ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ความรู้เกี่ยวกับพิธี ไหว้บรรพบุรุษ..วันเชงเม้ง


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,478 ครั้ง
ความรู้เกี่ยวกับพิธี ไหว้บรรพบุรุษ..วันเชงเม้ง

Advertisement

พิธี ไหว้บรรพบุรุษ ช่วงเชงเม้ง ตังโจ่ย ฉบับสมบูรณ์

สุสานฮูลิน ไหว้เชงเม้ง

ชิงหมิง ( qing-ming ) หรือ เชงเม้ง เช็งเม้ง
เป็นชื่อของสารท ( 1 ปีมี 24 สารท )
"เช็ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง" หมายถึง สว่าง
รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์

สารท เช็งเม้ง หรือ เชงเม้ง เริ่มต้นประมาณ 5 เมษา - 20 เมษา
เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น ( ของประเทศจีน )
มีฝนตกปรอย ๆ
มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง ( เป็นที่มาของชื่อ สารท เช็งเม้ง )

เทศกาลเชงเม้ง

ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษ ที่ สุสาน
( ฮวงซุ้ย หรือ
ฮวงจุ้ย )
เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อ
ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ ประเพณีนี้สืบทอดมายาวนานเป็นพันปี
โดยขุนนาง สมัยราชวงศ์โจว โจวกงจีตั้น เป็นผู้กำหนด พิธีการจัดงานศพ

ในสมัยราชวงศ์ัถัง ( ประมาณ ค.ศ. 618 ) พระราชพิธีเซ่นไปไหว้สุสานอดีตกษัตริยาธิราช
มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ปีหนึ่งกระทำกันปีละ 2 ครั้ง คือช่วงเช็งเม้ง และประมาณปลายปี
( คาดว่า น่าจะเป็นช่วงตังโจ่ย )

สุสาน ฮวงจุ้ย
สุสาน ( ฮวงจุ้ย / ฮวงซุ้ย ) ที่ มูลนิธิ สุสาน ฮูลิน สระบุรี

ประโยชน์ของการไป ไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลเชงเม้ง

  1. เพื่อรำลึกถึงคุณความดี ที่บรรพบุรุษของเราได้กระทำไว้ ได้ดูแลเรา
    ลำบากเพื่ื่อเราให้มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต
    "เราสบาย เพราะพ่อแม่ บรรพบุรุษลำบาก"

  2. เป็นศูนย์รวมตระกูล ผังตระกูล
    โดยทั่วไป การไหว้ที่ดีที่สุด ต้องนัดหมายไปไหว้พร้อมกัน ( วันและเวลาเดียวกัน )
    ทำให้ลูกหลานที่อยู่กระจายกันไป ได้มาพบปะ สังสรรค์กันพร้อมหน้า
    เป็นการสร้างความสามัคคี สร้างจุดศูนย์รวม กล่าวได้ว่าเป็น วันรวมญาติ

  3. เป็นกรอบถนนชีวิตของลูกหลานทุกคน "พ่อแม่ตายแล้ว ยังกำหนดชะตาชีวิตลูกหลาน"
    เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต เน้นความกตัญญูที่มีต่อบุพการีและลูกหลานควรปฏิบัติตาม

  4. เป็นการเตือนสติตน ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน

ประเพณีปฏิบัติในวัน เช็งเม้ง

  1. การทำความสะอาด สุสาน ( เซ้าหมอ )
    ลงสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่ - คนตายแล้วลงสีเขียว หรือสีทองขลิบเขียว คนเป็นลงสีแดง
    ( ห้ามถอนหญ้า - อาจกระทบตำแหน่งห้าม
    เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ทิศดาวเบญจภูติ )

