Advertisement
เมื่อ 10 ปีก่อน ในเดือนตุลาคม 2004 ทีมสำรวจวิจัยอินโดนีเซีย-ออสเตรเลีย นำโดยศาสตราจารย์ ราเดน โซโจโน และ ดร.ไมค์ มอร์วูด เดินทางไปสำรวจทางโบราณคดีที่ถ้ำแห่งหนึ่ง บนเกาะฟลอเรส ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีร่องรอยการใช้ชีวิตอยู่ของมนุษย์ยุคโบราณเมื่อ 10,000 ปีที่แล้ว แต่เมื่อตัดสินใจขุดลึกลงไปจากหลุมสำรวจเดิม ทีมสำรวจดังกล่าวกับพบซากโครงกระดูกปริศนา อายุเก่าแก่กว่าร่องรอยเดิมมาก
ศาสตราจารย์ ริชาร์ด โรเบิร์ตส์ หนึ่งในนักวิชาการที่อยู่ในทีมศึกษาวิจัยดังกล่าวกล่าวอ้างในเวลาต่อมาว่า สิ่งที่พวกเขาพบคือหลักฐานที่พลิกโฉมหน้าทฤษฎีว่าด้วยวิวัฒนาการของมนุษย์ไปโดยสิ้นเชิง
การขุดค้นในถ้ำ "เลียง บูอา" บนเกาะฟลอเรส นั้นเดิมทีไม่ได้มีเจตนาค้นหามนุษย์สปีชีส์ใหม่ แต่ต้องการค้นหารากเหง้าของชนเผ่าอะบอริจินส์ในออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม เมื่อทีมขุดลึกลงไปจากพื้นผิวถ้ำราว 6 เมตร ก็พบกับกระโหลกศีรษะประหลาดที่มีขนาดเท่ากับขนาดของกระโหลกศีรษะเด็ก เมื่อขยายการขุดค้นต่อไป ก็พบชิ้นส่วนของโครงกระดูกอีกหลายชิ้น ที่แสดงให้เห็นถึงซากโครงกระดูกของมนุษย์ขนาดเล็กผิดไปจากที่เคยค้นพบกันมา
เมื่อตรวจสอบวิเคราะห์พบว่า โครงกระดูกดังกล่าวอายุเก่าแก่ราว 20,000 ปี เป็นของมนุษย์เพศหญิง สูงเพียงแค่ 1 เมตร สมองของหล่อนมีขนาดเท่ากับสมองของลิงชิมแปนซี แต่มีหลักฐานบ่งชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ในกลุ่มนี้ใช้เครื่องมือหินเป็น
ทีมสำรวจวิจัยศึกษาแล้วเชื่อว่า นี่คือมนุษย์สายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิม พวกเขาตั้งชื่อสายพันธุ์นี้ไว้ว่า โฮโม ฟลอเรเซียนซิส และด้วยขนาดที่เล็กมากจนคล้ายคลึงกับมนุษย์ในจินตนาการ ทำให้หลายคนเลือกที่จะเรียกอย่างง่ายว่า "มนุษย์ฮ็อบบิท"
ศาสตราจารย์โรเบิร์ตส์ชี้ว่า เมื่อเป็นมนุษย์สปีชีส์ใหม่ ก็แสดงให้เห็นว่าทฤษฎีที่เชื่อถือกันมานานว่าด้วยสายธารวิวัฒนาการของมนุษย์ หรือลีเนียร์ โมเดล ที่บอกว่ามนุษย์วิวัฒนาการจากสัตว์ในกลุ่มลิงใหญ่ (เอพ) ที่ใช้ข้อนิ้วยันพื้น เพื่อการทรงตัวระหว่างการเดิน จนค่อยๆ ยืนสองขาและวิวัฒน์มาเป็นมนุษย์ในปัจจุบันคงใช้การไม่ได้แล้ว
เพราะ "มนุษย์ฮ็อบบิท" แสดงให้เห็นว่า มีมนุษย์หลายสายพันธุ์เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในห้วงเวลาเดียวกัน เพียงแต่แตกต่างสถานที่กันเท่านั้นเอง
ข้อเท็จจริงที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่าก็คือ แม้เวลาจะล่วงเลยมาถึง 10 ปี หลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องมนุษย์ฮ็อบบิทนี้ยังมีน้อยมาก อาทิ ทำไมมนุษย์ฮ็อบบิทถึงได้มาอยู่บนเกาะฟลอเรส ทั้งๆ ที่ดูจากสภาพภูมิศาสตร์แล้ว หมู่เกาะที่ทอดตัวเป็นแนวยาวนี้ ไม่น่าจะมีส่วนใดส่วนหนึ่งติดต่อหรือเคยติดต่อกับแผ่นดินใหญ่เอเชียแต่อย่างใด? หรือคนพวกนี้มีความสามารถในการต่อเรือและแล่นเรือ? ทำไมถึงพบกระโหลกเพียงแค่กระโหลกเดียวที่เหลือพลัดหลงไปอยู่ที่ไหน?
