Advertisement
|
|
โดย สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้จัดงานแถลงข่าว “คลี่ตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี เสียงสะท้อนจากครูที่นักปฏิรูปต้องฟัง” โดยมีวิทยากร 4 คน ได้แก่ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.ไกรยศ ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. และครูอาคม สมพามา ตัวแทนครูสอนดี จากโรงเรียนสายธรรมจันทร์ ราชบุรี โดยมีดิฉันทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ
เริ่มจากผลสำรวจของ สสค. ที่ตามติดตารางชีวิตของครูไทยใน 1 ปี แล้วพบว่าครูไทยถูกดึงเวลาจากการทำหน้าที่สอน ให้ไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอน จนส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียน โดยได้ทำการสำรวจครูผู้ได้รับรางวัลครูสอนดีจาก สสค. ซึ่งมีอายุเฉลี่ยและวิทยฐานะสูงกว่าครูทั่วไป กระจายตัวครอบคลุมโรงเรียนทุกสังกัดทั่วประเทศ จำนวน 427 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.- 15 ต.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ใน 1 ปี มีจำนวนวันเปิดเรียนทั้งหมด 200 วัน ครูต้องใช้เวลากับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ไม่ใช่การจัดการเรียนการสอนเฉพาะวันธรรมดาถึง 84 วัน หรือคิดเป็น 42% ซึ่งจัดเป็นตัวเลขที่สูงมาก
ดร.ไกรยส เปิดเผยว่า กิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ไม่ใช่การสอนที่ครูต้องใช้เวลามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 การประเมินของหน่วยงานภายนอกเฉลี่ย 43 วัน ทั้งการประเมินโรงเรียน ประเมินครู และประเมินนักเรียน โดยครูใช้เวลาไปกับการประเมินของหน่วยงานต้นสังกัดในโครงการต่างๆ 18 วัน การประเมินของสถาบันทดสอบ 16 วัน และการประเมินของ สมศ. 9 วัน
ตามด้วยอันดับ 2 การแข่งขันทางวิชาการ 29 วัน และอันดับ 3 การอบรมจากหน่วยงานภายนอก 10 วัน โดยครูส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ได้แก่ การแข่งขันทางวิชาการ การประเมินโอเน็ต การอบรม และการประเมินการอ่าน
|
|
|
ส่วนกิจกรรมที่ครูส่วนใหญ่เห็นว่าส่งผลเสียต่อการเรียนการสอน คือ การประเมินโรงเรียนโดย สมศ. การอบรม และการประเมินอื่นๆ ซึ่งหน่วยงานประเมินที่ครูส่วนใหญ่อยากให้มีการปรับปรุงมากที่สุด คือ สมศ. 98% รองลงมาคือเขตพื้นที่ และ สพฐ. 1.7% โดยเสนอให้ปรับปรุงวิธีการประเมินที่เน้นผลลัพธ์ของเด็กมากกว่าเอกสารและลดภาระการประเมินลง
“เสียงสะท้อนของครูส่วนใหญ่ต้องการคืนครูสู่ห้องเรียนและลดภาระงานของครูที่ไม่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยลดภาระการประเมินด้านเอกสารลง และควรจัดอบรมในเนื้อหาที่ครูต้องการในช่วงปิดภาคเรียนเท่านั้น ที่น่าสนใจคือครูมากกว่า 90% เห็นว่า หากโรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการด้านวิชาการ การบริหารงบประมาณและการบริหารบุคคลจะมีส่วนสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนของครู โดยเงื่อนไขสำคัญของการกระจายอำนาจการบริหารจัดการเรียนการสอนให้ประสบผลสำเร็จคือ การมีส่วนร่วมของครู คุณภาพของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนและนักเรียน”
