ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความเทคโนโลยีการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

แนวทางการพัฒนาทักษะการค้นคว้า และศึกษาด้วยตนเองเพื่อรองรับ AEC : 2558


บทความเทคโนโลยีการศึกษา 15 ม.ค. 2558 เวลา 06:18 น. เปิดอ่าน : 20,273 ครั้ง
Advertisement

แนวทางการพัฒนาทักษะการค้นคว้า และศึกษาด้วยตนเองเพื่อรองรับ AEC : 2558

Advertisement

แนวทางการพัฒนาทักษะการค้นคว้า และศึกษาด้วยตนเองเพื่อรองรับ AEC : 2558 (Skill Development of Independent Study for AEC) 

โดย ณรงค์ ขุ้มทอง ประธานกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนนวมินทราชูทิศทักษิณ โรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคมโรงเรียนควนเนียงวิทยาและโรงเรียนดาวนายร้อย


การพัฒนาทางการศึกษาของไทยในศตวรรษที่ 21 กำลังเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดหวังและท้าทายเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพัฒนาดังกล่าวเป็นการรองรับการแข่งขันอย่างเสรีที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มอาเซียนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และรวมถึงการเชื่อมโยงสัมพันธ์กับประเทศกลุ่มอื่นๆ ของโลก เช่น กลุ่มประเทศ GCC เป็นกลุ่มค่อนข้างใหม่ เป็นการรวมตัวของประเทศกลุ่มอาหรับเข้าด้วยกัน จะเห็นได้ว่าการรวมกลุ่มของประเทศดังกล่าวจะเป็นผลดีของประเทศในกลุ่ม AEC เป็นอย่างมาก เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่มีกำลังซื้อสูงมากและที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มหาศาลคือ น้ำมัน เป็นกลุ่มที่ประชาชนบริโภคอาหารฮาลาล ซึ่งจะเป็นแหล่งตลาดที่ใหญ่และสำคัญยิ่งของไทยเราและกลุ่มประเทศใน AEC

การเตรียมความพร้อมที่สำคัญที่สุดแขนงหนึ่งคือ การพัฒนาคนของเราให้พร้อมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกๆ ด้านของกลุ่มประเทศดังกล่าวข้างต้น คือการพัฒนาทักษะการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study Skill) ทั้งนี้เพื่อสร้างคนไทยรุ่นใหม่ สร้างคุณภาพทางด้านการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์เทียบเคียงมาตรฐานสากล ยกระดับโรงเรียนของไทยเข้าสู่มาตรฐานสากล (World Class Standard School) ซึ่งโรงเรียนแต่ละโรงในประเทศไทยที่มีความพร้อมก็ควรยึดหลักกว้างๆ ดังนี้ 

1.หลักการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักหาประเด็นมาตั้งคำถาม ตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis Formulation) 

2.หลักการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น จากห้องสมุด ห้องอินเตอร์เน็ต หรือจากการทดลองต่างๆ (Searching for Information) 

3.หลักการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักสรุปเนื้อหาและองค์ความรู้ที่ได้มาจากการฟัง การอภิปราย การทดลอง มาคิดวิเคราะห์ พร้อมมีเทคนิคในการนำเนื้อหามาสรุปเป็นองค์ความรู้ ความสามารถ ถ่ายทอดให้คนอื่นได้อย่างเชี่ยวชาญ (Knowledge Formation) 

4.หลักการฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสาร ในการนำเสนอองค์ความรู้ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ (Effective Communication) ซึ่งการสื่อสารผู้เรียนสามารถสื่อสารได้หลายภาษาหลายช่องทาง 

5.หลักการฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะ รู้จักให้บริการสังคมและมีจิตสาธารณะ (Public Service) หลักการนี้เป็นวิธีการนำความรู้สู่การปฏิบัติ แต่ผู้เรียนจะต้องมีความรู้รอบตัว รอบโลก และนำความรู้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์

