ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Society


บทความการศึกษา 27 มี.ค. 2558 เวลา 20:48 น. เปิดอ่าน : 12,670 ครั้ง
Advertisement

การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Society

Advertisement

คอลัมน์เรื่องเล่าซีอีโอ โดย วิชัย เบญจรงคกุล

เราคุยกันมากเรื่องโอกาสและความท้าทายของเรื่องเศรษฐกิจในยุค Digital Economy แต่เราคุยกันน้อยมากเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายในเรื่อง "การศึกษา" ของเด็กไทยในยุค Digital Society ซึ่งยังไม่ชัดเจนเหมือนกันว่ากระทรวงใดจะรับเป็นเจ้าภาพในการปฏิรูปเรื่องนี้ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ครอบคลุมรวมของ Digital Economy & Society Policy

ที่ผ่าน ๆ มาก็เน้นกันเรื่องการปฏิรูประบบราชการ ระบบฐานข้อมูล ระบบการพัฒนากระบวนการในกิจการบริการต่าง ๆ ของภาครัฐ แต่ยังไม่เห็นอะไรมากนักหรือแทบจะไม่ได้เห็นเลยเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา และเป้าหมายของการพัฒนาการศึกษาภายใต้นโยบาย Digital Society เลยอดเป็นห่วงไม่ได้ครับว่า เด็กไทยในยุคดิจิทัลนั้น จะตามทันหรือถูกทอดทิ้งและจะทำให้ช่องว่างของสังคมถ่างกว้างขึ้นอีกหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่เป้าหมายของนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมนั้นต้องการที่จะมาลด "ช่องว่าง" หรือเรียกกันว่า "ความเหลื่อมล้ำทางสังคม" ของคนเมืองและคนในพื้นที่ชนบทให้ลดลง

สิ่งหนึ่งในช่องว่างของสังคมเรา คือ เรื่องการศึกษา ทั้งโอกาส การเข้าถึง การได้รับความรู้ที่มีมาตรฐานในระดับเดียวกันของเด็กไทยทั้งประเทศเมื่อเร็ว ๆ นี้ผมเพิ่งไปเยี่ยมโรงเรียนตำรวจชายแดนที่จังหวัดอุบลราชธานีมา เป็นเวลา 2 ปีแล้ว ที่ผมและคณะเข้าไปหาทางช่วยพัฒนาเรื่องการศึกษาทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียนในโรงเรียน ต้องรับสารภาพกัน ณ จุดนี้เลยว่า ผมยังไม่ประสบความสำเร็จในการทำให้การเรียนการสอนของโรงเรียนตำรวจชายแดนที่ทำอยู่ในโครงการทั้ง 3 แห่งนี้ประสบความสำเร็จเลยแม้แต่น้อย

 

ไม่ว่าจะเป็นระดับความสามาถในการสอน การเรียน ทุกอย่างยังค่อนข้างย่ำอยู่กับที่ ไม่ใช่ว่าโรงเรียนขาดอุปกรณ์การเรียนการสอนนะครับ หรือขาดน้ำ ขาดไฟฟ้า ขาดอินเทอร์เน็ต มีครบครับเพราะอยู่ในพื้นที่ชนบทที่ค่อนข้างมีความเจริญทางด้านโครงสร้างพื้นฐานพอสมควร และมีแท็บเลตใช้อีกต่างหากด้วย (แต่ก็เสีย ใช้การไม่ได้เป็นส่วนใหญ่) จึงต้องบอกว่า Hardware มีพร้อม ที่ขาดคือ Software มนุษย์

โรงเรียนทั้ง 3 แห่ง (คล้าย ๆ กับโรงเรียนในประเทศไทยอีกหลายร้อยหลายพันแห่ง) ที่ขาดครูที่มีความรู้ความสามารถที่จะ "สอน" เด็ก ๆ ครับ

