เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อหรือคุ้นหูกับเธอคนนี้มาแล้ว หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบแฟชั่นหรือดนตรีแนว PUNKROCK ยิ่งถ้าหากว่าวงดนตรีวงโปรดของคุณคือ SeX PiSTOL หรือสาวกกลุ่มดนตรี J-Rock อย่าง Direngrey (และวงอื่นๆอีกมากมาย) แล้วล่ะก็
น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก "วิเวียน เวสต์วูด"
แต่สำหรับคนไทยเราอาจคุ้นเคยชื่อเธอมากที่สุดจากคอมมิคชื่อดังจากแดนปลาดิบอย่าง NANA ผลงานของ อ.ไอ ยาซาว่า ผู้ซึ่งคลั่งไคล้ในแฟชั่นสไตย์ของวิเวียนสุดๆ ถึงขั้นจับเอาเครื่องแต่งตัวตั้งแต่หัวจรดเท้า รวมไปถึงการเอา Character ของ ซิด นักร้องนำวง SEX PiSTOL ที่สวมใส่เสื้อผ้าแบรนด์ของวิเวียนมาเป็นต้นแบบ เรน พระเอกของเรื่องอีกต่างหาก
ความน่าสนใจของผู้หญิงเก่งคนนี้ไม่ได้มีดีแค่การออกแบบเสื้อเท่านั้น วิเวียน เวสต์วูด ถือว่าเป็นต้นแบบให้กับดีไซน์เนอร์ทั้งหลาย เธอเป็นทั้งศิลปิน เป็นทั้งนักออกแบบที่อยู่คู่ในวงการแฟชั่นมานานกว่า 30 ปี และยังเป็น ICON ของการทำลายความยึดมั่นในสิ่งเก่า
Vivienne Westwood
ICON แห่งวงการ Fashion PUNKROCK
Vivienne Westwood 1970
วิเวียน เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน 1941 ที่กลอสซ็อป ประเทศอังกฤษ เมื่อเธออายุได้ 17 ปี จึงย้ายเข้ามาอยู่ในลอนดอน จากเด็กสาวที่เติบโตมาในชนชั้นกรรมกร กลับกลายเป็นดีไซเนอร์ผู้ทรงอิทธิพลในวงการแฟชั่นโลกอย่างในทุกวันนี้ ครั้งหนึ่งเมื่อเธอเข้าศึกษาวิชาแฟชั่นในวิทยาลัยสอนศิลปะแห่งแฮร์โรว์เพียงภาคการศึกษาแรก วิเวียนลาออกด้วยเหตุผลว่า
"ไม่รู้ว่าเด็กสาวชนชั้นกรรมกรอย่างฉันจะมีปัญญาทำมาหากินอะไรในโลกศิลปะ"
ต่อมาวิเวียนพบรักและแต่งงานกับมัลคอล์ม แมกลาเรน ผู้คลั่งไคล้แฟชั่นและดนตรีร็อก ผู้จัดการวงดนตรีของ SEX PiSTOL ซึ่งเป็นวงดนตรีแนว PUNK ที่ดังที่สุดในยุค 70 ด้วยความที่วิเวียนเป็นคนกล้าที่จะแสดงจุดยืนจากรากฐานชนชั้นของเธอที่ไม่ใช่พวกชนชั้นสูง สิ่งนี้จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจของร้านขายเสื้อผ้าแนว PUNK
เพื่อต้องการจะแสดงออกถึงการต่อต้านสังคมระบบชนชั้นผู้ดี ในยุคแรก ทั้งกระดูกไก่ โซ่ ยางรถยนต์ หมุด อะไรต่อมิอะไรก็ตามถูกนำมามิกซ์ จนสร้างเป็นผลงานการออกแบบเสื้อของเธอ อีกทั้งการแสดงออกไปในเชิงเสียดสีในเรื่องเพศอย่างรุนแรงและชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ลายหน้าอกหญิงสาวบนเสื้อยืดหรือกระดุมรูปสัญญาลักษณ์ของเพศชาย รวมไปถึงการเฉือนเสื้อผ้าให้ขาดวิ่นเห็นเนื้อหนังบริเวณหน้าอก และการนำชุดชั้นในมาใส่ด้านนอก วิเวียนไม่ได้ขายแค่เสื้อผ้าสไตล์ PUNK แต่สิ่งที่เธอพยายามเสนอขายแก่สังคมคือ
[ การกล้าที่จะยืนนอกกรอบ แล้วบอกว่านี่คือสิ่งที่ฉันต้องการ ]
[ 1980 ]
นักแหกกฏแห่งการตัดเย็บชั้นสูงแบบอังกฤษ