หลักการ 5 ด้านข้างต้น เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาความพร้อมของผู้เรียน ผู้เขียนใคร่ขอเสนอแนะต่อกระทรวงศึกษาธิการ ควรกำหนดให้ทักษะนี้เป็นทักษะบังคับและควรบรรจุไว้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเหมือนกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี หรือยุวกาชาด เหตุผลที่ผู้เรียนไม่เห็นด้วยที่มีแนวคิดให้วิชาการค้นคว้าด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งวิชาให้ผู้เรียน ผู้เขียนเห็นว่าปัจจุบันเด็กไทยก็มีชั่วโมงเรียนมากระดับต้นๆ ของโลกอยู่แล้ว และมีวิชาที่เรียนในหลักสูตรเป็นจำนวนมากเช่นกัน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของคนไทยยังขาดการพัฒนาและส่งเสริม ดังที่ อ.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีต รมช.กระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวไว้ว่า ปัญหาการศึกษาของคนไทยคิดไม่เป็น ขาดความมุ่งมั่น อดทน ขาดหลักคิด สังคมไทยอ่อนแอ ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน หรือคุณมีชัย วีระไวทยะ อดีต รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ระบบการศึกษาไทยเราสอนให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ขาดการส่งเสริมให้คิดและเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่มุ่งเน้นด้านคุณธรรมจริยธรรม ฝึกให้คนไทยเป็นลูกน้อง เป็นผู้ตาม รอรับคำสั่ง โรงเรียนไม่มีสื่ออุปกรณ์ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดและการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเต็มไปด้วยนักบริหาร นักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ แต่ขาดคุณภาพและคุณธรรม การทุจริตคอร์รัปชั่นมีเกือบทุกองค์กร

ปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนเชื่อว่าเกิดจากรากฐานที่ล้มเหลวทางการศึกษาที่ไม่สามารถสร้างให้คนไทยเข้มแข็ง มีคุณภาพและคุณธรรมนั่นเอง



ฉะนั้น แนวทางหนึ่งที่ผู้เขียนเชื่อว่า ถ้าผู้รับผิดชอบด้านการศึกษาของไทยเอาจริงเอาจัง โดยการนำกระบวนการการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมาใช้อย่างเข้มแข็งจริงจัง โดยพัฒนาผู้เรียน 3 ทักษะ ดังนี้ 

1.ทักษะการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation Skill) เป็นทักษะที่ต้องการให้ผู้เรียนรู้จักกำหนดประเด็นของปัญหา รู้จักตั้งสมมุติฐาน รู้จักเทคนิคการค้นคว้า รู้จักเทคนิคการแสวงหาความรู้ มีเทคนิคการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ ถ้าให้ผู้เรียนมีทักษะด้านนี้ที่สมบูรณ์ควรเพิ่มทักษะStepladder Technique เป็นวิธีการที่ให้ผู้เรียนร่วมกับสมาชิกมีส่วนร่วมในการคิด การทำงาน คิดวางแผนสร้างองค์ความรู้ ซึ่ง Stepladder มี 5 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 ก่อนทำงานให้ผู้เรียนวางแผน

ขั้นที่ 2 ผู้เรียนนำปัญหาหรือองค์ความรู้มาวิเคราะห์

ขั้นที่ 3 ผู้เรียนนำองค์ความรู้จากการค้นคว้ามาสร้างทางเลือกในการนำไปใช้ 

ขั้นที่ 4 ผู้เรียนนำข้อมูลมาสังเคราะห์และสร้างองค์ความรู้ใหม่ 

ขั้นที่ 5 ผู้เรียนนำข้อมูลมาประมวล แล้วตัดสินใจขั้นสุดท้าย นำไปใช้

จะเห็นได้ว่าเทคนิค Stepladder เป็นเทคนิคที่ผู้เรียนหรือครูผู้สอนสามารถนำมาใช้สอนหรือแนะนำผู้เรียนนำไปใช้จัดการเรียนรู้ หรือจัดการในการวางแผนการทำงานได้ และโดยเฉพาะหลังจากปี 2558 ประชาคมอาเซียนก็จะขับเคลื่อนเต็มรูปแบบ ฉะนั้นถ้าเยาวชนไทยเราสามารถนำวิธีการเรียนรู้และค้นคว้าคำตอบเองออกมาใช้เต็มศักยภาพ เชื่อว่าคุณภาพของคนไทยเราคงจะดีขึ้นในเชิงคุณภาพทุกๆ ด้าน พร้อมที่จะแข่งขันในเวทีโลก และถ้าสามารถนำเทคนิค Stepladder มาต่อยอด เสริมทักษะ การค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ให้ผู้เรียนก็ยังเสริมคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพได้อีกทางเช่นกัน 

