ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"ครูภูธร" ขอพูด ซุปเปอร์บอร์ด-ปฏิรูปการศึกษา


ข่าวการศึกษา 11 ก.พ. 2558 เวลา 06:40 น. เปิดอ่าน : 5,801 ครั้ง
Advertisement

 "ครูภูธร" ขอพูด ซุปเปอร์บอร์ด-ปฏิรูปการศึกษา

Advertisement

จากกรณีที่จะมีการปรับโครงสร้างใหญ่กระทรวงศึกษาธิการ โดยจะให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ไปอยู่สำนักนายกรัฐมนตรี แล้วใช้ชื่อใหม่ว่า "สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์"

หรือสภาการศึกษาเดิม อีกทั้งมีแนวคิดตั้งคณะบุคคลหรือซุปเปอร์บอร์ดขึ้นมาพิจารณาควบคุมการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการนั้น ผู้บริหารการศึกษาและข้าราชการครูมีความเห็นอย่างไรกับเรื่องดังกล่าว

วิวัฒน์ รุ้งแก้ว ครูโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ในฐานะกรรมการสภาการศึกษา บอกว่า โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการทุกวันนี้ก็ดีอยู่แล้ว แต่ปัญหาจะอยู่ที่ ผู้ปฏิบัติมากกว่า และควรจะปฏิรูปหลักสูตรมากกว่า ขณะนี้ทุกคนพูดถึงแต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีอำนาจเพิ่มขึ้น แต่การปฏิรูปไม่ได้พูดถึง

ธีรวัฒน์ คำศรี รอง ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 ให้ความเห็นว่า การปรับโครงสร้างต้องตอบโจทย์ได้ว่าใครได้ประโยชน์ บุคลากรในสังกัดหรือนักเรียน ควรเพิ่มส่วนที่จะช่วยให้นักเรียนมีคุณภาพสูงขึ้น เช่น มีศูนย์วิจัยการจัดการเรียนการสอนประจำจังหวัด ทำหน้าที่วิจัย สนับสนุนการวิจัยการเรียนการสอนของครู ให้ครูรู้ตัวตน รู้จักนักเรียน ช่วยพัฒนานักเรียนอย่างจริงจัง การศึกษาน่าจะมีคุณภาพมากขึ้น

วีระศักดิ์ ปัตตาลาโพธิ์ ผอ.โรงเรียนบ้านดง ต.ปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม เห็นว่า การปฏิรูปการศึกษาควรเน้นปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอันดับแรก มากกว่าที่จะปรับโครงสร้างระดับกรมหรือกระทรวง รองลงมาคือควรปฏิรูปกระบวนการผลิตครูที่มีจิตสำนึกของความเป็นครู

ดร.ประเสริฐ กำธรเจริญ ผอ.วิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคาม บอกว่า ที่ผ่านมาเน้นปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานโดยขาดการศึกษาแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ทำให้ปฏิรูปการศึกษาไม่สำเร็จ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่ำ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่สถานศึกษา การจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนตามจำนวนผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข ควบคู่กับการสร้างคุณภาพ โดยจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

ดร.ทองพูน ใจประเสริฐ ผอ.โรงเรียนอรัญประเทศ จ.สระแก้ว เห็นว่า ปัจจุบันการปฏิรูปการศึกษาไทยประสบความล้มเหลว อาจมาจากผู้บริหารสถานศึกษา ขาดวิสัยทัศน์ ขาดทักษะในการจัดการศึกษา เพราะการเข้าสู่ผู้บริหารสถานศึกษามาจากการสอบ แต่หลายคนยังไม่มีประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา แตกต่างจากอดีตสมัยที่เป็นกรมสามัญศึกษา ผู้ที่จะมาเป็นผู้บริหารสถานศึกษาได้ต้องผ่านการประเมิน มีทักษะการบริหารมาแล้วนับสิบปี รวมทั้งผู้บริหารการศึกษาที่นักการเมืองแทรกแซงแต่งตั้ง มีการเล่นพรรคเล่นพวก

มนวิภา เตโช ครูชำนาญการพิเศษวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนประจวบวิทยาลัย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ บอกว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องมีการพัฒนาการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา เนื่องจากปัจจุบันหลักสูตรเน้นเนื้อหาสาระมากเกินไป ดังนั้น แต่ละรายวิชาควรนำมาบูรณาการร่วมกันเพื่อลดภาระของนักเรียน และในอนาคตต้องเน้นการสอนในเชิงกิจกรรมให้มากขึ้น ให้เด็กทำงานกลุ่ม เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี มีน้ำใจ ไม่ใช่เน้นแค่การแข่งขันเพื่อให้เรียนเก่ง แต่ไม่มีคุณธรรมและไร้น้ำใจ

