บทคัดย่อ
รายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมดนตรีไทย ปีการศึกษา 2551 เป็น โครงการต่อเนื่องที่ผู้ประเมินได้จัดขึ้นในโรงเรียนชุมชนบ้านคลองลานตั้งแต่ปีการศึกษา 2548
ผลการดำเนินการมีความผันแปรตามปัจจัยที่นำมาใช้ในโครงการเช่นเครื่องดนตรีมีไม่เพียงพอ ช่วงเวลาที่ดำเนินโครงการไม่เหมาะสม โรงเรียนโดยผู้ดำเนินโครงการมีภาระงานเร่งด่วนที่ต้องจัดทำ นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการมีภาระงานที่ต้องดำเนินการ ทำให้กระบวนการดำเนินโครงการคราดเคลื่อนส่งผลต่อผลผลิตที่ได้รับจากการดำเนินโครงการไม่ตรงตามเป้าประสงค์ของโครงการเช่น ด้านความรู้ความสามารถของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้ปกครองผู้เกี่ยวข้องไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการเท่าที่ควร ผู้รายงานในฐานะเป็นผู้ดำเนินโครงการจึงได้ใช้รูปแบบการ ประเมินแบบ CIPP Model มาใช้ในการประเมินผลการดำเนินโครงการใน 4 ด้านคือ ด้าน สภาพแวดล้อมหรือบริบทของโครงการ (Context : C) ด้านปัจจัยที่นำมาใช้ในโครงการ (Input : I) ด้านกระบวนการดำเนินการโครงการ(Process : P) ด้านผลผลิตที่ได้รับเมื่อสิ้นสุดโครงการ คือความรู้ความสามารถของนักเรียนความ พึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในโครงการผู้ปกครองตลอดจนผู้ปกครองและประชาชนโดยทั่วไปที่คาดหวังต่อโครงการส่งเสริมดนตรีไทยโดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 142 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสำรวจรายการ (Checklist) แบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผู้ประเมินเมินได้สร้างขึ้น และผ่านการพัฒนาเครื่องมือจากการประชุมเชิงประจักษ์ (Face Validity) ของคณะกรรมการประเมินและตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้อง(Item of objective – Congruency : IOC) ของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน สถิติที่ใช้ คือค่าร้อยละ (Percentage) ค่าตัวกลางเลขคณิต (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า สภาพแวดล้อมหรือบริบทของมีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.10 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.76 ปัจจัยที่นำมาใช้ในการดำเนิน โครงการมีความพร้อมเพียงพอในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.22 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.84 ด้านกระบวนดำเนินโครงการมีค่าความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.21 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75 ด้านผลผลิตของโครงการนักเรียนมีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับวัยในเรื่องความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับดนตรีไทย มีทักษะในการบรรเลง การบำรุงรักษาเครื่องดนตรีไทย และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในเรื่องการเสริมสร้างบุคลิกภาพ สมาธิ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความสามัคคี มีระเบียบวินัย การรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของนักเรียน ทำให้โรงเรียนมีวงดนตรีไทยร่วมบรรเลงในกิจกรรมของโรงเรียน นักเรียนร่วมสืบสานมรดกวัฒนธรรมด้านดนตรีไทยและเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน อยู่ในระดับมากทุกรายการ มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.11 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.98
จึงสรุปได้ว่าโครงการส่งเสริมดนตรีไทยในโรงเรียนประสบผลสำเร็จอยู่ในระดับมากสมควรดำเนินการและพัฒนาต่อไป