ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน


บทความการศึกษา 30 มี.ค. 2558 เวลา 09:44 น. เปิดอ่าน : 12,342 ครั้ง
Advertisement

ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน

Advertisement

เมื่อเร็วๆ นี้ ณ จังหวัดพิษณุโลก สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ระบบสารสนเทศเพื่อการสร้างหลักประกันโอกาสการเรียนรู้เชิงพื้นที่" เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนงานของกลไกความร่วมมือในจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ โดยผู้ร่วมประชุมประมาณ 120 คน จาก 14 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต อำนาจเจริญ สุรินทร์ ตราด ชลบุรี นครราชสีมา กระบี่ น่าน ยะลา ลำปาง สุโขทัย สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่และพิษณุโลก

ศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดี ม.นเรศวร ประธานในที่ประชุมได้ให้ข้อคิดว่า โลกแห่งการเรียนรู้ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็น "ดิจิตอล เอ็ดดูเคชั่น" แต่ศาสตร์ในการเรียนรู้ยังติดอยู่เฉพาะรายวิชาและขาดการบูรณาการ การใช้ "ระบบสารสนเทศ" ซึ่งเป็นศาสตร์สมัยใหม่ประยุกต์ใช้ในระบบการศึกษาให้เกิดประโยชน์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดย "ข้อมูล" เป็นหัวใจสำคัญในการได้มาซึ่ง "ปัญหาเชิงพื้นที่" เพื่อเป็นกระจกสะท้อนประเด็นที่พื้นที่ต้องเร่งแก้ไขให้สอดรับกับความต้องการของจังหวัด

น.พ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ สสค. กล่าวว่า "ข้อมูล" ที่หลายท่านมักมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่หากรู้จักใช้ ข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำ จะเกิดประโยชน์แก่จังหวัด และเมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี 2540 ศ.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย หัวหน้าศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร ผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบหลักประกันทางสุขภาพพบว่า กุญแจดอกสำคัญไม่ใช่สูตรการแบ่งงบประมาณ แต่อยู่ที่ระบบ "สารสนเทศ" ที่ช่วยให้รัฐบาลรู้ว่าจ่ายเงินแล้วลงถึงประชาชนตามสิทธิที่ควรได้รับหรือไม่ และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ สิ่งสำคัญของการทำงานเชิงพื้นที่จึงอยู่ที่จะทำอย่างไรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสามารถเข้ามาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเครื่องมือนี้

สอดคล้องกับข้อมูลขององค์การยูเนสโกพบว่ายังมีเด็กวัยประถมศึกษาเกือบ 600,000 คนในประเทศไทยที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษา ซึ่งคิดเป็น
ราว 1% ของเด็กวัยเดียวกัน 67 ล้านคนทั่วโลกที่ยังอยู่นอกระบบการศึกษา ฉะนั้นจึงต้องนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่มาแลกเปลี่ยนกัน บางครั้งข้อมูลในพื้นที่ขาดการจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง และขาดการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นระบบ ทำให้หน่วยงานในพื้นที่ไม่สามารถคุ้มครองสิทธิทางการศึกษาของเด็กเยาวชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประเทศบราซิลเป็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการใช้ระบบสารสนเทศและข้อมูลพื้นฐานระดับปฏิบัติการ เช่น การขาดเรียน และคะแนนสอบมาตรฐาน ในประกันโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ผ่านการบริหารจัดการแรงจูงใจของสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาในระบบการศึกษาของบราซิล


ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ยังเพิ่มเติมด้วยว่า ปัจจุบันการวางแผนการเรียนต้องวิเคราะห์และมอง "ข้อมูล" จากโลกภายนอกเข้าสู่โรงเรียน เริ่มจาก 1) อัตราการจ้างงาน ซึ่งสะท้อนสิ่งที่เด็กควรเรียนรู้ 2) ทักษะที่จำเป็น เพื่อจะรู้ว่าควรพัฒนาหลักสูตรอย่างไร และ 3) ควรจัดกระบวนการสอนอย่างไร แต่ปัจจุบันโรงเรียนมักใช้โจทย์ที่เริ่มจากความหวังดีและศักยภาพที่มีอยู่ของครู โดยที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ข้อมูลจึงเป็นผู้ช่วยคนสำคัญเพื่อใช้ในการตัดสินใจและขับเคลื่อนนโยบายได้ดีที่สุด เช่น ประเทศออสเตรเลียเกิดวิกฤติ "แรงงานเหมืองแร่" ล้นตลาด นักศึกษาที่จบในปี 1990 ได้งานเพียงร้อยละ 10 เนื่องจากละเลยผลวิเคราะห์จากกระทรวงแรงงานและการศึกษาธิการที่ระบุว่า ออสเตรเลียจะไม่ได้ผูกขาดการผลิตแรงงานเหมืองแร่เพียงเจ้าเดียวอีกต่อไป นักเรียน ผู้ปกครองและครูจึงพลาดโอกาสในการใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวในการวางแผนอนาคตการศึกษา

