ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ทางออกในการบริหารคุณภาพการศึกษา : การบริหารผู้ประเมินภายนอกแนวใหม่


บทความการศึกษา 26 ม.ค. 2558 เวลา 11:42 น. เปิดอ่าน : 8,880 ครั้ง
Advertisement

ทางออกในการบริหารคุณภาพการศึกษา : การบริหารผู้ประเมินภายนอกแนวใหม่

Advertisement

นิสิตครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา (ในเวลาราชการ) รุ่นที่ 24 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดสัมมนาเรื่อง ทางออกในการบริหารคุณภาพการศึกษา : การบริหารผู้ประเมินภายนอกแนวใหม่ วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม ณ ห้อง 704 ชั้น 7 อาคารพระมิ่งขวัญการศึกษาไทย (อาคาร 2) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิให้ความรู้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ ประธานสาขาบริหารการศึกษา คณะ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.คมศร วงษ์รักษา และรองผู้อำนวยการ สมศ. ดร.สมชาย สังข์สี กรรมการบริหาร บริษัท ทริปเปิ้ล เอ ประเมินคุณภาพการศึกษา จำกัด ในการนี้นิสิตดุษฎีบัณฑิต ได้นำเสนอ สภาพปัจจุบัน ปัญหา และข้อเสนอแนะ ในการบริหารคุณภาพการศึกษา โดยสรุปดังนี้

สภาพปัจจุบันของการบริหารผู้ประเมินภายนอกของสมศ. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการศึกษาพบว่า สัดส่วนของโรงเรียนที่ ผ่านเกณฑ์การประเมินภายนอกเพิ่มขึ้น แต่ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่ได้จากการประเมินในระดับชาติกลับมีแนวโน้มที่ลดลง การประเมินที่ผ่านมาของสมศ.ทั้ง 3 รอบ เป้าหมายในการประเมินที่ต่างกันคือ การยืนยันสภาพจริง การรับรองคุณภาพสถานศึกษา รวมทั้งการยกระดับคุณภาพการศึกษา แต่ปัญหาของสถานศึกษาในปัจจุบันคือ สมศ .ให้ข้อเสนอแนะไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา เนื่องจากผู้ประเมินยังไม่มีความเป็นมืออาชีพ แม้ว่า สมศ.ได้ใช้วิธีการคัดสรร พัฒนา และประเมินผลผู้ประเมิน ด้วยวิธีการที่เป็นระบบ สมศ. จึงควรปรับปรุงกระบวนการบริหารผู้ประเมินจากการเป็นผู้บริหารจัดการเองทั้งหมด ไปสู่การให้ผู้ประเมินมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อข้อเสนอแนะที่ให้กับสถานศึกษา พร้อมกันนี้นิสิตได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารผู้ประเมินแนวใหม่ โดยให้หน่วยประเมินมีส่วนร่วมในการบริหารผู้ประเมินร่วมกับ สมศ. มากขึ้น เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ (Business Partner) และผู้ประเมินเป็นผู้ร่วมธุรกิจ (Associate) ที่รับผิดชอบต่อข้อเสนอแนะที่จัดทำเป็นรายงานต่อสถานศึกษา โดยมี สมศ. เป็นผู้กำหนดมาตรฐานการทำงาน และควบคุมคุณภาพทั้งกระบวนการ การรักษาระดับคุณภาพของผู้ประเมินให้คงที่ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของงาน และลดค่าใช้จ่าย การสร้างมาตรฐานจึงเป็นการดึง know-how หรือความรู้สะสมในตัวบุคคล เพื่อถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เกิดองค์ความรู้ของการประเมินคุณภาพภายนอกของชาติได้
ส่วนความเป็นมืออาชีพของ ผู้ประเมิน นิสิตได้เสนอให้มีการพัฒนาผู้ประเมินรุ่นใหม่ ด้วยการจัดให้มีหลักสูตรด้านการประเมินคุณภาพ ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ โดยเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 12 หน่วยกิตขึ้นไป เพื่อพัฒนาให้เป็นวิชาชีพผู้ประเมิน ปัญหามาตรฐานของผู้ประเมินยังเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่นิสิตอ้างถึงหลักการของการประกันคุณภาพทั่วทั้งองค์กรว่าผู้ประเมิน ควรตระหนักถึงคุณภาพในทุกขั้นตอนการทำงาน และติดตาม การนำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติ รวมทั้งติดตามผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะนั้น วิธีการนี้เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับรายงานข้อเสนอแนะ และสมศ.ควรพิจารณาให้ผลตอบแทน ให้ผู้ประเมินมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ตลอดปี เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ ผู้ประเมิน

นอกจากนี้วิทยากรที่ให้เกียรติมาร่วมสัมมนาในวันนี้ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับ การแก้ปัญหา การประเมินคุณภาพสถานศึกษาให้มีความสอดคล้องกับการประกันคุณภาพภายนอก ดังนี้

ดร.คมศร วงษ์รักษา รองผู้อำนวยการสมศ.ให้ความเห็นว่า การประกันคุณภาพการศึกษาของไทยประกอบด้วย การประกันคุณภาพภายใน และการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งการประกันคุณภาพภายในเป็นหัวใจของคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การควบคุม 2.การตรวจสอบ 3. การประเมินคุณภาพ โดยการประเมินคุณภาพขั้นตอนสุดท้ายจะสะท้อนถึงความสำเร็จใน 2 ขั้นตอนแรก ดังนั้นในการประเมินคุณภาพภายนอกโดยการใช้ผู้ประเมินที่มีความหลากหลาย จำเป็นต้องคัดเลือก จากประวัติ ประสบการณ์ ความรู้ ในเรื่องการประกันคุณภาพ กฎกระทรวง รวมทั้ง บุคลิกภาพของผู้ประเมิน สรุปได้ว่าผู้ประเมินต้องมีลักษณะ 6 ประการ ที่เรียกว่า 6 ต้อง ดังต่อไปนี้ 1. ต้องมาดดี 2.ต้องมีความรู้ 3.ต้องดูออก 4.ต้องบอกได้ 5.ต้องใจดี 6.ต้องมีมนุษยสัมพันธ์