ทางด้านอาจารย์สมพงษ์ กล่าวว่า ผลสำรวจครูในประเทศของเรายังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับที่ดี คือใช้เวลากับการสอนในชั้นเรียนเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ชั่วโมง/วัน แต่ครูกำลังถูกกดดันและเริ่มไม่มีความสุข เพราะภาระงานนอกห้องเรียนที่ดึงเวลาครูออกไปถึง 42% ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องให้ความสนใจว่าเหตุใดคุณภาพการศึกษาถึงไม่ดีขึ้น จากงานวิจัยขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาในปี 2555 ได้ศึกษาเวลาของครูที่ใช้ในห้องเรียนของ 5 ประเทศ ได้แก่ เอธิโอเปีย สาธารณรัฐกัวเตมาลา ฮอนดูรัส โมซัมบิก และเนปาล พบว่า เมื่อครูถูกดึงออกนอกห้องเรียนที่ไม่เกี่ยวกับการสอนไป 20 - 30% จะมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก โดยมีผลกระทบต่อโอกาสการเรียนรู้ของเด็ก สมาธิของเด็กต่อเนื้อหาและผลคะแนนของเด็กลดลงอย่างเห็นได้ชัด
“ไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใดคุณภาพการศึกษาของไทยจึงไม่ดีขึ้น ยิ่งปัจจุบันมีนโยบายว่าทุกโรงเรียนต้องทำคะแนนโอเน็ต ของเด็กให้สูงขึ้น ยิ่งทำให้ครูไม่ต้องสอนหนังสือ เพราะไปติวแต่โอเน็ต ทำให้การคิดวิเคราะห์ของเด็กทุกวันนี้เป็นของปลอม ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เกิดจากการติวซึ่งอันตรายมาก ส่วนเสียงสะท้อนที่ต้องการให้ลดภาระงานของครูลงนั้น ได้ยินมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี แต่ปัจจุบันยังเหมือนเดิม ไม่มีการตัดสินใจในเชิงนโยบาย ดังนั้นในเมื่อเวลานี้กำลังมีการปฏิรูปการศึกษา และต้องการจะหาของขวัญมอบให้ครู ก็ควรลดภาระงานเอกสาร และต้องทบทวนว่ากิจกรรมเหล่านี้เกิดประโยชน์ไปถึงตัวเด็กหรือไม่ ผลการประเมินเหล่านี้ถูกนำกลับไปใช้พัฒนาการสอนของครูให้ดีขึ้นหรือไม่”
ขณะที่ดร.อมรวิชช์ กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการศึกษาไทยในยุคนี้จะสำเร็จได้ต้องมุ่งแก้ไขใน 3 ประเด็น คือ หนึ่ง ต้องปรับกฎหมายคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อไม่ให้ครูยึดติดกับการทำผลงานเพิ่มวิทยฐานะ
สอง ต้องชะลอการประเมินผลของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบ 4 ไว้ก่อนจนกว่าจะแก้ไข 3 ประเด็นหลักนี้ได้ก่อน คือ 1) มาตรฐานตัวชี้วัดที่ไม่สะท้อนคุณภาพจริง 2) มาตรฐานผู้ประเมิน และ 3) ภาระงานเอกสาร
สาม ปรับวิธีการสอบของสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้เน้นที่กระตุ้นพัฒนาการของเด็ก มิใช่การสอบระดับชาติที่ใช้ข้อสอบเพียงชุดเดียววัดผลเด็ก
“เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ต้องการกระจายอำนาจไปสู่พื้นที่ให้มาก และที่สำคัญจะต้องมีการสร้างกลไกระดับชาติเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับกระบวนการปฏิรูป โดยได้มีการเสนอผ่านสภาปฏิรูป ผมจึงมั่นใจว่าไม่มีจังหวะใดที่จะมีความหวังในการปฏิรูปการศึกษาได้เท่าขณะนี้ ข้อมูล สสค. จึงเป็นประโยชน์ในการตั้งโจทย์ปฏิรูประบบการศึกษาครั้งใหม่ที่มีโจทย์ร่วมของทุกกระทรวงไม่เพียงแต่ สปช.- สนช.- ศธ. เท่านั้น เพราะทิศทางใหม่ของการศึกษาจะเป็นเรื่องการพัฒนาคนที่ต้องทำร่วมกัน”
