ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เสียงสะท้อนครูไทย (1) "ประเมิน"แล้วได้อะไรบ้าง?


ข่าวการศึกษา 15 ม.ค. 2558 เวลา 06:39 น. เปิดอ่าน : 14,482 ครั้ง
Advertisement

เสียงสะท้อนครูไทย (1) "ประเมิน"แล้วได้อะไรบ้าง?

Advertisement

16 มกรา “วันครู”..คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยตั้งความหวังกับ “ครูบาอาจารย์” ไว้สูงมาก มิใช่ในฐานะเพียงอาชีพหนึ่งที่เข้าทำงานตอนเช้า และเลิกงานกลับบ้านตอนเย็นเท่านั้น แต่หวังว่าคนเป็นครูจะช่วยอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ หรือเด็กและเยาวชนให้เติบโตขึ้นมาสมบูรณ์เพียบพร้อม ทั้งความรู้ทางวิชาการ และบุคลิกภาพอันดีงามพึงประสงค์

ดังนั้นหน้าที่ของครูไทยที่คุ้นเคยจากอดีตถึงปัจจุบัน นอกจากภารกิจหลักคือการสอนหนังสือแล้ว ยังมีภารกิจรองที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน เช่น ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อดูสภาพแวดล้อมในครอบครัว และประสานงานกับพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นที่ปรึกษาแนะแนวทางศึกษาต่อของนักเรียน หรือครูบางท่านที่เป็นฝ่ายปกครอง อาจต้องออกลาดตระเวนตรวจตราตามจุดเสี่ยงหรือแหล่งที่เยาวชนนิยมไปมั่วสุม เพื่อป้องกันเหตุร้ายด้วย

ยิ่งในยุคปัจจุบันที่ “สังคมเร่งรีบ-ทุกชีวิตดิ้นรน” พ่อแม่ไม่มีเวลาเลี้ยงลูก ครูยิ่งถูกคาดหวังมากขึ้น!!!

คำถามคือ..วันนี้คนวิชาชีพครู ได้ทำหน้าที่ “ที่ควรทำ” กันจริงๆ แค่ไหน?

“ท่านเชื่อไหมครับ? ใน 1 ปี เรามีเวลาเปิดเทอมประมาณ 200 วัน จะมี 84 วัน หรือร้อยละ 42 คือวันที่ครูต้องเอาเวลาไปใช้กับกิจกรรมอื่นๆ นอกชั้นเรียน และเป็นกิจกรรมที่ครูเขายืนยันว่ากระทบต่อการเรียนการสอนโดยตรง ครูเขาบอกว่า ถ้าจะคืนความสุขให้ครูและนักเรียน ขอ 84 วันนี้คืนมาเถอะ จะได้เอาไปจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น”

ดร.ไกรยส ภัทราวาส นักเศรษฐศาสตร์ด้านการศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวในงานแถลงข่าว “คลี่ตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปีเสียงสะท้อนจากครูที่นักปฏิรูปต้องฟัง” เมื่อเดือน ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมา พร้อมเปิดเผยผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างครูรวม 427 คนจากทั่วประเทศและจากโรงเรียนทุกขนาด (ใหญ่ กลาง เล็ก) ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.-15 ต.ค. 2557 ทั้งหมดเป็นครูอาวุโส วิทยฐานะส่วนใหญ่อยู่ในระดับ คศ.3-คศ.4 อายุงานเฉลี่ย 20-25 ปี รวมทั้งได้รางวัล “ครูสอนดี” จากการเสนอชื่อโดยชุมชนในพื้นที่ตั้งของโรงเรียน

เป็นครูที่สังคมให้การรับรองแล้วว่า “ดีจริง-ทุ่มเทจริง”!!!

