Advertisement
คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์
โดย พิชญ์พจี สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย)
ปีใหม่แล้วมีคำถามเรื่องการสำรวจความผูกพันของพนักงานเข้ามามาก เนื่องจากกระบวนการสำรวจความผูกพันในองค์กรนั้น ก็เหมือนกระบวนการตรวจสุขภาพประจำปีกล่าวคือ การสำรวจความผูกพันในองค์กรเป็นการสำรวจเพื่อให้ทราบจุดที่อาจเป็นปัญหาในองค์กรจากมุมมองของพนักงาน เช่น มีความเข้าใจเป้าหมายร่วมขององค์กรแค่ไหน ประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กรเป็นอย่างไร
ภาวะผู้นำในองค์กรและประสิทธิภาพของหัวหน้างานเป็นอย่างไร (ดีหรือแย่แค่ไหน) เป็นต้น
ดิฉันเรียนลูกค้าเสมอว่า การสำรวจความผูกพันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการสร้างความผูกพันในองค์กร ถ้าองค์กรไม่นำผลการสำรวจไปดำเนินการต่อ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ขั้นตอนที่ยากและใช้เวลาที่สุดไม่ใช่การสำรวจความผูกพัน แต่เป็นการกำหนดแผนการดำเนินการต่อเพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อให้พนักงานเขารู้สึกว่าบริษัทพูดจริง ทำจริง รู้ผลแล้วแก้ไขให้ พนักงานก็จะเกิด Trust ในองค์กรและผู้นำ
บริษัททาวเวอร์ส วัทสัน ได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง และพบว่าความผูกพันในองค์กรเกิดจากผู้นำองค์กร, ทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กร และวัฒนธรรมในองค์กร โดยท้ายที่สุดถ้าทำได้ดีจะมีผลกับผลงานด้านการเงิน และผลงานโดยรวมขององค์กร โดยมีหลักการดังนี้
1.ผู้นำองค์กร, ทิศทาง และกลยุทธ์ขององค์กร และวัฒนธรรมในองค์กร เป็นปัจจัยหลัก และผลักดันให้เกิดความผูกพันในองค์กร เพราะฉะนั้น องค์กรต้องมีความชัดเจนของทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กร ตลอดจนวัฒนธรรมในองค์กร โดยผู้ที่จะสื่อสารเรื่องดังกล่าวคือผู้นำในองค์กรนั่นเอง
2.ต้องมีการสร้างความผูกพันในองค์กร ซึ่งตามหลักการของทาวเวอร์ส วัทสัน เราเรียกโมเดลการสร้างความผูกพันอย่างยั่งยืนว่า "3 E" ที่ประกอบด้วยโมเดลดังนี้คือ
E-Engaged (สร้างความผูกพัน) หมายถึงการที่พนักงานมีความผูกพันกับองค์กร เพราะ "เชื่อ" ในแนวทางและเป้าหมายขององค์กร ทำให้เกิดความภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งและพร้อมจะทำงานหนักเพื่อองค์กร
E-Enabled (ขจัดอุปสรรค) หมายถึงการที่พนักงานผูกพันอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอถ้าองค์กรไม่ช่วยขจัดปัญหาอุปสรรคในการทำงาน ช่วยพัฒนาพนักงาน (ให้มีทักษะ) และให้เครื่องมือที่เหมาะสมในการทำงานเพื่อให้ทำงานได้ดี (โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเกินไปจนท้อ)
ดิฉันมีตัวอย่างองค์กรหนึ่งที่พบนะคะ เป็นองค์กรเก่าแก่ พนักงานรักองค์กรมาก อยู่กันมาเหมือนครอบครัวใหญ่ พร้อมทำงานหนัก แต่มีปัญหาในการทำงานมาก โดยที่บริษัทไม่ได้ช่วยขจัดปัญหา อุปสรรคในการทำงานเลย
พนักงานมีงานเอกสารเยอะมากที่ต้องตรวจ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็ไม่พร้อม ต้องใช้คนตรวจ กระทบยอดทุกวัน ทั้งพนักงานยังกลับบ้านดึก ๆ ทุกวัน เป็นอย่างนี้ตลอด ต่อให้พนักงานผูกพันขนาดไหนก็ไปไม่รอดหรอกค่ะ
E-Energized (สร้างพลัง) หมายถึงบริษัทต้องดูแลความเป็นอยู่ของพนักงานให้ดีด้วย เพื่อให้เขามีพลังในการทำงาน เพราะเราเชื่อว่าถ้าพนักงานมีพลังจะทำงานได้ Productive มากขึ้น
3.เมื่อทุกอย่างชัดเจน ผู้นำเข้าใจ และหมั่นสื่อสาร องค์กรมีแนวทางในการสร้างความผูกพันในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นคือ ผลงานขององค์กรจะดีขึ้น