เราคงจะเห็นข่าวกันว่า ผลคะแนนสอบโอเน็ตปีนี้ (พ.ศ. 2558) มีผลคะแนนต่ำมากจนต้องวิตก เราจะไปโทษเด็ก ๆ ไม่ได้ว่าทำไมไม่ตั้งใจเรียน เด็กส่วนใหญ่ก็ไม่ตั้งใจเรียนโดยพื้นฐานแบบเด็ก ๆ ครับ ธรรมชาติของเด็กส่วนใหญ่มักจะชอบเล่น ชอบคุย ชอบสนุกมากกว่าเรียน แต่ครูที่เก่งก็จะมีวิธีในการทำให้เด็ก ๆ ยอมเรียนจนในที่สุดความรู้ก็เกิดได้ในเด็ก ๆ เหล่านั้น

แต่ปัญหาวันนี้ เป็นปัญหาที่หากเราไม่ยอมรับและระดมกำลังแก้ไขด้าน Human Software หรือผมเรียกว่า Human ware นี้ก่อน คือเรื่อง "ครู"

ผมว่าหากนโยบายดิจิทัลโซไซตี้ในการพัฒนาการศึกษาด้วยก็คงไม่สามารถจะทำให้เด็กไทยเรียนรู้มากขึ้นหรือฉลาดขึ้นแน่ครับเครื่องมือเครื่องไม้แม้จะทันสมัยเนื้อหาออนไลน์จะแน่น แต่หากปราศจากครูที่เก่งและมีความสามารถในการร่วมสอน ความรู้ย่อมไม่เกิด

อย่าลืมว่า "ความรู้" ที่โรงเรียนสอนไม่ใช่แค่ที่มีในตำรา แต่เป็นความรู้ทั่ว ๆ ไป ความรู้รอบตัว ความรู้ผสมประสบการณ์จริงของครูที่สามารถถ่ายทอดกับนักเรียน ทำให้เกิดจินตนาการ เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากท้าทายเพื่อหาผลลัพธ์หรือคำตอบ

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เราคงยังไม่สามารถคาดหวังว่าเพียงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจะมาทดแทนได้ครับ

ในบริบทของการนำเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการทำงานและกระจายบริการให้ทั่วถึงเพื่อให้เกิดการเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆภายในนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีและโซไซตี้นั้น การบริการคงเป็นเรื่องที่พอทำได้ไม่ยาก

การเรียนรู้และประสบการณ์ในการรับบริการต่าง ๆ จากภาครัฐเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดี ทำให้เกิดความพึงพอใจกับประชาชน คงไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเพราะอย่างแย่ก็คือบริการไม่ดีและคนไม่พอใจ รวมทั้งรัฐสูญเสียเงินงบประมาณในการทำ

แต่พอมาเปรียบเทียบกับด้านการศึกษา ซึ่งเปรียบเสมือนกับการสร้างคน สร้างชาติ ถ้าเราไม่สามารถที่จะสร้างคนให้เก่งขึ้น มีความรู้มากขึ้น อนาคตของชาติก็คงมีความเสี่ยงมากขึ้น

ผมเชื่อว่า หากให้โอกาสการสร้างความรู้ทางปัญญาเท่า ๆ กันของคนเมืองและคนในพื้นที่ชนบท โอกาสทางสังคมจะสามารถปิดช่องว่างลงได้มากขึ้น คนมีความรู้ย่อมเกิดการพัฒนาการสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวให้ดีขึ้นตามธรรมชาติของมนุษยพันธุ์ โจทย์ให้ก็คล้าย ๆ กับที่ผมเคยกล่าวมาในบทความก่อน ๆ นี้คือเรื่อง "คน"

นอกจากเรื่องพัฒนาการให้ข้าราชการรู้จักใช้ รู้จักนำเทคโนโลยีมาช่วยบริการประชาชนให้ดี ยังต้องปรับทัศนคติของข้าราชการยุคดิจิทัลในการทำงานภายใต้แนวคิดใหม่ และบุคลากรอีกกลุ่มที่สำคัญคือ "กลุ่มครู" ที่ต้องมีการเตรียมพร้อมทั้งกายและใจที่จะขับเคลื่อนไปกับนโยบายดิจิทัลโซไซตี้ ไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องมีตึกใหม่ มือถือใหม่ คอมพิวเตอร์ใหม่ แท็บเลตใหม่ แต่เป็นเรื่องแนวคิดแนวสอนใหม่ที่รัฐบาลต้องมีการฝึกครูให้พร้อม เตรียมครูให้พร้อม

