หลายครั้งที่มีคนทักว่า “ทำไมใช้ English Programme เพราะโรงเรียนอื่นหรือแม้แต่กระทรวงศึกษาฯก็ยังใช้ English Program”
ก็เลยนำมาเป็นบทนำเข้าสู่บทเรียนครั้งนี้
กล่าวกันว่าข้อสังเกตว่าคำๆนั้นเป็นแบบ British หรือ American ประการแรกคือ การสะกดคำ (Spelling) (นั่นแสดงว่ามีข้อแตกต่างในด้านอื่นๆด้วย ซึ่งจะขอเก็บไว้เขียนถึงครั้งต่อๆไป)
ความแตกต่างในด้านตัวสะกดของ British และ American
1. –our / -or : British ใช้ –our American ใช้ –or เช่น
British American
behaviour behavior
colour color
honour honor
ข้อยกเว้น (1) British ใช้ -or แทน –our ในกรณีที่ลงท้ายด้วย –ous เพื่อหลีกเลี่ยงการมี ‘u’ มากเกินไป เช่น glamorous, humorous, laborious เป็นต้น
(2) คำที่ลงท้ายด้วยตัวอื่นๆที่ไม่ใช่ –ous British ใช้ –our เช่น colourful, neighbourly
(3) British ใช้ –or กับคำที่เกี่ยวกับอาชีพ เช่น sailor, author, counselor
2. –ise / ize : British ใช้ –ise American ใช้ –ize เช่น
British American
authorise authorize
standardise standardize
3. –er / -re : โดยปกติ British ใช้ –re และ American ใช้ –er เช่น
British American
centre center
litre liter
theatre theater
อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อยกเว้น(ตามเคย) กล่าวคือคำ British ที่หมายถึง “คนที่ทำหน้าที่หรือกริยาอาการต่างๆ” เช่น driver, farmer
4. –ogue / -og : กฏข้อนี้มีผลต่อคำเพียงไม่กี่คำ เช่น
British American
analogue analog
catalogue catalog
dialogue dialog / dialogue
prologue prolog / prologue
***British จะไม่ใช้ –og กับคำเหล่านี้ แต่ American อาจใช้ได้ทั้ง –og และ –ogue
5. –l / -ll ท้ายคำ และหน้าคำเสริมท้าย (suffix)
กฏข้อนี้ค่อนข้างซับซ้อน แต่ถึงอย่างไร American English ก็ยังมีกฏ ดังนี้
(1) ถ้ามีคำเสริมท้าย (suffix) และมีการออกเสียงเน้น (stress) ก่อนคำเสริมท้ายนั้น ใช้ -ll เช่น controlling, installment
(2) ถ้าไม่มีคำเสริมท้าย ใช้ –ll เช่น enroll, fulfill
สำหรับ British ไม่มีกฏที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีแต่เพียงว่า คำที่ไม่มีคำเสริมท้ายมักใช้ –l ตัวเดียว ผลโดยรวมก็คือคำส่วนใหญ่ที่ลงท้ายด้วย –l เหมือนกันทั้ง British และ American แต่มีเพียงไม่กี่คำที่ American ออกเสียงเน้นหนัก ต่างออกไป คำที่แตกต่างกันที่พบโดยทั่วไปได้แก่
British American
counselling conseling
counsellor counselor
enrol enroll
enrolment enrollment
fulfil fulfill
traveller traveler
travelling traveling
6. –ce / -se
British มีกฏชัดเจนเรื่องนี้ คือใช้ –ce กับคำนาม และใช้ –se กับคำกริยา
American มีกฏที่ซับซ้อนมากกว่า คือ คำนามและคำกริยาบางคำใช้กฏเหมือน British แต่บางคำก็ไม่เหมือน เช่นคำว่า advice, advise และ device, devise (ซึ่งออกเสียงคำนามกับคำกริยาต่างกัน) ใช้กฏเหมือน British แต่คำว่า “license” ใช้ –s แต่ “practice” มักสะกดด้วย c
*** คำที่ลงท้ายด้วย –ance สะกดด้วย c ทั้ง British และ American
ตัวอย่างคำที่ใช้ –ce และ –se ได้แก่
British American
offence offense
defence defense
licence(noun), license(verb) license (verb & noun)
practice (noun), practice (verb) practice (verb & noun)
7. คำที่แตกต่างกันอย่างไม่มีระบบ (ต้องจำเอาเอง)
British American
axe ax or axe
cheque check
doughnut donut or doughnut
storey story or storey
tyre tire
grey gray or grey
pyjamas pajamas
ที่มา : Richard Hughes & Lawrences J. Zwier. "Need-to-Know",
American & British English Differences Explained. Falcon Press SDN. BHD.