ดร.ไกรยส กล่าวต่อไปว่า ใน 84 วัน (เฉพาะวันธรรมดา) ที่เสียไป อันดับ 1 ไปอยู่ที่การประเมินต่างๆ จากหลายหน่วยงาน ทั้งประเมินคุณภาพโรงเรียน ประเมินครู ประเมินนักเรียน ใช้เวลา 43 วัน และในจำนวนนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ใช้มากที่สุด รวม 9 วัน อันดับ 2 การแข่งขันทางวิชาการ ใช้เวลา 29 วัน สำหรับการฝึกและส่งนักเรียนไปประกวดในกิจกรรมต่างๆ และ อันดับ 3 การอบรมครูที่จัดโดยหน่วยงานต่างๆ ใช้เวลา 10 วัน

เมื่อถามต่อไปว่า ในบรรดาสารพัดกิจกรรมที่ครูต้องทำ กิจกรรมใดที่ “ส่งผลเสีย” ต่อการเรียนการสอนมากที่สุด อันดับ 1ตอบว่า “การประเมินของ สมศ.” ร้อยละ 45.7 ทิ้งห่างอันดับ 2 คือการอบรม ร้อยละ 19.7 และอันดับ 3 การแข่งขันทางวิชาการ ร้อยละ 5.6

ในทางตรงข้าม..กิจกรรมใดที่ “ส่งผลดี” ต่อการเรียนการสอนมากที่สุด อันดับ 1 เสียงส่วนใหญ่ตอบว่า “การแข่งขันทางวิชาการ” ร้อยละ 40.3 รองลงมา อันดับ 2 คือการประเมินแบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ร้อยละ 15.2 และ อันดับ 3 การอบรม ร้อยละ 15

และสิ่งที่คาใจครูมากที่สุด..เหตุใดเมื่อประเมินแล้ว จึงไม่มี “คำแนะนำ” ถึงโรงเรียนและครูบ้าง?

“45 เปอร์เซ็นต์ เลยนะครับ แทบจะเป็นมติเอกฉันท์ บอกว่าประเมิน สมศ. เป็นการประเมินที่ส่งผลเสียต่อการเรียนการสอนมาก ครูมองว่าใช้เวลาประเมินไปแล้วไม่ได้สิ่งที่สะท้อนกลับมา ว่าโรงเรียนควรจะปรับตัวอย่างไร การเรียนการสอนควรจะปรับอย่างไร เราเอาเวลาไปให้ สมศ. ขนาดนี้แล้ว ทำไม สมศ. ไม่บอกเราบ้างว่าเราควรจะปรับตัว พัฒนาการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้เวลาที่สูญเสียไปมันไปสูญเปล่า” นักเศรษฐศาสตร์ด้านการศึกษา สสค. กล่าว

ด้าน นายอาคม สมพามา ครูโรงเรียนสายธรรมจันทร์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ในฐานะตัวแทนครูที่ได้รับผลกระทบจากสารพัดการประเมิน กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ภารกิจของครูไม่ใช่แค่ 200 วันเปิดภาคเรียนเท่านั้น แม้กระทั่งช่วงปิดภาคเรียน ภารกิจก็หนักหนาสาหัสไม่ต่างกัน

และส่วนใหญ่ไม่ใช่งานที่เกี่ยวกับการสอน แต่เป็นการเตรียมเอกสารประเมิน ตามแต่หน่วยงานระดับบนๆ ขึ้นไปจะสั่งการ และไม่ได้มีเพียงหน่วยงานเดียว เช่น หากวันนี้เป็นการประเมินของ สมศ. วันต่อไปก็จะเป็นการประเมินของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นต้น

ย้ำเสมอว่า “ด่วนที่สุด” ทุกครั้ง และทุกงาน!!!