นักบรรพชีวินวิทยาส่วนหนึ่งเชื่อว่า มนุษย์ฮ็อบบิท น่าจะวิวัฒนาการมาจากมนุษย์ยุคแรกที่เรียกกันว่า โฮโม อีเรคตัส ซึ่งเดินทางถึงเกาะแห่งนี้เมื่อราว 1 ล้านปีก่อน แต่สภาพแวดล้อมบนเกาะที่อาหารน้อย ค่อยๆ ทำให้มนุษย์กลุ่มนี้วิวัฒนาการเล็กลงเพื่ออยู่รอดในสภาพทรัพยากรจำกัดได้
บางกลุ่มเชื่อว่า ต้นกำเนิดมาจากกลุ่มมนุษย์ที่เหมือนลิงใหญ่ ซึ่งเดินทางออกจากทวีปแอฟริกาเมื่อ 2 ล้านปีก่อน กลุ่มที่ไม่เชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ชี้ว่า นี่น่าจะเป็นซากโครงกระดูกของมนุษย์ยุคใหม่ (โฮโม ซาเปียน) นี่แหละ เพียงแต่เจ็บป่วยอย่างหนักเท่านั้นทำให้ขนาดเล็กลงแค่นั้น
เรื่องราวของ "มนุษย์ฮ็อบบิท" จึงยังมีอะไรๆ ให้สำรวจศึกษาและค้นหาอีกมากนัก นอกเหนือจากนั้น ศาสตราจารย์โรเบิร์ตส์ยังระบุด้วยว่า ถ้าเป็นสปีชีส์ใหม่จริงๆ
ก็อาจหมายถึงยังมีมนุษย์อีกหลายสปีชีส์ที่รอคอยการค้นพบอยู่ในอนาคต
--------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณที่มา มติชนรายวัน
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ปีที่ 37 ฉบับที่ 13380
Advertisement
เปิดอ่าน 16,361 ครั้ง เปิดอ่าน 18,319 ครั้ง เปิดอ่าน 25,126 ครั้ง เปิดอ่าน 19,082 ครั้ง เปิดอ่าน 9,435 ครั้ง เปิดอ่าน 15,104 ครั้ง เปิดอ่าน 12,597 ครั้ง เปิดอ่าน 31,668 ครั้ง เปิดอ่าน 31,949 ครั้ง เปิดอ่าน 22,205 ครั้ง เปิดอ่าน 142,378 ครั้ง เปิดอ่าน 3,842 ครั้ง เปิดอ่าน 29,340 ครั้ง เปิดอ่าน 4,238 ครั้ง เปิดอ่าน 50,012 ครั้ง เปิดอ่าน 23,635 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 24,915 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,836 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 3,998 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 4,493 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 24,730 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,458 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,701 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,178 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,133 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,098 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,661 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,138 ครั้ง |
|
|