โดยจากการวิจัยเปรียบเทียบระหว่างบริษัทที่มีความผูกพันของพนักงานสูงและต่ำพบว่า บริษัทที่พนักงานมีความผูกพันสูงอัตราการเจริญเติบโตด้านการเงิน (ในช่วงเวลา 1 ปี) และด้านธุรกิจในภาพรวม (ในช่วงเวลา 3 ปี) จะสูงกว่าบริษัทที่พนักงานมีความผูกพันต่ำ
ก่อนจบมีเคล็ด(ไม่)ลับ สำหรับการสำรวจความผูกพันของพนักงานฝากไว้นะคะ
เคล็ดลับที่ 1 - การดำเนินการสำรวจ ต้องทำให้พนักงานมีความเชื่อมั่นในบรรยากาศที่เป็นความลับหมายความว่า ทำอย่างไรให้พนักงานมีความมั่นใจที่จะให้ข้อมูลที่เป็นความจริง (โดยบริษัทไม่รู้ว่าใครเป็นคนให้ข้อมูล) และมีความสมัครใจที่จะให้ข้อมูล
เรื่องนี้สำคัญมากเพราะถ้าเราสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานไม่ได้ จำนวนพนักงานที่ตอบแบบสำรวจก็จะต่ำ และข้อมูลก็จะไม่น่าเชื่อถือ
เคล็ดลับที่ 2 - การสื่อสารวัตถุประสงค์ในการสำรวจ ต้องสื่อสารให้พนักงานเห็นประโยชน์ต่อเขาในการให้ข้อมูลนี้ เช่น เพื่อการพัฒนาขององค์กร เพื่อแก้ไขปัญหาในองค์กร ซึ่งจะส่งผลดีต่อพนักงาน เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องสื่อสารอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่พบจะถูกจัดลำดับความสำคัญ และดำเนินการตามลำดับความสำคัญต่อองค์กรด้วย เพื่อป้องกันความคาดหวัง(มาก)ของพนักงาน บางครั้งเมื่อพนักงานตอบแบบสำรวจแล้วก็คิดว่าองค์กรจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่เขาให้ความเห็นไป ซึ่งในความเป็นจริงอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นในทุกกรณี
เคล็ดลับที่ 3 - การสื่อสารผลการสำรวจให้พนักงานทราบ และการดำเนินการวาง Action Plan เพื่อให้พนักงานเห็นว่าองค์กรให้ความสำคัญที่จะแก้ไขจริง ๆ บางองค์กรพอผลสำรวจออกก็ไม่สื่อสารให้พนักงานทราบ พนักงานก็รอจนเสียความรู้สึก พอปีถัดมาจะทำอีกพนักงานก็ไม่อยากทำแล้ว
เคล็ดลับที่ 4 - สำคัญที่สุดคือผู้บริหารทุกระดับในองค์กรต้องให้ความสำคัญกับการสำรวจความผูกพัน และการดำเนินการต่อเพื่อให้การสร้างความผูกพันในองค์กรมีความต่อเนื่อง อย่าลืมว่าการสำรวจความผูกพันเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น
ที่สำคัญคือ หาสาเหตุของปัญหาและการดำเนินการต่อเพื่อแก้ไขปัญหานะคะ
ขอบคุณที่มาจาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 11,246 ครั้ง เปิดอ่าน 10,000 ครั้ง เปิดอ่าน 19,388 ครั้ง เปิดอ่าน 8,305 ครั้ง เปิดอ่าน 17,453 ครั้ง เปิดอ่าน 10,596 ครั้ง เปิดอ่าน 13,405 ครั้ง เปิดอ่าน 23,750 ครั้ง เปิดอ่าน 20,023 ครั้ง เปิดอ่าน 9,400 ครั้ง เปิดอ่าน 7,742 ครั้ง เปิดอ่าน 12,176 ครั้ง เปิดอ่าน 19,925 ครั้ง เปิดอ่าน 9,000 ครั้ง เปิดอ่าน 21,497 ครั้ง เปิดอ่าน 32,227 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 76,885 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,626 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 28,879 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,016 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,052 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,592 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,050 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 9,558 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,787 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,398 ครั้ง |
เปิดอ่าน 61,293 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,860 ครั้ง |
|
|