“สมัยก่อนผมเป็นเด็กๆ จำได้ว่าปิดเทอมเราได้อยู่บ้าน ครูเขาก็ปิดเทอมอยู่กับครอบครัวเขา แต่เดี๋ยวนี้ปิดเทอมแทบไม่มีเลยครับ เราต้องทำงานทั้งๆ ที่ไม่ได้มีชั่วโมงสอน เราต้องเตรียมงานเตรียมเอกสารสารพัด หน่วยเหนือเขาสั่ง แล้วพอเปิดเทอม เราก็ต้องรอเขาสั่ง เดี๋ยววันนี้ สมศ. เข้าครับ เดี๋ยววันนี้ สมศ. ไม่เข้า ก็ต้องประเมินตนเองครับ รายงานให้ สพฐ. ทราบ ให้ต้นสังกัดทราบ แล้วด่วนด้วยนะครับ ด่วนครับ ด่วนมากครับ ด่วนที่สุดครับ ด่วนสารพัดด่วนประทับตรามา 

เราก็ยอมเพราะต้องทำตามผู้บังคับบัญชา แต่พอทำแล้วมันก็เบียดบังความสุขของเด็ก เพราะเราต้องทิ้งหน้าที่ความเป็นครูของเรา ผมถามเพื่อนๆ ครู ทุกคนก็เหมือนกัน แล้วผมชื่นชมนะครับ ครูมีความอดทนสูง เราไม่ได้ทิ้งเด็กนะครับ ผมกลับไปก็ต้องมีงานเพิ่ม เช่นไปสอนชดเชย ไปตรวจการบ้าน แทนที่จะได้สอนในห้อง คุยกับเด็ก แต่ต้องไปทำงานโน่นงานนี่ที่มีการประเมิน เราไม่ได้ชอบแต่เราต้องทำ เพราะมันเป็นกฏหมาย ครูรายนี้ ระบุ

 ในตอนแรกนี้ เราได้ฟังเรื่องเล่าทั้งจากครูโดยตรง และจากผลสำรวจไปแล้ว ว่าชีวิตครูต้องเจออุปสรรคใดบ้างที่ทำให้ไม่อาจสอนหนังสือได้เต็มที่ ในตอนต่อไป เราจะพาไปฟังข้อเสนอ ทั้งจากครูและจากนักวิชาการด้านที่ทำงานด้านการศึกษามายาวนาน ว่าระบบประเมิน รวมทั้งการสอบต่างๆ มากมายในขณะนี้ ควรแก้ไขอย่างไรบ้าง

SCOOP@NAEWNA.COM

ที่มา แนวหน้า.คอม วันพฤหัสบดี ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

 


เสียงสะท้อนครูไทย (1) "ประเมิน"แล้วได้อะไรบ้าง?เสียงสะท้อนครูไทย(1)ประเมินแล้วได้อะไรบ้าง?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569

เปิดอ่าน 2,518 ☕ 22 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 659 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 540 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 183 ☕ 23 พ.ย. 2567

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 317 ☕ 23 พ.ย. 2567

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
เปิดอ่าน 2,518 ☕ 22 พ.ย. 2567

ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 622 ☕ 22 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

10 วิธีเลี้ยงลูกให้มีความสุขตามหลักวิทยาศาสตร์
10 วิธีเลี้ยงลูกให้มีความสุขตามหลักวิทยาศาสตร์
เปิดอ่าน 26,733 ครั้ง

กำจัดเซลลูไลท์ กำจัดผิวเปลือกส้ม
กำจัดเซลลูไลท์ กำจัดผิวเปลือกส้ม
เปิดอ่าน 10,782 ครั้ง

วิธีต้มไข่ให้ปอกง่าย
วิธีต้มไข่ให้ปอกง่าย
เปิดอ่าน 26,256 ครั้ง

ลมบกและลมทะเล
ลมบกและลมทะเล
เปิดอ่าน 46,238 ครั้ง

สดร.ชี้ข่าวโลกมืดสนิท 6 วันเพราะฝุ่น-ขยะอวกาศบดบังไม่จริง
สดร.ชี้ข่าวโลกมืดสนิท 6 วันเพราะฝุ่น-ขยะอวกาศบดบังไม่จริง
เปิดอ่าน 10,000 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