ส่วนนายอาคม สมพามา ตัวแทนครูสอนดี กล่าวว่า รางวัลของเด็ก คือ การได้มีครูอยู่ในห้องเรียน ผมจึงขอคืนเวลา 84 ชม. ให้กับเด็กนักเรียน และเห็นว่าควรมีการรื้อการประเมินรูปแบบวิทยาฐานะใหม่ที่มุ่งสู่การพัฒนาเด็กมากกว่าการผลประโยชน์ที่ครูได้รับ ดีใจที่ สปช. จะเร่งแก้กฎหมายให้ปรับระบบการประเมินวิทยฐานะเพื่อให้ครูได้มีโอกาสอยู่ในห้องเรียนเพิ่มขึ้น
“อยากให้ทบทวนวิธีการสอบโอเน็ตใหม่ เพราะถ้าวัดด้วยคำถามแบบปรนัย โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทั้งประเทศ และบอกว่าผลสัมฤทธิ์ของเด็กต่ำ ตนคิดว่าไม่ยุติธรรม เพราะเราไม่ได้วัดในสิ่งที่เด็กใช้ และไม่สอดคล้องกับบริบทของนักเรียนที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ทุกวันนี้โรงเรียนยังถูกฉกฉวยผลประโยชน์จากกระทรวงต่างๆ โดยใช้เด็กเป็นเครื่องมือ และให้ครูเป็นผู้สร้างเครื่องมือ เพื่อสร้างผลงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานตนเอง ทุกวันนี้ครูจึงต้องทำหลายหน้าที่ ทั้งสอน เป็นที่ปรึกษาเด็ก เยี่ยมบ้านเด็ก และทำงานธุรการ ซึ่งรู้สึกไม่ยุติธรรมกับครู จึงอยากให้แก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเร่งด่วน”
ที่ผ่านมา เด็กเรียนไม่เก่ง เด็กมีปัญหา เรามักจะโทษคุณครู และคุณครูมักตกเป็นจำเลยทุกครั้งเมื่อเราพูดถึงการปฏิรูปการศึกษา ผู้คนมักคาดหวังอยากให้ครูมีคุณภาพ แต่เราไม่ได้ฟังเสียงของครูเลย ไม่ได้มองเห็นว่าแท้จริงแล้วที่ครูต้องประสบชะตากรรมอยู่ขณะนี้ ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่ก็เกิดจากผลพวงของระบบเชิงโครงสร้างที่ทำให้ครูต้องทิ้งเด็กไว้ในห้องเรียน ด้วยเพราะเหตุผล “ต้อง” ทำภารกิจอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการสอนหนังสือเลย
ถึงเวลาแล้วค่ะ ที่การ “คืนครูสู่ห้องเรียน” ต้องเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา !!
ที่มา :
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000141970
|
Advertisement
เปิดอ่าน 8,353 ครั้ง เปิดอ่าน 8,219 ครั้ง เปิดอ่าน 14,477 ครั้ง เปิดอ่าน 13,079 ครั้ง เปิดอ่าน 13,674 ครั้ง เปิดอ่าน 11,174 ครั้ง เปิดอ่าน 10,127 ครั้ง เปิดอ่าน 17,624 ครั้ง เปิดอ่าน 9,701 ครั้ง เปิดอ่าน 16,485 ครั้ง เปิดอ่าน 12,331 ครั้ง เปิดอ่าน 8,263 ครั้ง เปิดอ่าน 7,580 ครั้ง เปิดอ่าน 10,600 ครั้ง เปิดอ่าน 56,064 ครั้ง เปิดอ่าน 9,987 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 4,474 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,223 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,951 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,642 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,699 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,763 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 44,668 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 37,386 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,839 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,692 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,512 ครั้ง |
เปิดอ่าน 38,428 ครั้ง |
|
|