จรี วัชรวงษ์ ผอ.โรงเรียนบ้านบ่อนอก (ทองวิทยา) ต.บ่อนอก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เห็นว่า การปฏิรูปการศึกษาควรให้ครูได้สอนหนังสืออย่างเดียว งานการเงิน งานพัสดุ หรืองานธุรการควรจัดสรรบุคลากรมาให้ทุกโรงเรียน อาจว่าจ้างนักศึกษาระดับ ปวช.มาทำหน้าที่แทน และควรปฏิรูปหลักสูตรให้ครูสอนในวิชาหลักๆ สำคัญคือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ แล้วเน้นสอนในเชิงพฤติกรรมโดยพิจารณาจากความสามารถของเด็ก ทั้งด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ และการเกษตร
อนันต์ มณีรัตน์ ผอ.โรงเรียนศรียาภัย อ.เมือง จ.ชุมพร บอกว่า อยากให้ปฏิรูปหน่วยงานโดยมีเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนั้นๆ เพราะขณะนี้โรงเรียนมัธยมศึกษาทุกโรงเรียนใน จ.ชุมพรยังต้องขึ้นกับสำนักงานเขตพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี เวลาติดต่อราชการแต่ละครั้งต้องเสียเวลาในการเดินทาง นอกจากนี้ ระบบบริหารยังไม่ให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลอย่างแท้จริง เพราะส่วนกลางยังคงหวงอำนาจไว้ เช่น เราต้องการครูคนนี้ที่เราพิจารณาแล้วว่าเก่ง แต่ไม่ให้อำนาจเราบรรจุครูคนนั้น หากเป็นเช่นนี้จะทำให้โรงเรียนมีคุณภาพได้อย่างไร

ผศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ หัวหน้าวิชารัฐศาสตร์ สำนักศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ที่เคยเป็นครูประชาบาลโรงเรียนขนาดเล็กมา 18 ปี มองว่าการปฏิรูปการศึกษาที่เสริมกำลังให้หน่วยงานของรัฐ โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา โดยไม่ได้คำนึงถึงคุณสมบัติของผู้เรียนเป็นหลักจะล้มเหลวโดยสิ้นเชิง การปฏิรูปการศึกษาต้องปฏิรูปผู้เรียนเป็นหลัก ว่าผู้เรียนที่ดีเป็นอย่างไร ที่เก่งเป็นอย่างไร มีคุณภาพอย่างไร จากนั้นค่อยขยายไปสู่ผู้สอน อุปกรณ์การเรียน ขยายไปสู่ผู้ปกครอง

ถวัลย์ ตันธีระพงศ์ ผอ.โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ให้ความเห็นถึงการตั้งซุปเปอร์บอร์ดเพื่อดูแลการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการว่า เรื่องนี้เหมือนเหล้าเก่าในขวดใหม่ โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการปัจจุบันมีการกระจายอำนาจ อยู่แล้ว ต้องเป็นผู้ที่มีผลงานและเติบโตในสายงานมา หากจะตั้งคณะบุคคลขึ้นมาพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงแทน เป็นการดึงอำนาจไปรวบไว้ในมือของคณะบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จะส่งผลร้ายต่อระบบการศึกษาไทยอย่างแน่นอน

มานัส นพคุณ ผอ.โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม อ.เสริมงาม จ.ลำปาง กลับเห็นต่างว่า ซุปเปอร์บอร์ดเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่จะมีการปฏิรูประบบการศึกษาให้เข้าถึงปัญหาและพัฒนามากยิ่งขึ้น หากเป็นไปได้ก็น่าจะมีสภาการศึกษาระดับจังหวัดขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนมาร่วมถกและร่วมกันรวบรวมปัญหา และส่งแผนการศึกษาไปยังส่วนกลาง แต่หากซุปเปอร์บอร์ดยังกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลางเหมือนเดิมก็คงไม่ต่างอะไรจากที่ผ่านมา เพราะจะไม่เข้าใจถึงแต่ละจังหวัด ขอเน้นย้ำว่าต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นถึงจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิรูประบบการศึกษาของไทย

ณัฐพล นุชอุดม ผอ.โรงเรียนบ้านคลองหลวง ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ สนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา เพราะเรายังล้าหลังประเทศเพื่อนบ้าน อาจมีสาเหตุทั้งเรื่องตัวครู เรื่องงบประมาณ เรื่องโครงสร้างต่างๆ ของการศึกษาเมืองไทย ประเด็นที่เราอยากปฏิรูปคือคุณภาพของครูให้เป็นอาชีพที่มีค่า มีเกียรติ ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีการกระจายอำนาจ พร้อมให้คณะครู ชุมชน และเอกชนมีส่วนร่วมด้วย

เป็นเสียงจากครูและผู้บริหารการศึกษาในจังหวัดต่างๆ สะท้อนไปถึงผู้มีอำนาจข้างบนได้รับฟัง เพื่อที่จะช่วยให้การปฏิรูปการศึกษาของไทยไม่ล้มเหลวเหมือนที่ผ่านมาอีก


ที่มา --มติชน ฉบับวันที่ 11 ก.พ. 2558 (กรอบบ่าย)--

 


"ครูภูธร" ขอพูด ซุปเปอร์บอร์ด-ปฏิรูปการศึกษา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569

เปิดอ่าน 3,202 ☕ 22 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 876 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 1,238 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 231 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 714 ☕ 23 พ.ย. 2567

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
เปิดอ่าน 3,202 ☕ 22 พ.ย. 2567

ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 661 ☕ 22 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ร่าง พรฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ....
ร่าง พรฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ....
เปิดอ่าน 19,808 ครั้ง

ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
เปิดอ่าน 8,168 ครั้ง

สู่ความสำเร็จในการทำงานตามแนวพุทธ
สู่ความสำเร็จในการทำงานตามแนวพุทธ
เปิดอ่าน 11,093 ครั้ง

อากาศแบบนี้จะปกป้องผิวหน้าอย่างไรดี?
อากาศแบบนี้จะปกป้องผิวหน้าอย่างไรดี?
เปิดอ่าน 10,217 ครั้ง

ปีใหม่แล้ว.....แต่การศึกษาไทยยังบ้าไม่เลิก!
ปีใหม่แล้ว.....แต่การศึกษาไทยยังบ้าไม่เลิก!
เปิดอ่าน 15,470 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