    บ้างก็ตกแต่งด้วย กระดาษม้วนสายรุ้ง
    ( สุสานคนเป็น - แซกี - ใช้สายรุ้งสีแดง :: สุสานคนตาย - ฮกกี - ใช้หลากสีได้ )
    ห้ามปักธง ลงบนหลังเต่า เท่ากับทิ่มแทงหลุม
    และบางความเชื่อ ทำให้หลังคาบ้านของบรรพบุรุษรั่ว

  2. กราบไหว้ เจ้าที่ เป็นการให้เกียรติ และขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองดูแล

    การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย )

    1. เทียน 1 คู่ + ธูป 5 ดอก ( อาจปักลงบนฟักได้ )
    2. ชา 5 ถ้วย
    3. เหล้า 5 ถ้วย
    4. ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้
      *** ควรงดเนื้อหมู - เพราะเคยมีปรากฎว่า เจ้าที่เป็นอิสลาม ***
    5. กระดาษเงิน กระดาษทอง

    กราบไหว้ ระลึกถึงพระคุณ ของพ่อแม่ บรรพบุรษ
    ตั้งเครื่องบูชาเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของท่าน

    การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย - จะต่างกับข้างต้น )

    1. ชา 3 ถ้วย
    2. เหล้า 3 ถ้วย
    3. ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้
      * ของไหว้ ตามความเชื่อประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็น ขนมถ้วยฟู - ฮวกก้วย *
    4. กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ
    5. เทียน 1 คู่ + ธูป ตามจำนวนบรรพบุรุษ ท่านละ 1 ดอก

    หมายเหตุ
    *** ห้ามวางของตรงแท่นหน้า เจีี๊ยะปี ( ป้ายหิน ที่จารึกชื่อ บรรพบุรุษ )
    เพราะเป็นที่เข้าออกของ วิญญาณบรรพบุรุษ ไม่ใช่เก้าอี้นั่ง อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด***

พิธีเช็งเม้ง
ผู้อาวุโส เป็นผู้นำกราบ ไหว้จนเทียนใกล้หมดก้าน

ลูกหลาน
ตีวงล้อมด้วยหวายหรือไม้ เผา กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ
เป็นการกำหนดขอบเขตว่า สิ่งเหล่านี้ลูกหลานส่งให้ บรรพบุรุษของครอบครัว นั้น ๆ เป็นการเฉพาะ ป้องกันการแย่งชิง ( ผู้ตีวงล้อม ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น ) *** เป็นอันเสร็จพิธี

บางครอบครัวก็จะมานั่งล้อมวงทานอาหารกันต่อ เพื่อเป็นการ
แสดงความสมานสามัคคีแก่ บรรพบุรุษ

ความเชื่อและข้อเท็จจริงตาม หลักฮวงจุ้ย

  1. เมื่อทานหอยแครงเสร็จ จะโยนเปลือกหอยแครง ลงบนเนินหลังเต่า
    ( เนินดินด้านหลัง ป้ายสุสานบรรพบุรุษ ) ความหมายคือ มีลูกหลานมาก
    ประเด็นนี้ ไม่ขัดกับหลักวิชา

  2. ทุกครั้งที่มาไหว้ จะขุดเอาดินมากลบบนหลังเต่า โดยเชื่อว่า จะทำให้การค้าเพิ่มพูน
    ข้อเท็จจริง : จะทำก็ต่อเมื่อ หลังเต่ามีรูแหว่งไป จึงซ่อมแซม และต้องดูฤกษ์โดยเฉพาะการขุดดิน ถือเป็นการกระทบธรณี

  3. ปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ
    ข้อเท็จจริง : ห้ามปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ มีความหมายด้าน ชู้สาว แต่ปลูกหญ้าได้

  4. หากต้องการซ่อมแซม สุสานบรรพบุรุษ ทำได้เฉพาะ สารทเช็งเม้ง เท่านั้นข้อเท็จจริง : ไม่จำเป็นต้องเป็น เทศกาลเช็งเม้ง ขึ้นอยู่กับฤกษ์
    หากทำในสารทนี้โดยไม่ดูฤกษ์ กลับจะเกิดโทษภัยจาก อสูร


