Advertisement
สวัสดีค่ะ เพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน ในฉบับที่ผ่านๆ มา ได้พูดคุยกับท่านเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาในการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดวินัย หากละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ ถือว่าท่านกระทำผิดวินัย ตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
ดิฉันขอเรียนว่า ที่ผ่านๆ มา ยังมีบ้างท่านดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด จึงอยากเรียนย้ำหรือทบทวนว่า กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดขั้นตอนและวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยและการพิจารณาโทษ ดังนี้
1) การสืบสวน คือ กระบวนการเบื้องต้นเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง ว่ากรณีที่มีการกล่าวหานั้นมีมูลเป็นความผิดวินัยหรือไม่ ถ้าไม่มีมูลเป็นความผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาจึงจะยุติเรื่องได้ (มาตรา 95) แต่หากกรณีมีมูลเป็นความผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาก็จะต้องดำเนินการทางวินัยทันที โดยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงแล้วแต่กรณีต่อไป (มาตรา 98)
2) การสอบสวน คือ การรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อแสวงหาความจริงในเรื่องที่มีการกล่าวหา ในอันที่จะพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา เพื่อให้การดำเนินการทางวินัยเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม
3) การพิจารณาความผิดและการกำหนดโทษ คือ การที่ผู้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด สมควรลงโทษในสถานใด ใครเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งลงโทษ และมีกฎหมายให้อำนาจในการลงโทษได้หรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาความผิดและกำหนดโทษแล้ว ผู้มีอำนาจสั่งโลงโทษก็จะสั่งลงโทษไปตามนั้น
4) การรายงานการดำเนินการทางวินัย (กรณีที่ผู้ถูกลงโทษไม่อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ) คือ กระบวนการต่อเนื่องจากการพิจารณาความผิดและการกำหนดโทษ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปหรือองค์กรผู้มีอำนาจพิจารณาทบทวนและตรวจสอบการใช้อำนาจ ตลอดจนดุลพินิจในการลงโทษของผู้บังคับบัญชาว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงการลงโทษ ทั้งการปรับบทความผิดและระดับโทษให้เบาลงหรือหนักขึ้นได้
ในครั้งนี้ขอยกตัวอย่างกรณีที่ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงสอบสวนแล้วเห็นว่า เรื่องที่สอบสวนนั้น พฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาเป็นเพียงความผิดวินัยไม่ร้ายแรง และผู้บังคับบัญชาผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่กรรมการสอบสวนเสนอ กรณีนี้ยังมีผู้บังคับบัญชาบางท่านดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด โดยสั่งผิดหลงให้เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา มีมติแล้วจึงสั่งลงโทษ ซึ่งไม่ถูกต้องนะคะ ที่ถูกต้องคือ หากผู้บังคับบัญชาผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่าเป็นโทษวินัยไม่ร้ายแรง ท่านต้องสั่งลงโทษตามอำนาจของท่านตามมาตรา 100 วรรคหนึ่ง ประกอบกับกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน พ.ศ.2549 เสียก่อน แล้วจึงรายงานการลงโทษไปยัง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และ ก.ค.ศ.ตามลำดับ (มาตร 104 (2)) แต่ถ้าท่านเห็นต่างกับคณะกรรมการสอบสวน โดยเห็นว่าเป็นโทษวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งจะต้องลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ท่านจะต้องดำเนินการตามมาตรา 100 วรรคสี่ (2) โดยสั่งการให้นำเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาของผู้ถูกกล่าวหาพิจารณามีมติเสียก่อน แล้วจึงสั่งลงโทษตามนัยมติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาดังกล่าว แล้วรายงานโทษไปยัง ก.ค.ศ. ตามมาตรา 104 (2) ต่อไป เรื่องที่นำมาคุยกันในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนครูบ้างนะคะ แล้วพบกันใหม่วันจันทร์หน้าค่ะ
ศิริพร กิจเกื้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 6,259 ครั้ง เปิดอ่าน 23,695 ครั้ง เปิดอ่าน 7,773 ครั้ง เปิดอ่าน 5,137 ครั้ง เปิดอ่าน 26,491 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 15,123 ครั้ง เปิดอ่าน 20,321 ครั้ง เปิดอ่าน 10,315 ครั้ง เปิดอ่าน 26,536 ครั้ง เปิดอ่าน 35,503 ครั้ง เปิดอ่าน 5,298 ครั้ง เปิดอ่าน 21,760 ครั้ง เปิดอ่าน 5,471 ครั้ง เปิดอ่าน 2,383 ครั้ง เปิดอ่าน 12,452 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 10,315 ☕ 28 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 562 ☕ 22 ธ.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 546 ☕ 22 ธ.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 597 ☕ 20 ธ.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 951 ☕ 19 ธ.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 2,083 ☕ 19 ธ.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 845 ☕ 17 ธ.ค. 2567 |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,973 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,442 ครั้ง |
เปิดอ่าน 41,778 ครั้ง |
เปิดอ่าน 51,945 ครั้ง |
เปิดอ่าน 79,505 ครั้ง |
|
|