Advertisement
❝ ผู้บริหารและครูจึงต้องมีความรู้ในเรื่องของระเบียบ แนวคิด และวิธีการต่างๆ ในการลงโทษนักเรียน หากผู้บริหารและครูลงโทษนักเรียนด้วยอารมณ์หรือรุนแรงเกินไปอาจเกิดผลเสียหลายฝ่าย ❞
หลักในการลงโทษนักเรียน
*วุฒิภัทร วรธนบดินท์
********************************************************************************************************************
ด้วยผู้เขียนกำลังศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ณ สถานีบริการโรงเรียนบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี มีความสนใจศึกษาเรื่อง หลักในการลงโทษนักเรียน
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดการปรับตัวไม่ทันภาพผสมระหว่างความทันสมัยของวัตถุและความล้าหลัง หรือล่มสลายของสถาบันต่างๆ ทางสังคมไทยและศีลธรรมอย่างรุนแรงจึงปรากฏให้เห็น (ประเวศ. 2538 : 8 – 9) ทำให้สังคมไทย กลายเป็นสังคมที่เริ่มขาดระเบียบวินัย ทั้งในครอบครัวรวมไปถึงบุคคลโดยรวมของประเทศ (ต้าว. 2539 : 19) โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนซึ่งอยู่ในวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่ไม่เหมาะสม ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จำเป็นต้องมีการรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาช่วยเหลือนักเรียนเหล่านั้นให้มีความประพฤติไปในทางที่เหมาะสม สร้างความเจริญงอกงาม ทางปัญญา ความคิด จิตใจ และคุณธรรม ให้เป็นอนาคตที่แจ่มใสของชาติ สมกับเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ายิ่งของสังคม (กรมพลศึกษา. 2537 : บทนำ) ด้วยเหตุนี้ กฎ ระเบียบ วิธีการทำโทษนักเรียนจึงมีความสำคัญมากที่จะควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยในตนเอง รู้จักรับผิดชอบในการกระทำของตน ผู้บริหารและครูจึงต้องมีความรู้ในเรื่องของระเบียบ แนวคิด และวิธีการต่างๆ ในการลงโทษนักเรียน หากผู้บริหารและครูลงโทษนักเรียนด้วยอารมณ์หรือรุนแรงเกินไปอาจเกิดผลเสียหลายฝ่าย ทั้งกับนักเรียน กับตัวครูเองและสถานศึกษา ดังนั้นการลงโทษนักเรียนจึงควรมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้ 1) ความหมายและหลักในการลงโทษนักเรียน 2) การควบคุมความประพฤติที่ใช้วิธีการลงโทษ
ความหมายและหลักในการลงโทษนักเรียน
ความหมายของการลงโทษนักเรียน
กรมสามัญศึกษา (2534: 12) ได้ให้ความหมายของการลงโทษนักเรียนไว้ในกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานสารวัตรนักเรียนว่า การลงโทษ หมายถึง การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติผิด หรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งออกตามความในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 132 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสั่งสอนให้มีความประพฤติดีหรือให้เข็ดหลาบเพื่อจะได้ไม่ประพฤติผิดอีก
หลักในการลงโทษนักเรียน
สมพร สุทัศนีย์ (2523: 70-71) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการลงโทษนักเรียนไว้ว่าการลงโทษส่วนใหญ่เป็นการมุ่งเพื่อที่จะว่ากล่าวสั่งสอน โดยมีเจตนาจะแก้นิสัย และความประพฤติที่ไม่ดีของนักเรียนให้รู้สึกสำ นึกในความผิด และเว้นการประพฤติชั่วเพื่อกลับประพฤติตนในทางที่ดี ซึ่งสรุปสาระที่ควรคำนึงอันจะเป็นหลักในการลงโทษดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยวิธีแบบกลั่นแกล้ง ด้วยการเคียดแค้น และพยาบาท
2. หลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยวิธีรุนแรง
3.หลีกเลี่ยงการลงโทษนักเรียนที่กำ ลังเจ็บป่วยหรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
4.หลีกเลี่ยงการลงโทษลักษณะประจานนักเรียน
5. ก่อนลงโทษควรชี้แจงให้นักเรียนทราบด้วยว่าพฤติกรรมอะไรของเขาที่ทำ ให้เขาถูก