การตัดเย็บสไตล์ผู้ดีอังกฤษจะเน้นสัดส่วนที่เท่ากันทั้งสองข้าง แต่สำหรับวิเวียน สูทของเธออาจมีปกข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง แขนข้างหนึ่งยาวกว่าอีกข้างหรืออาจมีแขนข้างเดียว ชายเสื้อสูทไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากัน หรือแขนเสื้อที่มักโค้งมนตรงไหล่ อาจกลายเป็นมีมุมเหลี่ยม แหลมออกมาจนเวลาใส่ต้องพับมุม คอเสื้ออาจกลายเป็นชายกระโปรง ขณะที่ชายเสื้ออาจถูกใส่แทนขอเสื้อ ฯลฯ
[ ทุกอย่างที่ไม่ใช่ขนบแฟชั่นแบบเดิมอาจเกิดขึ้นได้ด้วยจินตนาการของดีไซน์เนอร์คนนี้ ]
บ่อยครั้งที่วิเวียนยังฉีกกรอบประเพณีแฟชั่นอังกฤษ ด้วยการนำเอาผ้า (fabric) ราคาแพงมาทำชุดลำลองไตล์สตรีทแวร์และชุดคลุมอาบน้ำ เช่น ผ้าบราเธียร์สำหรับเครื่องแบบขี่ม้า ผ้าแฮร์ริสทวีดผ้าขนสัตว์ราคาแพง ผ้าขนแกะทอมือ ฯลฯ กลับกันเธอใช้วัสดุที่ดูไร้ราคามาตัดเย็บชุดราตรีหรู เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าเช็ดรถ ฟาง ริบบิ้น ฯลฯ
การฉีกตำราแฟชั่นดั้งเดิมเช่นนี้จะเกิดไม่ได้ถ้าเธอไม่ได้ศึกษาและเข้าใจเทคนิคตัดเย็บ แพทเทิร์น และเส้นใยผ้า เป็นอย่างดี หลังจากศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอังกฤษอย่างจริงจัง วิเวียนเริ่มนำภูมิปัญญาแฟชั่นดั้งเดิมมาใช้ เป็นเสมือน [ กล้องส่องย้อนอดีตแห่งแฟชั่น ]
คอร์เส็ต ชุดชั้นในสาวสังคมชั้นสูงในยุควิกตอเรียที่ใช้รัดให้เอวคอดและมีหน้าอก แต่ถูกยกเลิกไปเพราะถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์การกดขี่ทางเพศ วิเวียนแก้โดยเย็บด้วยผ้ายืดสมัยใหม่เพื่อให้ใส่สบาย และดัดแปลงให้ใส่ได้ทั้งข้างในและข้างนอก พร้อมตั้งชื่อคอลเลกชั่น อย่างประชดประชันแนวคิดเฟมินิสต์ว่า "เทพีเสรีภาพ"
คริโนลีน กระโปรงสุ่มไก่ในชุดราตรี อีกสัญลักษณ์ความสง่าของสาววิกตอเรียน ที่ไม่นิยมพราะขนาดใหญ่เทอะทะและโครงแข็งเปลี่ยนรูปยาก วิเวียนแก้ไขด้วยการตัดให้สั้นทำเป็นชุดลำลอง และใช้กระดูกปลาวาฬเทียมเป็นโครงซึ่งแม้บิดพับก็กลับเข้ารูปได้ เธอยังต่อยอดด้วยการใส่ซับในซ้อนเข้าไปเพิ่มความพลิ้วไหวให้กับสะโพกยามโยกย้าย จนดูคล้าย หางเป็ดน้อย เอกลักษณ์ชุดกระโปรงสั้นของวิเวียนจนทุกวันนี้
"การทำงานของฉันจะเริ่มต้นจากการสังเคราะห์สิ่งต่างๆ ในอดีต"
"ดึงรายละเอียดที่น่าสนใจบางอย่างที่มักถูกมองข้ามมาศึกษาอย่างจริงจัง"
"ในที่สุดก็จะได้ผลงานที่แปลกแหวกแนว"
"เพราะฉันได้สอดแทรกความคิดของฉันเข้าไปจนกลบรายละเอียดเดิม"
วิเวียนยังสนใจการทำเสื้อผ้าเข้ารูป ด้วยเชื่อว่า เสื้อผ้าคือการเปลี่ยนรูปทรงของร่างกาย เธอใช้เทคนิคเพิ่มลดตัดเฉือนเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงทางสรีระผู้สวมใส่ให้ดูดีแบบอุดมคติ และทำให้สิ่งที่เธอคิดว่า ควรจะเป็นส่วนที่ดึงดูดใจที่สุด คือใบหน้าโดดเด่นขึ้นมา
"ถ้าผู้หญิงคนหนึ่งใส่เสื้อผ้าของฉัน"
"ฉันจะภูมิใจมากกว่าเมื่อทุกคนตกตะลึง และอยากรู้ว่าผู้หญิงคนนั้นเธอเป็นใคร"
"โดยที่ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ว่าเธอใส่เสื้อของฉัน"