  5. จุดประทัด เพื่อกำจัดผีร้ายให้พ้นไป
    ข้อเท็จจริง : ตามหลักวิชา การจุดประทัด เป็นการกระตุ้น
    หากตำแหน่งถูกต้อง ก็จะได้ลาภ หากผิดตำแหน่ง จะเกิดปัญหา

    ( ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเรื่อง ดาว 9 ยุค และฤกษ์ เป็นอย่างดี )

  6. บางครอบครัวต้องการประหยัด จัดอาหารไหว้เพียง 1 ชุด ไหว้หลายแห่ง
    ข้อเท็จจริง : ทำเช่นนี้ไม่ถูกต้อง บรรพบุรุษ ชุดแรกสุดเท่านั้นที่ได้รับ

  7. บางคนเชื่อว่า จะไม่เผากระดาษทองให้กับ บรรพบุรุษ
    นอกจากตายมานานแล้ว ถือว่าได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นเทพ
    ข้อเท็จจริง : ตามประเพณีโดยทั่วไปไม่มี

  8. การไว้ทุกข์พ่อแม่ ต้องนาน 3 ปี
    ข้อเท็จจริง : ประเพณีบางท้องถิ่น กำหนดเช่นนั้นจริง
    โดยเน้นเรื่องความกตัญญูเป็นหลัก


  9. การไป ไหว้บรรพบรุษ ครั้งแรก ต้องดูฤกษ์
    ข้อเท็จจริง : เป็นเรื่องถูกต้องตามหลักวิชา ฮวงจุ้ย
    โดยปกติแล้ว ซินแส จะเป็นผู้กำหนดฤกษ์ให้
    หากทิศด้านหลัง สุสาน เป็นทิศห้าม ทิศอสูร ทิศแตกสลาย
    *** ต้องใช้ฤกษ์ปลอดภัยเท่านั้น
    ***
    และไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นช่วง เช็งเม้ง เท่านั้น
    ปีต่อ ๆ ไป ไม่ต้องมีการ ดูฤกษ์ อีก

 

เทศกาลในการไหว้บรรพบุรุษ

สารท ราศีเดือน ห้ามทิศ
( ชง ปะทะ )
ห้ามทิศด้านหลัง
สุสาน
ชุนฮุน
( 21 มีนา - 4 เมษ )
/4 /10
( 270 +/- 15 องศา )
ทิศตะวันตก
เช็งเม้ง
( 5 เมษ - 20 เมษ )
/5 /11
( 300 +/- 15 )
ทิศใต้
ตังโจ่ย
( 22 ธค. - 5 มค. )
/1 /7
( 180 +/- 15 )
ทิศใต้


การไหว้ไม่ได้จำกัดว่า จะต้องไหว้ใน เทศกาลเช็งเม้ง เท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน จะพบว่า คนกลุ่มหนึ่งจะไปไหว้ก่อนถึง เทศกาลเช็งเม้ง เพื่อหลีกหนีปัญหาการจราจร

และเราสามารถเลือกไปไหว้ในช่วง ตังโจ่ย แทน
( โดยเฉพาะหากด้านหลัง สุสาน เป็นทิศตะวันตก )
อากาศเย็นสบายกว่า ปัญหาจราจรน้อย ของไหว้ราคาไม่แพง คนไม่พลุกพล่าน


ขอให้สมาชิกทุกท่าน เดินทางไปประกอบพิธีโดยสวัสดิภาพ

เช็งเม้ง

ขอบคุณที่มาข้อมูลความรู้ประเพณีชาวจีน           

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1712 วันที่ 27 มี.ค. 2552


ความรู้เกี่ยวกับพิธี ไหว้บรรพบุรุษ..วันเชงเม้ง ความรู้เกี่ยวกับพิธีไหว้บรรพบุรุษ..วันเชงเม้ง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ตำนานซื้อผี...จาวล้านนา

ตำนานซื้อผี...จาวล้านนา


เปิดอ่าน 6,461 ครั้ง
ตำนานหัวล้านไทย...