2.ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) เป็นทักษะที่มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับมาวางแผน ใช้วิธีการและเทคนิคในการถ่ายทอดวิธีการสื่อความหมาย แนวคิดใหม่ๆ นำข้อมูลและองค์ความรู้ใหม่ๆ เสนอด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่หลากหลายและรัดกุม 

ทักษะนี้ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำแนวคิดจากทักษะ R.K.F.S. มาเขียนเป็นเอกสารทางวิชาการ และนำเสนอถ่ายทอดข้อมูล สามารถนำทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ (Conrtructionism) มาสอนให้

ผู้เรียนนำมาใช้บูรณาการกับทักษะการสื่อสารและการนำเสนอ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ให้ผู้เรียนสร้างชิ้นงานจากการทำโครงการ (Project Based Learning) 

อีกประเด็นที่สำคัญยิ่งของทักษะนี้คือ ถ้าผู้เรียน

มีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ ก็สามารถทำให้เยาวชนของไทยมีคุณภาพพอที่จะเข้าแข่งขันหรือสามารถนำไปใช้ในประชาคมอาเซียนได้หลังจากปี 2558 ซึ่งผู้สอนหรือผู้เรียนจะต้องมีทักษะการสื่อสารและการนำเสนอพื้นฐานเบื้องต้น ดังนี้ 

1.1 ควรรู้ว่าเราจะสื่อสารในสถานการณ์ใด เวลาใด งานอะไร

1.2 ควรรู้ว่าเราควรสื่อสารสถานที่ใด 

1.3 ควรรู้ว่าเราสื่อสารกับใคร สถานะของผู้ฟังเป็นอย่างไร 

1.4 ควรรู้ว่าเราสื่อสารในกรอบของสังคม ศาสนา และวัฒนธรรมใด จึงจะเหมาะสม 

1.5 ควรรู้ว่าเรามีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารอย่างไร

การสื่อสารและการนำเสนอเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เรียนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากผู้เรียนมีความสามารถทางภาษาแล้วก็ตาม แต่ผู้เรียนจะต้องเข้าใจบริบทอื่นๆ เพราะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Meterial) การแลกเปลี่ยนทางอารมณ์ (Emotion) และการสร้างความสัมพันธ์ (Relation) และสุดท้ายผู้ที่จะประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดจะต้องประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้ 

1.เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี รวมถึงพฤติกรรมที่แสดงออกที่ดีและเหมาะสม 

2.มีความมุ่งมั่น คล่องแคล่วมั่นใจ 

3.แสดงออกถึงความตั้งใจและให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน

4.มีสื่อและเทคโนโลยีช่วยเสริมกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างกลมกลืนและสอดคล้องกับความเป็นจริง 

5.มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาอย่างชัดเจนและแม่นยำ 

6.มีจิตวิทยาที่เสริมสร้างแรงจูงใจและเป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน 

7.มีจิตวิทยาในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสมาชิกได้ โดยมุ่งให้เกิดความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Understanding) ความถนัดหรือทักษะ (Skill) และมีทัศนคติและจริยธรรมเชิงบวกเสมอ (Habit) 

ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอ ผู้เขียนคิดว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องทางการศึกษาของไทย ควรนำมาใช้ในโรงเรียนอย่างจริงจัง 

3.ทักษะการนำองค์ความรู้ไปใช้บริการทางสังคม (Social Service Activity Skill) หรือการสร้างบริการสาธารณะ ( Public Service) โดยผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติสู่สังคมให้มากที่สุด แต่ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า ก่อนที่จะนำความรู้สู่สังคมได้นั้น ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถเบื้องต้น ดังนี้

1.ต้องสร้างวินัยในตนเอง ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย รู้ขอบเขตของหน้าที่และสิทธิเสรีภาพ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

2.ต้องตระหนักเสมอว่าตนเองคือส่วนหนึ่งทางสังคม รับผิดชอบต่อส่วนรวมต่อประเทศชาติและโลก 

3.ต้องเป็นผู้ที่ตระหนักถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและต้องช่วยแก้ไข 