เมื่อเด็กนักเรียนไปค้นหาข้อมูลเองแล้วกลับมาถามครูครูต้องพร้อมและมีวิธีที่จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจแก่นักเรียนเป็นต้น ซึ่งรัฐบาลในยุคดิจิทัลต้องเริ่มวางแนวการพัฒนาครูและหลักสูตรการเรียนการสอนให้สามารถรองรับกับความเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลให้ได้และต้องเรียนตั้งแต่ประถมวัยไปจนทุกวัยครับเพราะในระบบการศึกษาไทยวันนี้"ป่วย" ทั้งเรื่องครู หลักหมวดวิชาสอน และตำราเรียน

สิ่งเหล่านี้แก้ไม่ได้ด้วยสายไฟเบอร์ออปติก อินเทอร์เน็ต หรือไวไฟนะครับ

กระทรวงดิจิทัลจะต้องเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระทรวงศึกษาธิการในการปรับปรุงการศึกษาของยุคดิจิทัลไม่สามารถปฏิเสธได้ครับ

 

 

ขอบคุณที่มาจาก ประชาชาติธุรกิจ 27 มี.ค. 2558

 

ตัวนี้เอาอยู่! สำหรับคุณครูที่ทั้ง "ร้อง เล่น เต้น สอน เปิดเพลง" รุ่นนี้เอาอยู่ ลองดู Sherman TS-101 Trolley Speaker Amplifier ลำโพงบลูทูธล้อลาก ขนาด 6.5 นิ้ว กำลังขับ 60W

฿1,790

https://s.shopee.co.th/3VUQ2Kf9NU?share_channel_code=6


การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Societyการศึกษาของเด็กไทยยุคDigitalSociety

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

โอเน็ต!ยัง โอเค?

โอเน็ต!ยัง โอเค?


เปิดอ่าน 9,446 ครั้ง
โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล

โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล


เปิดอ่าน 8,667 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

"โรงเรียนแบบไหนที่สร้างเด็กให้ฉลาด" โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

"โรงเรียนแบบไหนที่สร้างเด็กให้ฉลาด" โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

เปิดอ่าน 56,265 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คำรำพึง ของคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ในการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
คำรำพึง ของคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ในการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 9,899 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำอย่างไรให้ลูกมีความจำดี : ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
ทำอย่างไรให้ลูกมีความจำดี : ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
เปิดอ่าน 12,276 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเป็น‘ผู้นำสังคม’ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร
การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเป็น‘ผู้นำสังคม’ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร
เปิดอ่าน 17,026 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา ระบบการผลิตครู
ปฏิรูปการศึกษา ระบบการผลิตครู
เปิดอ่าน 14,702 ☕ คลิกอ่านเลย

มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กควรอยู่ในห้องเรียนหรือไม่? โดย : ทีปกร วุฒิพิทยามงคล
มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กควรอยู่ในห้องเรียนหรือไม่? โดย : ทีปกร วุฒิพิทยามงคล
เปิดอ่าน 20,385 ☕ คลิกอ่านเลย

ปลูกวินัย "แม่พิมพ์ของชาติ"
ปลูกวินัย "แม่พิมพ์ของชาติ"
เปิดอ่าน 11,992 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

งานประจำ 7 ประการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
งานประจำ 7 ประการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เปิดอ่าน 17,304 ครั้ง

เทคนิค "การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู"
เทคนิค "การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู"
เปิดอ่าน 36,982 ครั้ง

โครงการเพชรในตม โครงการที่ให้ทุนนักเรียนเรียนครูเมื่อจบแล้วบรรจุเป็นครูโดยตรง
โครงการเพชรในตม โครงการที่ให้ทุนนักเรียนเรียนครูเมื่อจบแล้วบรรจุเป็นครูโดยตรง
เปิดอ่าน 33,974 ครั้ง

ประโยชน์จากปูทะเล
ประโยชน์จากปูทะเล
เปิดอ่าน 30,221 ครั้ง

หนังสือเสียงสร้างสุขในโลกมืด
หนังสือเสียงสร้างสุขในโลกมืด
เปิดอ่าน 10,118 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.

Thailand Web Stat

Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