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. ให้ความมั่นใจว่า "ระบบสารสนเทศ" นี้จะไม่สร้างภาระเพิ่มให้ผู้ใช้ เพราะออกแบบให้คล้ายคลึงเอกสารที่ครูต้องบันทึกอยู่แล้ว เพียงแต่เปลี่ยนจากการบันทึกในกระดาษเป็นการบันทึกในระบบออนไลน์ เช่น การเข้าเรียน ผลสัมฤทธิ์ ความถนัด และคุณลักษณะต่างๆ ของผู้เรียน เป็นต้น แต่มีความพิเศษกว่าตรงที่ระบบออนไลน์นี้สามารถประมวลข้อมูลที่ได้ทุกมิติ ทั้งพื้นฐานทางครอบครัว ร่างกายและข้อจำกัดต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังสามารถส่งต่อข้อมูลจากชั้นประถมศึกษาสู่มัธยมศึกษาตอนปลาย ฐานข้อมูลรายบุคคลเหล่านี้จึงช่วยผู้เรียนได้เป็นรายกรณี ซึ่งจะยังประโยชน์ต่อทีมแนะแนวของโรงเรียนในการให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนในการเลือกสาขาอาชีพ และวางแผน อนาคตทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาจารย์สุจิตต์ ไตรพิทักษ์ กรรมการกำกับทิศทางโครงการจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ ซึ่งได้ร่วมกระบวนการทั้งสองวันได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจจากผลสำรวจทิศทางสังคมโลกในอีก 10 ข้างหน้า ของสสส.และ TDRI พบว่า มีแนวโน้มที่ตรงกัน 5 ประการได้แก่ 1) ต้องมีการกระจายอำนาจสู่พื้นที่มากขึ้นและลดทอนอำนาจส่วนกลางลง 2) ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุถึง ร้อยละ 32 3) ลักษณะวิถีชีวิตจะเปลี่ยนเป็นสังคมเมืองมากกว่าสังคมชนบท 4) มีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น และ 5) มีการแข่งขันกันสูงขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน ฉะนั้นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ให้เร็วที่สุด 2 ประการ ได้แก่ 1) กลไกในการขับเคลื่อนจังหวัดในลักษณะจิตอาสา ไม่ยึดติดกับอำนาจ 2) ระบบสารสนเทศ ที่ต้องไม่เป็นภาระและต่อยอดงานให้เกิดประโยชน์คืนกลับสู่ระบบงานเดิม

"ผมอยากให้กำลังใจคณะทำงานทุกท่านว่า เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดีที่จะเกิดการงอกงามในพื้นที่ การเรียนรู้ครั้งนี้จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่มีใครได้หรือใครเสียทั้งหมด ก้าวต่อไปที่ควรทำร่วมกันคือ 1) ประมวลจุดแข็งของรูปแบบการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ว่าแบบใดเหมาะสมกับการขับเคลื่อนงานจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ 2) กลไกจังหวัดต้องตอบโจทย์ภาระหน้าที่และมีกระบวนการทำอย่างไร และใครเป็นผู้ทำ และ 3) ควรมีการกำหนดพื้นที่ให้ชัดเจน ซึ่งเชื่อว่า ข้อมูลและเครื่องมือที่ทาง ม.นเรศวรได้พัฒนาขึ้นครอบคลุมเครือข่ายทั้งจังหวัด ฉะนั้นการทำงานอย่าทำงานคนเดียว ต้องทำทั้งจังหวัดจึงจะสำเร็จ"

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

 


ปฏิรูปการเรียนรู้...สู่...ห้องเรียน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การศึกษาไทย 2.0

การศึกษาไทย 2.0


เปิดอ่าน 13,025 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น

การศึกษาแบบไหนสอนให้คิดเป็น

เปิดอ่าน 17,432 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
‘ครู’กับ‘ศิษย์’ ใกล้ชิดแค่ไหน? จึงจะ‘พอดี’ : โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
‘ครู’กับ‘ศิษย์’ ใกล้ชิดแค่ไหน? จึงจะ‘พอดี’ : โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
เปิดอ่าน 15,026 ☕ คลิกอ่านเลย

กุญแจไขโจทย์คุณภาพการศึกษาไทย
กุญแจไขโจทย์คุณภาพการศึกษาไทย
เปิดอ่าน 9,659 ☕ คลิกอ่านเลย

โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
เปิดอ่าน 17,628 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา ?
ปฏิรูปการศึกษา ?
เปิดอ่าน 8,662 ☕ คลิกอ่านเลย

‘หมอธี’ เดินหน้าล้างบาง ‘กระทรวงครู’ ขจัด ‘เหลือบริ้นไร’ วงการศึกษาไทย
‘หมอธี’ เดินหน้าล้างบาง ‘กระทรวงครู’ ขจัด ‘เหลือบริ้นไร’ วงการศึกษาไทย
เปิดอ่าน 11,981 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลิต ใช้ และพัฒนาครูอย่างไร จึงจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพผู้เรียน
ผลิต ใช้ และพัฒนาครูอย่างไร จึงจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพผู้เรียน
เปิดอ่าน 9,993 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ผมสวยด้วยผักสวนครัว
ผมสวยด้วยผักสวนครัว
เปิดอ่าน 20,528 ครั้ง

"มัลเบอร์รี่" ผลไม้สุดเทรนดี้ ประจำปี 2013
"มัลเบอร์รี่" ผลไม้สุดเทรนดี้ ประจำปี 2013
เปิดอ่าน 13,462 ครั้ง

ผู้เรียนและสังคมได้อะไร จากนโยบาย"ลดเวลาเรียน เพิ่มการเรียนรู้"
ผู้เรียนและสังคมได้อะไร จากนโยบาย"ลดเวลาเรียน เพิ่มการเรียนรู้"
เปิดอ่าน 14,330 ครั้ง

กินแบบไทย ไล่มะเร็ง
กินแบบไทย ไล่มะเร็ง
เปิดอ่าน 11,271 ครั้ง

ผลวิจัยการใช้แท็บเล็ตตามกระแส BYOT: Bring Your Own Technology
ผลวิจัยการใช้แท็บเล็ตตามกระแส BYOT: Bring Your Own Technology
เปิดอ่าน 16,500 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