4.ต้องยึดหลักธรรมในการทำเป็นชีวิต และพร้อมที่จะถ่ายทอดหลักธรรมที่ดีสู่สังคม

ทักษะนี้ผู้เขียนคิดว่าเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งเช่นกัน เพราะเป็นทักษะที่ผู้เรียนต้องนำไปใช้ต่อสังคม ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนในปัจจุบัน ไม่ใช่ให้ผู้เรียนมีความรู้เชิงวิชาการเพียงอย่างเดียว (Academic Knowledge) แต่ควรให้ผู้เรียนนำประสบการณ์เรียนรู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ คือมีจิตใจที่สูงส่ง มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์โลก เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน 



ในต่างประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศในยุโรป ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดจิตสำนึกในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม ผ่านกระบวนการเรียนรู้และการสอนที่เรียกว่า การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม (Service-Learning) ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นวิธีการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้และพัฒนาตนเองจากการเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงในการให้บริการแก่สาธารณะ ซึ่งสอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของชุมชน (Taylor และ Ballengee-Morris, 2004) จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมนั้น เป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้เรียนและสังคม 

กล่าวคือ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และพัฒนาความสามารถในเชิงวิชาการ อารมณ์ และสังคมควบคู่กันไปด้วย ขณะที่ชุมชนหรือสังคมก็จะได้รับประโยชน์จากการที่ผู้เรียนเข้าไปให้บริการในลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมอาสาสมัคร (Volunteer) ซึ่งในกลุ่มประเทศดังกล่าวจัดกิจกรรมอาสาสมัครหรือการให้บริการต่อสังคมโดยไม่รับค่าตอบแทนนั้น ไม่ได้เป็นเพียงกิจกรรมเสริมเท่านั้น แต่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรในรูปแบบที่เป็นวิชาการเลือกด้วย 

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่า ในปี ค.ศ.1999 มีโรงเรียนของรัฐกว่า 83% ที่มีนักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้บริการชุมชน และในปี ค.ศ.2005 สำรวจพบว่าโดยส่วนใหญ่นักเรียนมักปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสังคมในรายวิชาสังคมศึกษา (12%) วิทยาศาสตร์ (10%) และภาษาอังกฤษ (7%) (the National Center For Education Statistics, 2010) 

ประเด็นสำคัญที่นักการศึกษาของไทยต้องนำไปขบคิดคือ หลักสูตรสถานศึกษาของประเทศได้นำแนวคิดเรื่องการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมมาเป็นฐานในการออกแบบหลักสูตรแล้วหรือยัง และหากทำแล้วอยู่ระดับใด (ข้อมูลเฉลิมลาภ ทองอาจ การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม) 

ที่จริงแล้วแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ในการศึกษาของไทยแต่เดิมได้ปฏิบัติกันมา เราคงจะเคยทราบว่า ครูพระสงฆ์สมัยโบราณสอนให้ศิษย์มีความรู้และทักษะวิชาช่าง ด้วยการพาศิษย์ไปซ่อมแซมหรือสร้างศาสนสถาน แม่บ้านแม่เรือนสมัยก่อนทำกับข้าวได้หลายชนิด เพราะไปเรียนรู้วิธีการประกอบอาหารจากแม่ครัวใหญ่ในงานวัดหรืองานบุญต่างๆ แพทย์แผนไทยเรียนรู้กรรมวิธีรักษาโรค ก็ด้วยการตามครูแพทย์ไปให้บริการแก่ชาวบ้านในหลายๆ แห่ง โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน

การเรียนรู้สมัยก่อนจึงไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อประโยชน์เฉพาะตน แต่เป็นการเรียนรู้ที่สังคมจะได้รับประโยชน์จากการเรียนของเราด้วย 

การศึกษาในยุคก่อนจึงไม่เคยทิ้งสังคมไปเช่นในปัจจุบัน ดังที่เรามักจะได้ยินคำถามทั้งจากครูและผู้เรียนของเราเสมอว่า "เรียนแล้วจะนำไปทำอะไรก็ไม่รู้" "เรียนแล้วไม่เห็นว่าสังคมจะได้รับประโยชน์อะไร" 

