ข้อมูลจากแชร์บนเฟซบุ๊คของ
O-NET จะเป็นจะตายให้ได้.งั้นหรือ ?
สิ่งที่ผมในฐานะคณะทำงานของ กมธ.การศึกษาและการกีฬา สนช. ได้ซักถามแลกเปลี่ยนความเห็นกับ ผอ.สทศ. (รศ.ดร.สมพันธ์ พันธ์พฤกษ์) เกี่ยวกับปัญหาจากการทดสอบ O-NET ได้ข้อสรุปดังนี้
1. การทดสอบนี้ เป็นการวัด 1 ใน 5 มาตรฐานของด้านคุณภาพของผู้เรียน และเป็นเพียงพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cignition Domain) และเป็นบางส่วน ซึ่งไม่ครบถ้วนตามหลักสูตรด้วยซ้ำ และท่านยังบอกอย่างไม่อายว่า ด้านอื่น (Non-Cognition Domain) ยังไม่ได้วัด
2. ไม่ควรอย่างยิ่ง ที่จะนำไปตัดสินคุณภาพการศึกษาอย่างเด็ดขาด และไม่ควรนำไปใช้ในการประเมินความดีความชอบ คาดโทษ ทับถม อวดอ้าง แข่งขัน เปรียบเทียบกันแต่อย่างใด
3. คะแนนการทดสอบนี้ ทำได้เพียงการนำไปพยากรณ์ ประกอบการวางแผนในการพัฒนา ควบคู่กับการพัฒนาพฤติกรรมอื่น ๆ เท่านั้น
4. ปัจจัยในการทำคะแนนให้ได้สูงนั้น มีปัจจัยอื่นอีกมาก โดยเฉพาะจะเกิดจากระดับสติปัญญาของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน ไม่เพียงแค่กิจกรรมการเรียนการสอนของครู จึงไม่ควรนำมาตัดสินครูหรือผู้บริหาร
5. การสอบระดับชาติในอดีต คือ การสอบ ม.8 มีผลตกยกโรงเรียนเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย (ข้อมูลจาก รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธ์พฤกษ์ ผอ.สมศ.)
6. คะแนนนี้จะสูงได้ จะต้องผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นไปตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาโดยตลอดตั้งแต่ชั้นต้น ๆ ของระดับการศึกษา การกวดวิชาหรือการติว การหัดทำข้อสอบ ปิ้บคลุมหัว ผอ.เขต (ตามนโยบาย เลขาธิการ สพฐ.) จะช่วยได้เพียงเล็กน้อย
โดยสรุป เป้าหมายการศึกษาวัดได้มากกว่า O-NET ควรที่ ผอ.สทศ.จะต้องทำความเข้าใจต่อสังคม ครู ผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างผู้บริหารระดับสูง ของ ศธ. ยิ่งต้องเข้าใจ รวมทั้ง สมศ. ที่นำคะแนนไปประเมินเพื่อการรับรองมาตรฐานสถานศึกษา
ติดตามแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นกับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรวาท ทองบุ
- กรรมการคุรุสภา
- ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.
- ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.)
ได้ที่เพจ
https://m.facebook.com/profile.php?id=700196516671213