Advertisement
ข้อพึงระวังของผู้บังคับบัญชาในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง
สวัสดีค่ะ เพื่อนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน วันนี้ดิฉันขอนำเสนอเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนเริ่มต้นของกระบวนการสอบสวนทางวินัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จะมีผลทางกฎหมายตามมาอีกมากมาย ดิฉันจึงอยากนำเรื่องนี้มาพูดคุยกันเพื่อเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของผู้ที่เกี่ยวข้องค่ะ
เมื่อกรณีมีมูลว่าข้าราชากรครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง กฎหมายกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจตามมาตร 53 ของผู้ถูกกล่าวหา เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ต้องดำเนินการตามนัยข้อ 3 ของกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ.2550 กล่าวคือ คณะกรรมการสอบสวนต้องประกอบด้วย ข้าราชการรูและบุคลากรทางการศึกษา หรือข้าราชการพลเรือนอย่างน้อยสามคน
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีวิทยฐานะ ประธานกรรมการสอบสวนต้องดำรงตำแหน่งและมีวิทยฐานะเทียบได้ไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา และแม้ภายหลังประธานกรรมการจะดำรงตำแหน่งหรือมีวิทยฐานะต่ำกว่าหรือเทียบได้ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา ก็ไม่กระทบถึงการได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ และกรรมการคนใดคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1) เป็นผู้ได้รับปริญญาทางกฎหมาย
2) เป็นนิติกร
3) เป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมการดำเนินการทางวินัย หรือ
4) เป็นผู้มีประสบการณ์ในการสอบสวน
หากคณะกรรมการสอบสวนมิได้มีองค์ประกอบและคุณสมบัติดังกล่าว ถือว่าการสอบสวนทั้งหมดเสียไปตามข้อ 43 ของกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ.2550 แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิ์ที่ผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการใหม่ให้ชอบด้วยกฎหมายต่อไป
อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นกรณีการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ.2549 กรณีนี้ผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการทางวินัยโดยไม่สอบสวนก็ได้
นอกจากนี้ ในการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงมีข้อพึงระวังอีกประการหนึ่ง คือ แม้กฎหมายจะมิได้ห้ามตั้งกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงมาเป็นคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีเดียวกันนั้นก็ตาม หากแต่ปัจจุบันมีแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.600/2554 ไว้ชัดเจน สรุปว่า การตั้งกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงสองในสามคนมาเป็นกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง โดยเป็นประธานกรรมการสอบสวนคนหนึ่งและอีกคนเป็นกรรมการสอบสวนและเลขานุการอีก ย่อมเป็นเหตุให้มีสภาพร้ายแรงทำให้เกิดความไม่เป็นกลางตามนัยมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 ผลการสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฏหมาย ทำให้คำสั่งลงโทษไม่ชอบด้วยกฏหมายไปด้วย จึงพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาเมื่อจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้่ายแรง จึงพึงระมัดระวังและหลีกเลี่ยงเพื่อมิให้เกิดการยกขึ้นกล่าวอ้างและฟ้องร้องคดีดังกล่าว
ท้ายสุดนี้ ดิฉันหวังว่าเรื่องที่นำเสนอในวันนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่เป็นผู้บังคับบัญชาในอันที่จะได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฏหมายนะคะ แล้วพบกันใหม่วันจันทร์หน้าค่ะ
ศิริพร กิจเกี้อกูล
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา มติชน วันที่ 5 มกราคม 2558
Advertisement
เปิดอ่าน 7,233 ครั้ง เปิดอ่าน 22,138 ครั้ง เปิดอ่าน 22,521 ครั้ง เปิดอ่าน 10,808 ครั้ง เปิดอ่าน 14,435 ครั้ง เปิดอ่าน 5,729 ครั้ง เปิดอ่าน 17,151 ครั้ง เปิดอ่าน 36,049 ครั้ง เปิดอ่าน 12,962 ครั้ง เปิดอ่าน 5,976 ครั้ง เปิดอ่าน 10,775 ครั้ง เปิดอ่าน 4,198 ครั้ง เปิดอ่าน 9,956 ครั้ง เปิดอ่าน 37,874 ครั้ง เปิดอ่าน 8,227 ครั้ง เปิดอ่าน 15,602 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 26,497 ☕ 24 ต.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 430 ☕ 22 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 371 ☕ 22 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 542 ☕ 19 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 712 ☕ 15 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 819 ☕ 15 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 3,448 ☕ 13 พ.ย. 2567 |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 23,854 ครั้ง |
เปิดอ่าน 53,718 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,527 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,673 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,428 ครั้ง |
|
|