และในที่สุดเราก็สรุปได้ว่า "ถ้าเช่นนั้นก็เรียนให้สำเร็จก่อนแล้วค่อยกลับมาช่วยสังคม" คำถามที่เราต้องคิดต่อก็คือ ก็แล้วเหตุใดเราไม่ทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นเรื่องที่สังคมได้ประโยชน์ทุกขณะ และเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ต้องสอน แต่เกิดจากการที่ผู้เรียน "เห็นปัญหา" และ "เกิดเมตตา" ที่จะช่วยผู้ที่มีใจเมตตาให้ แม้แต่คนที่อาจจะไม่รู้จักเช่นนี้ จะไม่ใช่มนุษย์ที่สมบูรณ์หรือผู้เรียนที่เราต้องการให้เกิดขึ้นจากการศึกษาหรอกหรือ



สถานศึกษาหลายแห่งสรุปไปว่า การเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Learning) เป็นวิธีการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม ข้อสรุปดังกล่าวอาจจะไม่ถูกต้องนัก เพราะมิติของการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมสร้างความรู้ตามความสนใจของผู้เรียนเท่านั้น เพราะสิ่งที่ผู้เรียนสนใจอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์หรือช่วยให้ปัญหาสังคมหรือชุมชนของเขาคลี่คลายไปก็เป็นได้ เราอาจจะเคยเห็นนักเรียนทำโครงงานประดิษฐ์หุ่นยนต์ ในขณะที่ชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่มีปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากอุตสาหกรรม การให้บริการต่อสังคมจึงต้องมองปัญหาใกล้ตัว หรือเป็นเรื่องที่สังคมเรียกร้องขอความช่วยเหลือก่อนเป็นหลัก 

ดังนั้น กิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีนี้อาจอยู่ในรูปแบบอื่น นอกจากโครงงาน เช่น การเป็นอาสาสมัครในองค์กรศาสนา องค์กรเยาวชนหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร หรือการฝึกงานในหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่ให้บริการต่อสาธารณะ เป็นสาธารณะ เป็นต้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใดเราจึงมีเยาวชนวัยรุ่นชาวต่างประเทศเข้ามาทำงานอาสาสมัครพัฒนาชุมชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ดังเช่นเคยปรากฏเป็นข่าวไปทั่วโลกเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา องค์มกุฎราชกุมารในเชื้อพระวงค์ของประเทศอังกฤษทรงหยุดเรียนในมหาวิทยาลัยที่ทรงเรียนเป็นเวลา 1 ปี ทั้งนี้ เพื่อเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเข้าโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้น 

ในขณะที่นักเรียนไทยอายุเท่ากัน อาจจะตั้งใจท่องตำรับตำราอยู่ในห้องเรียนสี่เหลี่ยม โดยไม่เคยเหลียวมาสนใจเลยว่าฝรั่งหัวแดงพวกนี้มาทำอะไรกัน และทำเพื่ออะไร 

เมื่อปี 2548 ผู้เขียนมีโอกาสไปศึกษาดูงานด้านการศึกษา ณ ประเทศไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง และสาธารณรัฐประชาชนจีน จะพบว่าการเรียนการสอนจะเน้นเนื้อหากับการปฏิบัติที่เข้มข้นมาก การเรียนรู้นอกห้องเรียนมีความสำคัญมากพอๆ กับการเรียนในชั้นเรียน และนักเรียน นักศึกษาเหล่านี้จะเดินทางไปศึกษาในต่างจังหวัดในประเทศของตนเองและต่างประเทศ 

ในช่วงปิดภาคเรียนจะเป็นอาสาสมัครในองค์กรต่างๆ จึงจะเป็นคำตอบได้ว่าทำไมคุณภาพทางการศึกษาของกลุ่มประเทศเหล่านี้จึงมีคุณภาพระดับต้นๆ ของเอเชียและระดับโลก 

จากการสำรวจและจัดอันดับ 100 มหาวิทยาลัยสุดยอดแห่งเอเชียประจำปี 2013-2014 ของนิตยสาร Time Higher Education ของประเทศอังกฤษ พบว่า อันดับที่ 1 มหาวิทยาลัยโตเกียว อันดับที่ 2 มหาวิทยาลัยสิงคโปร์ อันดับที่ 3 มหาวิทยาลัยฮ่องกง อันดับที่ 4 มหาวิทยาลัยเกาหลีใต้ อันดับที่ 5 มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และยังพบว่าประเทศญี่ปุ่นมี 20 มหาวิทยาลัยอยู่ใน 10 มหาวิทยาลัยรองลงมา ประเทศจีน 18 มหาวิทยาลัย เกาหลีใต้ 14 มหาวิทยาลัย ประเทศจีนไต้หวัน 100 มหาวิทยาลัย ฮ่องกง 6 มหาวิทยาลัย สิงคโปร์ 2 มหาวิทยาลัย และประเทศไทย 2 มหาวิทยาลัย ลำดับที่ 50 และ 82 ของเอเชีย 

จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยลำดับคุณภาพต้นๆ ในเอเชียใกล้บ้านเรามีมากมายทีเดียว แต่ทำไมคนไทย เด็กไทยไม่นิยมไปศึกษาต่อเหมือนกับไปศึกษาในอเมริกา อังกฤษ หรือออสเตรเลีย รวมทั้งนักการศึกษาไทยก็ไม่ค่อยนำผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของประเทศดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาเยาวชนไทยเท่าที่ควร แต่ปี 2014 ยังโชคดีที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ติดลำดับที่ 50 และมหาวิทยาลัยมหิดล ติดลำดับที่ 82 ของเอเชีย ยังพอรักษาหน้าตาของประเทศไทยไว้บ้างไม่มากก็น้อย 

อยากฝากเป็นข้อคิดว่า ประเทศไทยลองส่งนักบริหารการศึกษาหรือนักเรียนไทยไปศึกษาดูว่าประเทศดังกล่าวเขาจัดการศึกษาอย่างไร จึงมีคุณภาพดังที่ปรากฏแก่ชาวเอเชียและชาวโลก แต่ระยะหลังมีนักการศึกษา ครู-อาจารย์ต่างๆ เดินทางไปในประเทศดังกล่าวมากขึ้น แต่ไม่ทราบว่าไปศึกษาดูงานหรือไปทำกิจกรรมใด 



แนวทางเริ่มต้นสู่การใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมคือ การสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยในห้องเรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนมองเห็นปัญหาหรือสิ่งทีชุมชนต้องการให้พวกเขาไปช่วยเหลือ หรือสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของเพื่อนมนุษย์ในชุมชนดีขึ้นจากนั้นให้อิสระแก่ผู้เรียนเพื่อให้พวกเขาแสดงความรับผิดชอบในการจัดการทุกขั้นตอนในการเลือกหรือออกแบบกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาในการดำเนินการ การจัดเตรียมอุปกรณ์ การลงมือปฏิบัติ การประเมินการให้บริการ และการสะท้อนความคิดหลังการปฏิบัติงาน 

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึงที่จะทำให้การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมมีประโยชน์อย่างแท้จริงก็คือ กิจกรรมที่นักเรียนเลือกปฏิบัติควรเอื้อต่อการนำความรู้ที่เรียนมาใช้ประโยชน์ 

ตัวอย่างเช่น นักเรียนอาจจะเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในการปลูกต้นไม้ในโรงเรียน ซึ่งนักเรียนจะต้องแสดงให้เห็นถึงวิธีการนำความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาใช้ เช่น การทำกราฟหรือแผนภูมิแสดงปริมาณต้นไม้ ประเภทต้นไม้ หรือการบำรุงรักษาระบบนิเวศวิทยาในโรงเรียน เป็นต้น 

ดังที่กล่าวมานี้ การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อสังคมจึงน่าจะเป็นก้าวต่อไปของการพัฒนาหลักสูตร เพราะเป็นหนทางตรงที่ทำให้ผู้เรียนของเราพัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ และพร้อมที่จะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้อย่างสง่างาม โดยเฉพาะพร้อมที่จะแข่งขันกันกับกลุ่มประเทศในเอเชียต่อไป

การเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยการค้นคว้าด้วยตนเองจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการให้ผู้เรียนมีทักษะในด้านนี้ทั้ง 3 ทักษะ ซึ่งสามารถจัดเชิงบูรณาการในสาระทุกสาระ ผู้สอนจึงสามารถนำมาใช้ได้ทุกเวลา ทุกคาบก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ทำอยู่แล้วแต่ทำโดยไม่ใช้หลักการ ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนเท่าที่ควร

