้นผู้ใหญ่ในสังคมต้องหมั่นทำตนให้เป็นแบบอย่างแก่เยาวชน ในเรื่องการสร้างสามัญสำนึกแห่งความเป็นคนดี พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงธรรมที่ผู้ใหญ่ควรปฏิบัติ เพื่อให้ผู้น้อยเลื่อมใส ไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อุรุเวลวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๒ เถรกรณธรรม ความว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวแรกตรัสรู้ เราอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ครั้งนั้นแล พวกพราหมณ์มากด้วยกันเป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว เข้าไปหาเรา ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับเรา ครั้นพอผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้กล่าวกะเราว่า "ท่านพระโคดม เราได้สดับมาอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่อภิวาท ไม่ลุกรับพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ทั้งไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ข้อนี้เป็นอย่างที่เราได้สดับมาหรือ? การที่ท่านทำเช่นนี้ ไม่สมควรเลย"
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปริวิตกนี้ได้มีแก่เราว่า ท่านเหล่านี้ย่อมไม่รู้ซึ่งเถระ หรือธรรมอันกระทำให้เป็นเถระ ถ้าแม้บุคคลผู้เฒ่ามีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่เกิดมา แต่เขามีปกติพูดในกาล(กาละเทศะ)ไม่สมควร พูดไม่จริง พูดไม่เป็นประโยชน์ พูดไม่เป็นธรรม พูดไม่เป็นวินัย กล่าววาจาที่ไม่ควรจดจำไว้ ไม่มีหลักฐาน ไม่มีขอบเขต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยการไม่ ควร เขาย่อมถึงซึ่งการนั้นนับว่าเป็นเถระผู้เขลาโดยแท้ ถ้าแม้เด็กกำลังรุ่น มีผมดำสนิท ยังหนุ่มแน่น อยู่ใน ปฐมวัย แต่มีปกติพูดในกาลอันควร พูดจริง พูดเป็น ประโยชน์ พูดเป็นธรรม พูดเป็นวินัย กล่าววาจาที่ควร จดจำไว้ มีหลักฐาน มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร เขาย่อมถึงซึ่งกาลนับว่าเป็นเถระผู้ฉลาดโดยแท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำให้เป็นเถระ ๔ ประการคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมซึ่งสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงจำไว้คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรม อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิ-มุต ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑
ผู้ใดมีจิตฟุ้งซ่าน มีความดำริไม่มั่นคง เช่นกับมฤค ยินดีในธรรมของอสัตบุรุษ ย่อมกล่าวคำเพ้อเจ้อเป็นอันมาก ผู้นั้นมีความเห็นลามก ปราศจากความเอื้อเฟื้อ ตั้งอยู่ไกลจากความเป็นผู้มั่นคง ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้สดับ มีปฏิภาณ ประกอบด้วย ธรรมอันทำความมั่นคง ย่อมเห็นแจ้งอรรถแห่งอริย-สัจด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ไม่มีกิเลสอันเป็นประดุจหลักตอ มีไหวพริบ มีชาติและมรณะอันละได้แล้ว เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์สมบูรณ์ เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นเถระ อาสวะของภิกษุใดไม่มี เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนั้นว่า เถระฯ"
เถรกรณธรรม จึงเป็นประดุจแว่นขยายที่ใช้ส่อง สำรวจดูว่าคนที่ถูกเรียกว่าผู้ใหญ่ เป็นผู้ใหญ่จริงหรือ? เมื่อรู้จักใช้ปัญญาพิจารณาบุคคลเช่นนี้แล้ว ย่อมทำให้รู้จักตรึกตรองถึงสิ่งที่ผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ใหญ่พูดอยู่เสมอ ยิ่งถ้าท่านประพฤติตนตรงตามเถรกรณธรรม ก็ควรให้ความเคารพอย่างจริงใจและบริสุทธิ์แก่ท่าน สังคมไทยแต่อดีตมา นอกจากสอนให้ลูกหลานมีความกตัญญูกตเวทีแล้ว ยังสอนให้ผู้ใหญ่สำเหนียกในคุณวุฒิที่เหมาะสมกับวัยวุฒิด้วย
ความวุ่นวายที่นำให้เกิดโศกนาฏกรรมอันทำลาย ชีวิต ทรัพย์สิน ของประชาชนผู้บริสุทธิ์ในประเทศไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน ล้วนเกิดจากผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ที่ไม่ประพฤติเถรกรณ-ธรรม เป็นส่วนใหญ่ ที่น่ากลัวยิ่งคือผู้แก่เฒ่าผู้อาศัยตำแหน่งหน้าที่ที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนามาเป็นเครื่องมือครอบงำความคิดของเยาวชน ผู้แสวงหาหลักการดำเนินชีวิตตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ เชื่อว่าเหตุการณ์ความไม่สงบที่กำลังดำเนินอยู่ในปัตตานี นราธิวาส และยะลา มีสาเหตุมาจากผู้แก่เฒ่าเช่นนี้ ผู้ใหญ่ที่ชอบแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและสังคมอย่างสนุกปาก ด้วยอ้างฐานะผู้อาวุโสของสังคมที่ตนและคณะแต่งตั้งกันเอง ก็นำความวิบัติให้ แก่สังคมได้เช่นกัน ผู้ที่อ้างตนว่าเป็นครู เป็นนักวิชาการ แต่ไม่ประพฤติตนในเถรกรณธรรม ก็ล้วนสร้าง ปัญหาทางความคิดให้เกิดความแตกแยกในสังคมได้ตลอดมา พุทธศาสนิกชนผู้ฉลาด จึงต้องรู้จักใช้ปัญญาพิจารณาคำพูดของบุคคลที่ปรากฏในสังคมอยู่เสมอ และน้อมนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนิน ชีวิตให้เกิดสุขประโยชน์มาประพฤติอยู่เสมอ
www.agalico.com
วันที่ 29 มี.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,243 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,218 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,087 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,959 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,711 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,238 ครั้ง |
|
|