"เราอาจต้องมาเริ่มต้นด้วยการคิดว่า ประเทศของเรา สังคมของเราในศตวรรษที่ 21 นั้น ควรจะมีหน้าตา อย่างไร เมื่อคิดตรงนี้ได้แล้วก็คง จะต้องมองต่อไปว่า แล้วคนที่เราต้องการที่เหมาะกับบริบทของการ เปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตมากอย่างนั้น เราต้องการคนประเภทใด ด้วยเหตุนี้ทางสถาบันการศึกษาต่างๆ ต้องเอาโจทย์นั้นไปคิดว่าเมื่อสังคมต้องการอย่างนี้ ต้องการคนประเภทนี้ บัณฑิตที่เราผลิตออกไปควรมีหน้าตาอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมีลักษณะพึงประสงค์อย่างไร ตรงนี้ก็อาจมีเอกลักษณ์ แตกต่างกันไปซึ่งไม่เหมือนกัน แต่คงจะมีจุดรวมที่คล้ายกัน เช่น เราบอกว่าลักษณะที่พึงประสงค์นั้นต้องเป็นคนเก่ง คนดี มีความใฝ่รู้หาความรู้ ตลอดชีวิต ก็ต้องนั่งคิดต่อไปว่าคำว่า คนเก่งนั้นต้องเก่งอย่างไรบ้าง เช่น จะต้องคิดเป็น เวลาเราไปอ่านไปได้ยิน อะไรมาก็ต้องอย่าเพิ่งเชื่อ ต้องใช้ วิจารณญาณในการกลั่นกรองว่าอะไรผิด อะไรถูก อะไรน่าจะเป็นข้อเท็จจริงมากกว่ากันแค่ไหน"
ศาสตราจารย์ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย, อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ, อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาฯ สภากาชาดไทย ที่ปรึกษาโครงการวิจัยและการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค องค์การอนามัยโลก
จากแนวคิดของ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล คือการตอกย้ำให้เด่นชัดว่า แวดวงการศึกษาไทยเท่าที่ผ่านมา แม้จะมีการปฏิรูปกันมาหลายครั้ง แต่ก็ยังขาดความสมบูรณ์ และเมื่อโลกกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 21 ที่กำลังเกิดขึ้นก็ยิ่งดูเหมือนว่า คนไทยจะต้องตระหนักถึง ความเปลี่ยนแปลงนี้ให้มากที่สุด เพราะเท่าที่ผ่านมา การศึกษาไทยของเรายังขาดการปูพื้นฐานเพื่อรองรับการ เปลี่ยนแปลงนี้อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ ในเรื่องของการเรียนเพื่อคิด
ข้อบกพร่องของคนส่วนใหญ่ สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในเวลานี้คือ การไม่มีสติในการคิด ในการตริตรอง ได้ยินได้รับรู้อะไรมาก็จะเกิดความเชื่อไปตาม
ศาสตราจารย์ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุลทิศทางนั้นๆ ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดกลายเป็นปัญหาของสังคมทั้งโดยทางตรง และทางอ้อม ยิ่งโดยเฉพาะสังคมโลก ทุกวันนี้ เรื่องของสารสนเทศก้าวหน้าออกไปมาก การเผยแพร่ข่าวสารถึงกัน และกันได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการที่การสื่อสาร สามารถเข้าถึงกันได้อย่างรวดเร็วนี้ ย่อม เป็นโทษสำหรับสังคมที่ยังมีความขัดแย้ง กันอยู่ และเราก็ต้องยอมรับว่า สังคมไทย เวลานี้ ยังไม่หลุดจากวงจรของความ ขัดแย้งในสังคม
ความหวังของคนไทย สังคมไทย จึงต้องสร้างคุณภาพของคนให้ รู้คิด รู้ฟัง และรู้เท่าทันความจริงด้วยการบ่มเพาะในด้านการศึกษา ที่ควรจะต้องเริ่มตั้งแต่ระดับล่างสุดไปจนถึงระดับบนสุด
หน้าที่ของกระทรวงศึกษาฯ จึง น่าจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในยุคที่ เรากำลังจะต้องก้าวข้ามสู่ทศวรรษที่ 21 ทศวรรษแห่งการกระจายข่าวสารที่รวดเร็ว
แต่ความสำเร็จในการก้าวข้ามแรงกระเพื่อมของวิกฤติในสังคมได้ หรือไม่นั้น ดูจะริบหรี่เต็มที เพราะในสังคม การศึกษาเองยังดิ้นไม่หลุดในปัญหาของตัวเองที่ก่อตัวและผูกรัดมานานนับเป็นสิบๆ ปีแล้วเหมือนกัน
ชนิตร ภู่กาญจน์
ที่มา แนวหน้า