ตำนานหัวล้านไทย...


เปิดอ่าน 6,943 ครั้ง
ทะเลใจ.....ตอน ชุมนุมปะการัง

ทะเลใจ.....ตอน ชุมนุมปะการัง


เปิดอ่าน 6,406 ครั้ง
ดูแล....แผลถอนฟัน

ดูแล....แผลถอนฟัน


เปิดอ่าน 6,404 ครั้ง
แบบทดสอบทำนายวัยทีน

แบบทดสอบทำนายวัยทีน


เปิดอ่าน 6,403 ครั้ง
อย่าทำอะไรตอนอารมณ์ไม่ดี

อย่าทำอะไรตอนอารมณ์ไม่ดี


เปิดอ่าน 6,406 ครั้ง
อ่านนิทาน...แล้วจะเลือกใคร

อ่านนิทาน...แล้วจะเลือกใคร


เปิดอ่าน 6,398 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ช๊อค!!..โรคใหม่มาแรงกว่าไข้หวัด2009 ..ทั่วโลกยังไม่มียารักษาได้!!!

ช๊อค!!..โรคใหม่มาแรงกว่าไข้หวัด2009 ..ทั่วโลกยังไม่มียารักษาได้!!!

เปิดอ่าน 6,420 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
เปิดอ่าน 6,565 ☕ คลิกอ่านเลย

ผิวงาม..ตามด้วยสุขภาพจากกล้วยน้ำว้า
ผิวงาม..ตามด้วยสุขภาพจากกล้วยน้ำว้า
เปิดอ่าน 6,408 ☕ คลิกอ่านเลย

คลิป!!! ...ตามรอย"พญานาค"ลุ่มน้ำโขง
คลิป!!! ...ตามรอย"พญานาค"ลุ่มน้ำโขง
เปิดอ่าน 6,439 ☕ คลิกอ่านเลย

   วิสาขมาส  พุทธศาสน์ร่วมใจ  เพ็ญเดือน ๖  ฟ้าใส  เชิญชาวไทยทำบุญ
วิสาขมาส พุทธศาสน์ร่วมใจ เพ็ญเดือน ๖ ฟ้าใส เชิญชาวไทยทำบุญ
เปิดอ่าน 6,426 ☕ คลิกอ่านเลย

น่าอ่าน............งานวิจัย เรื่อง ? การบริหารงานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา
น่าอ่าน............งานวิจัย เรื่อง ? การบริหารงานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา
เปิดอ่าน 6,397 ☕ คลิกอ่านเลย

...pedant...
...pedant...
เปิดอ่าน 6,421 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีรับมือกับแก๊สน้ำตา และสารเคมี
วิธีรับมือกับแก๊สน้ำตา และสารเคมี
เปิดอ่าน 22,905 ครั้ง

น้ำขิงมะนาว สูตรนี้ได้คุณค่าจากสมุนไพรคูณสอง !
น้ำขิงมะนาว สูตรนี้ได้คุณค่าจากสมุนไพรคูณสอง !
เปิดอ่าน 17,905 ครั้ง

กินไข่สุก ๆ ดิบ ๆ มีโทษ
กินไข่สุก ๆ ดิบ ๆ มีโทษ
เปิดอ่าน 43,054 ครั้ง

แนวปฏิบัติการเสนอหนังสือราชการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนวปฏิบัติการเสนอหนังสือราชการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เปิดอ่าน 15,598 ครั้ง

ความรู้พื้นฐานที่นักถ่ายรูปทุกคนควรทราบ
ความรู้พื้นฐานที่นักถ่ายรูปทุกคนควรทราบ
เปิดอ่าน 38,929 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