ดร.สมชาย สังข์สี คณะกรรมการบริหาร บริษัท ทริปเปิ้ล เอ ประเมินคุณภาพการศึกษา จำกัด กล่าวถึงเรื่อง คุณภาพเป็นสิ่งที่จะทำให้หน่วยประเมินอยู่ได้ ปัจจุบันหน่วยประเมินทำหน้าที่ 2 ประการ คือ งานบุคคล และงานวิชาการ ด้านงานบุคคลหน่วยประเมินได้พัฒนาผู้ประเมินต่อจากสมศ. เนื่องจากผู้ประเมินได้รับการอบรมจากสมศ. เพียงไม่กี่วันจึงไม่เพียงพอต่อการลงปฏิบัติงานจริง ทั้งนี้การพูดถึงคุณภาพของผู้ประเมินในมุมลบนั้น ในความเป็นจริงมีผู้ประเมินเพียงส่วนน้อยที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้ภาพรวมของผู้ประเมินดูแย่ ผู้ประเมินที่มีคุณภาพ ความรู้ มีจำนวนมาก จึงควรจัดเวทีสำหรับการแสดงพลังของผู้ประเมินเหล่านี้ ในฐานะของตัวแทนหน่วยประเมิน เห็นด้วยที่จะให้หน่วยประเมินเป็น Partnership กับ สมศ. และกับผู้ประเมินเพื่อการพัฒนาการประกันคุณภาพสำหรับการศึกษาของประเทศไทย

สุดท้าย ศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ ประธานสาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นว่า การยุบสมศ. ไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาการประเมินคุณภาพสถานศึกษา แต่สมศ. ควรปรับปรุงสิ่งที่เป็นให้ดีขึ้น และได้ให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจไว้ 4 ประการ คือ 1.สถานศึกษาที่ไม่ผ่านการประเมินควรได้รับโอกาสให้พัฒนาตนเองจนได้มาตรฐาน สมศ.จึงประกาศผลรับรอง ซึ่งจะจูงใจให้สถานศึกษาพัฒนาตนเองมากกว่าการประกาศไม่รับรองแล้วให้สถานศึกษาปรับปรุงตนเองในภายหลัง 2.การเขียนข้อเสนอแนะของผู้ประเมินควรมีความสอดคล้องและตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้จากการประเมิน 3.ควรมีการจัดหลักสูตรผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาการประเมินคุณภาพสถานศึกษา และ 4. ตัวชี้วัดควรเน้นที่ผลผลิตและผลลัพธ์มากกว่าปัจจัยและกระบวนการ และให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลผลิตและผลลัพธ์ มากกว่าเน้นที่ ตัวของผลผลิตและผลลัพธ์แบบโดดๆ


ทางออกในการบริหารคุณภาพการศึกษา : การบริหารผู้ประเมินภายนอกแนวใหม่ทางออกในการบริหารคุณภาพการศึกษา:การบริหารผู้ประเมินภายนอกแนวใหม่

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP. 1

ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย : สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP. 1

เปิดอ่าน 6,517 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”
“การพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ”
เปิดอ่าน 31,871 ☕ คลิกอ่านเลย

8 นิสัยที่ฉุดให้การทำงานของคุณย่ำอยู่กับที่
8 นิสัยที่ฉุดให้การทำงานของคุณย่ำอยู่กับที่
เปิดอ่าน 16,633 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรนัย-อัตนัย เรียงความ-ย่อความ
ปรนัย-อัตนัย เรียงความ-ย่อความ
เปิดอ่าน 13,341 ☕ คลิกอ่านเลย

7 คำถามที่ควรถามลูก...หลังลูกจากกลับจากโรงเรียน
7 คำถามที่ควรถามลูก...หลังลูกจากกลับจากโรงเรียน
เปิดอ่าน 10,379 ☕ คลิกอ่านเลย

ทั่วโลกยอมรับ นร.เก่งได้เพราะครูเก่ง
ทั่วโลกยอมรับ นร.เก่งได้เพราะครูเก่ง
เปิดอ่าน 21,682 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู
ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู
เปิดอ่าน 12,237 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เรื่องควรรู้ก่อนทาสี
เรื่องควรรู้ก่อนทาสี
เปิดอ่าน 33,471 ครั้ง

ไม่กินข้าวเช้า เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
ไม่กินข้าวเช้า เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
เปิดอ่าน 13,904 ครั้ง

นักฟิสิกส์อินเดีย ชี้มีวิธีค้นหา ‘รูหนอน’
นักฟิสิกส์อินเดีย ชี้มีวิธีค้นหา ‘รูหนอน’
เปิดอ่าน 17,730 ครั้ง

วิธีขับสารพิษด้วยการหายใจ
วิธีขับสารพิษด้วยการหายใจ
เปิดอ่าน 12,681 ครั้ง

"17 ท่านวดง่ายๆ" ช่วยลูกน้อย "ผ่อนคลาย-สุขภาพดี"
"17 ท่านวดง่ายๆ" ช่วยลูกน้อย "ผ่อนคลาย-สุขภาพดี"
เปิดอ่าน 12,402 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