Advertisement
คอลัมน์ Education Ideas
โดย ดร.สาธิต พุทธชัยยงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ปัจจุบัน หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการค่อนข้างมีอิสระและขาดการเชื่อมโยงข้อมูลอย่าง เป็นระบบ ดังจะเห็นว่าสัดส่วนนักศึกษามัธยมปลาย:อาชีวศึกษาไม่สอดคล้องกับแผน ยุทธศาสตร์ชาติ ในขณะที่แรงงานฝีมือระดับ ปวส.ลดลง นักศึกษามุ่งเน้นศึกษาต่อให้ได้ปริญญาตรีเป็นหลัก
2.1.ความร่วมมือของภาคผู้ประกอบการมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านกำลังคนโดยตรง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับสถานศึกษาอย่างใกล้ชิดในการจัดการเรียน การสอน สนับสนุนการฝึกงานหรือสหกิจศึกษาอย่างจริงจังและเป็นระบบ
กำหนดค่าตอบแทนแรงงานฝีมือตามสมรรถนะมากกว่าการกำหนดตามวุฒิการศึกษา และลดช่องว่างเงินเดือนระหว่างช่างเทคนิคกับระดับปริญญาตรีให้แคบลง ทั้งนี้ เพื่อจูงใจให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช.และ ปวส.เข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น
2.2.ส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงทางสังคมที่ไม่อาจปฏิเสธได้ คือนักศึกษาที่จบการศึกษาระดับ ปวช.และ ปวส.เมื่อเข้าสู่การทำงานส่วนใหญ่มุ่งหวังศึกษาต่อให้ได้ระดับปริญญาตรี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการศึกษาต่อเนื่อง ควรส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อเนื่องในสายวิชาชีพเดิม
หากกฎเกณฑ์ไม่เอื้ออำนวยและมีความยากในการศึกษาต่อสายเดิม ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเส้นทางไปเรียนต่อในสาขาที่ไม่สอดคล้องกับภาคเศรษฐกิจ ดังปรากฏในข้อมูลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น สกอ.และมหาวิทยาลัยด้านวิชาชีพจะต้องหาทางออกในเรื่องนี้ร่วมกันอย่างจริง จังที่สามารถปฏิบัติได้ และสอดคล้องกับภาคเศรษฐกิจทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
3.พัฒนาสมรรถนะ กำลังคน ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันหรือมหาวิทยาลัยจะได้รับประกาศนียบัตรหรือปริญญา บัตรรับรองคุณวุฒิที่จบการศึกษามา แต่การทำงานจริงวุฒิการศึกษามิใช่เป็นตัวชี้วัดว่ามีสมรรถนะในระดับใด ดังนั้น กำลังคนเมื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีสมรรถนะการทำงานสูงขึ้นทั้งในภาคการผลิตและบริการ
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญเรื่องสมรรถนะ เป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีผลบังคับใช้ หนึ่งในสาระสำคัญคือการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ประเทศไทยต้องมีความพร้อมที่จะให้กำลังคนใน 7 สาขาวิชาชีพที่มีความตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangement) สามารถประกอบอาชีพในประเทศนั้น ๆ ได้ตามกฎระเบียบและคุณสมบัติที่กำหนด
บทสรุปของรายงาน "ระบบการศึกษากับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศไทย" เป็นสิ่งที่ผมอยากจะย้ำเตือนทุกภาคส่วนของประเทศว่าผลของปัญหาทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในวันนี้เปรียบเสมือนยอดของภูเขาน้ำแข็งที่เราเห็นโผล่พ้นน้ำขึ้นมาเท่านั้น
แต่ยังคงมีส่วนสำคัญคือก้อนภูเขาไฟทั้งลูกที่อยู่ใต้น้ำและรอคอยการปะทุ ซึ่งทุกปัญหาเกี่ยวพันกันเป็นลูกโซ่ และจะเป็นความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศไม่เพียงแต่ด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จะเป็นปัญหาเรื่องความมั่นคงของประเทศไทยในทุกมิติ หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและเป็นระบบ
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 02 ธ.ค. 2557
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ระบบการศึกษาที่ไม่สมดุล (1)
ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 41,414 ครั้ง เปิดอ่าน 8,847 ครั้ง เปิดอ่าน 10,433 ครั้ง เปิดอ่าน 14,267 ครั้ง เปิดอ่าน 32,225 ครั้ง เปิดอ่าน 15,263 ครั้ง เปิดอ่าน 56,138 ครั้ง เปิดอ่าน 10,409 ครั้ง เปิดอ่าน 27,439 ครั้ง เปิดอ่าน 12,240 ครั้ง เปิดอ่าน 75,140 ครั้ง เปิดอ่าน 428,572 ครั้ง เปิดอ่าน 8,580 ครั้ง เปิดอ่าน 10,287 ครั้ง เปิดอ่าน 22,583 ครั้ง เปิดอ่าน 12,280 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 8,855 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,565 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,594 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 30,421 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,655 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,856 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,241 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 22,954 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,334 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,449 ครั้ง |
เปิดอ่าน 172,038 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,434 ครั้ง |
|
|