และที่สำคัญยิ่งคือ ผู้เรียนจะไม่สนใจและไม่รับรู้ความเป็นไปในสังคม และเราจึงไม่เห็นคนไทยหรือเยาวชนไทยออกมาปกป้อง รักษาความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในทางสังคม ไม่ว่าทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางการศึกษา และทางการเมืองเลย ถึงเวลาแล้วที่เราควรผลักดันเรื่องนี้ กระทรวงศึกษาธิการลองช่วยหาคำตอบ

 


 

 

(ที่มา:มติชนรายวัน 8 มกราคม 2558)

หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244

https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6


แนวทางการพัฒนาทักษะการค้นคว้า และศึกษาด้วยตนเองเพื่อรองรับ AEC : 2558แนวทางการพัฒนาทักษะการค้นคว้าและศึกษาด้วยตนเองเพื่อรองรับAEC:2558

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

วิธีการเชิงระบบ

วิธีการเชิงระบบ


เปิดอ่าน 45,635 ครั้ง
หลักการออกแบบของ ADDIE model

หลักการออกแบบของ ADDIE model


เปิดอ่าน 175,382 ครั้ง
ระบบการพัฒนาอาชีพครู

ระบบการพัฒนาอาชีพครู


เปิดอ่าน 49,060 ครั้ง
Student Perceptions of Selected Technology Student Association Activit

Student Perceptions of Selected Technology Student Association Activit


เปิดอ่าน 10,957 ครั้ง
Gen Y วายร้ายจริงหรือ (จบ)

Gen Y วายร้ายจริงหรือ (จบ)


เปิดอ่าน 16,653 ครั้ง
ADDIE Model timeline

ADDIE Model timeline


เปิดอ่าน 45,198 ครั้ง
แนวทางในการพัฒนาระบบ

แนวทางในการพัฒนาระบบ


เปิดอ่าน 22,701 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การประเมินความจำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์

การประเมินความจำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์

เปิดอ่าน 19,746 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย
มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย
เปิดอ่าน 14,018 ☕ คลิกอ่านเลย

ถอด 3 กลยุทธ์สร้างห้องเรียนออนไลน์ให้ ถูกใจผู้สอน โดนใจคนเรียน
ถอด 3 กลยุทธ์สร้างห้องเรียนออนไลน์ให้ ถูกใจผู้สอน โดนใจคนเรียน
เปิดอ่าน 8,125 ☕ คลิกอ่านเลย

A Systems Approach for Developing Technological Literacy
A Systems Approach for Developing Technological Literacy
เปิดอ่าน 11,150 ☕ คลิกอ่านเลย

มาตรฐานข้อสอบและการให้เกรดในมหาวิทยาลัย: เกรดเฟ้อและเกรดฝืด
มาตรฐานข้อสอบและการให้เกรดในมหาวิทยาลัย: เกรดเฟ้อและเกรดฝืด
เปิดอ่าน 14,196 ☕ คลิกอ่านเลย

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เปิดอ่าน 18,844 ☕ คลิกอ่านเลย

การเรียนรู้โดยใช้แป้นพิมพ์แทนการเขียน ดีหรือไม่?
การเรียนรู้โดยใช้แป้นพิมพ์แทนการเขียน ดีหรือไม่?
เปิดอ่าน 20,181 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ประวัติย่อของคณิตศาสตร์ : อาร์คีมีดีส : Archimedes
ประวัติย่อของคณิตศาสตร์ : อาร์คีมีดีส : Archimedes
เปิดอ่าน 40,611 ครั้ง

หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ การเปลี่ยนชื่อโรงเรียน
หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ การเปลี่ยนชื่อโรงเรียน
เปิดอ่าน 28,297 ครั้ง

ระบบหายใจ (respiration)
ระบบหายใจ (respiration)
เปิดอ่าน 3,964 ครั้ง

แนะเด็กกินผักสด สู้หวัดหน้าหนาว
แนะเด็กกินผักสด สู้หวัดหน้าหนาว
เปิดอ่าน 13,639 ครั้ง

โลกออนไลน์แชร์คลิปดีๆ "ครูบุ๋ม" ชวนเด็กๆเต้น T26 ก่อนเรียนคาบแรก
โลกออนไลน์แชร์คลิปดีๆ "ครูบุ๋ม" ชวนเด็กๆเต้น T26 ก่อนเรียนคาบแรก
เปิดอ่าน 13,580 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