ลงโทษ และควรบอกพฤติกรรมที่ครูต้องการ
6.ลงโทษด้วยความยุติธรรม ไม่มีอคติ
7.พยายามให้นักเรียนรับรู้ว่า ครูลงโทษด้วยความรักความปรารถนาดีและมีเหตุผล
8. การลงโทษควรคำนึงอายุ เพศ และพัฒนาการของจิตใจนักเรียน
9. การลงโทษครูควรกระทำ ด้วยความสุขุม รอบคอบที่สุด
10. ควรลงโทษนักเรียนทันทีทำความผิด
11. การลงโทษต้องไม่พรํ่าเพรื่อมากเกินไป เน้นการลงโทษเพื่อปรับปรุงให้นักเรียนทำ
ตัวดีขึ้น จึงจะเรียนรู้ได้ดี
12. เป็นการลงโทษที่นักเรียนยอมรับและเห็นด้วย
13.ควรลงโทษพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทุกครั้ง
14. การลงโทษควรเป็นวิธีสุดท้ายที่ครูจะใช้
ระเบียบ แนวคิด และวิธีการต่างๆ ในการลงโทษนักเรียนมีอยู่หลายวิธีการลงโทษเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่มากทั้งนี้เนื่องจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องระเบียบวินัย และการลงโทษ ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังเห็นว่าการลงโทษจะช่วยให้เด็กเป็นคนมีระเบียบวินัย ประพฤติตัวดี ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการลงโทษมองเห็นว่าระเบียบวินัยควรเกิดจากการควบคุมภายในตนเองอันจะนำ ไปสู่การเคารพนับถือในตนเอง ผู้บริหารและครูต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม และต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการลงโทษนักเรียนควรใช้เฉพาะเมื่อสามารถหาสาเหตุที่แน่นอนและสามารถแก้ไขสาเหตุนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วเท่านั้น ถ้าจำเป็นต้องใช้การลงโทษ ก็ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับความผิดที่เกิดขึ้น ต้องให้นักเรียนเข้าใจและการลงโทษต้องมีเหตุผลอย่างเพียงพอ การลงโทษต้องกระทำอย่างยุติธรรม ไม่ใช้วิธีที่รุนแรงหรือดุร้าย ไม่กระทำ ในขณะที่ผู้ใหญ่ยังมีอารมณ์โกรธและจะต้องไม่กระทำให้นักเรียนได้รับความอับอาย ให้คิดเสมอว่าการลงโทษนักเรียนนั้นไม่ใช่การทำให้นักเรียนเจ็บปวดทั้งทางร่างกายจิตใจ หรือเป็นการสนองอารมณ์ของครู แต่มีจุดมุงหมายให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นอันจะนำไปสู่ความสงบสุข ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
บรรณานุกรม
กรมพลศึกษา. (2537). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลการคุ้มครองความประพฤตินักเรียน
นักศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจำ ปีงบประมาณ 2536.
กรุงเทพมหานคร: กองสารวัตรนักเรียน กรมพลศึกษา.
กรมสามัญศึกษา. (2534). การบริหารกิจการนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
โอเดียนสโตร์.
ต้าว เมืองพาน. (2539). “ระเบียบวินัย”. ครูเชียงราย.
ประเวศ วะสี. (2538). “ยุทธศาสตร์ทางปัญญาแห่งชีวิต”. ทิศทางไทย.
สมพร สุทัศนีย์, ม.ร.ว. (2523). จิตวิทยาการปกครองชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร:
ไทยวัฒนาพานิช.
วันที่ 28 มี.ค. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,213 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,260 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,184 ครั้ง เปิดอ่าน 7,222 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,218 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,235 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,208 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,234 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 8,496 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,011 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,981 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,534 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,533 ครั้ง |
|
|