วิเวียนเริ่มต้นจากรองเท้าส้นสูงที่จะช่วยให้ขาดูยาว และเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ในการพรางสัดส่วนอื่นให้ดูดีตามไปด้วย รองเท้าที่เธอออกแบบส่วนใหญ่ส้นสูงกว่า 10 นิ้ว สูงจนเธอเองได้พบสัจธรรมจากรองเท้า เมื่อครั้งนางแบบเจนเวทีอย่าง [ นาโอมิ แคมเบลล์ ] ตกส้นตึกของเธอกลางแคตวอล์ก
"แฟชั่นเหมือนกับการไต่อยู่บนราวสูงเสี่ยงต่อการอับอายถ้าร่วงลงมา"
"แต่ถ้ายังเดินอยู่ได้นั่นคือชัยชนะ"
จากเรียวขา สัดส่วนต่อมาก็คือบั้นท้าย วิเวียนเป็นดีไซเนอร์คนแรกที่คิดทำกระโปรงเสริมบั้นท้ายให้ผายกว้างจนดูเหมือนมดต่อขา เพื่อทำให้ช่วงเอวดูคอด ลำตัวท่อนบนดูเล็ก ผลที่ได้ก็คือ ลำคอดูยาว ซึ่งช่วยเพิ่มพลังดึงดูดให้กับใบหน้า นี่เป็นกระบวนการเพิ่มเสน่ห์เย้ายวนทางเพศให้นางแบบตามวิธีของวิเวียน
[ 1984 - 1989 ]
วิเวียนถูกเชิญ ให้นำผลงานของเธอออกแสดง ในโตเกียวร่วมกับแบรนด์เนมดังหลายยี่ห้อ จากนั้นปี 1989 จอห์น แฟร์ชายด์ บรรณาธิการของนิตยสารผู้หญิงที่โด่งดัง ได้มีการจัดอันดับ 6 ดีไซน์เนอร์ฝีมือเยี่ยมของโลก และเป็นที่แน่นอนว่าวิเวียนเองก็เป็นหนึ่งใน 6 อันดับของสุดยอดดีไซน์เนอร์เช่นกัน และที่สำคัญเธอยังเป็นดีไซน์เนอร์หญิงเพียงคนเดียวเท่านั้นอีกด้วย
[1990]
วิเวียนได้รับรางวัล British Designer
[1992]
ได้รับ รางวัล OBEสำหรับความกระตือรือร้นในแฟชั่นและนั่นเองทำให้วงการแฟชั่นอยู่กับที่จนดูเหมือนว่าทุกๆอย่างกำลังหมุนไปรอบๆตัว วิเวียน เวสต์วูด
[1998]
เธอได้รับรางวัลจากราชินีอังกฤษสำหรับยอดการส่งออกที่มากที่สุดในรอบปี
[2003]
วิเวียนก็เป็นที่รู้จักในนามของ Disigner of the year อีกทั้งปีนี้ยังเป็นปีทองของเธออีกด้วย เพราะไม่ว่างานชิ้นไหนที่เป็น ของวิเวียน ทุกชิ้นต่างได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม และเป็นดีไซต์ที่น่าจับตามองที่สุด
[2004]
วิเวียนถูกขอให้จัด แสดงผลงานอีกครั้งในโตเกียว ฤดูใบไม้ผลิปี 2004 พิพิธภัณฑ์ Victoria and Albert ได้ทำการจัดนิทรรศการแสดงงานครั้ง ยิ่งใหญ่ของ Vivienne Westwood แบรนด์ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการ แฟชั่นมายาวนานกว่า 30 ปีขึ้น ซึ่งงานแสดง ครั้งนี้เป็นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่า ที่ทางพิพิธภัณฑ์เคยจัดให้กับดีไซด์เนอร์ชาวอังกฤษซึ่งในงานนั้นได้รวยรวม เอาเสื้อผ้ากว่า 150 ดีไซด์คัดเลือกโดยพิพิธภัณฑ์และตัววิเวียนเองโดยตรง เพื่อออกแสดงสู่สายตาของสาธานณชน
วิเวียนเป็นดีไซเนอร์คนแรกที่เข้าใจเรื่องแพตเทิร์นในมุมมอง 3 มิติอย่างแท้จริง เช่น การใช้ผ้าสี่เหลี่ยม 2 ผืนวางเหลื่อมเย็บติดกันให้เกิดเหลี่ยมแหลมขึ้น หรือการใช้ผ้าสามเหลี่ยมวางเฉียงเย็บติดกันเพื่อตัดเป็นชุดเข้ารูป หรือกระเป๋าเสื้อที่โค้งรอบตัวเสื้อจนเกิดมูฟเมนต์ทุกครั้งที่ผู้สวมใส่เคลื่อนไหว เป็นต้น
ด้วยความที่วิเวียนมาจากชนชั้นกลาง เธอจึงรู้สึกว่าไม่อยากสูญเสียผ้าโดยเปล่าประโยชน์ เธอจึงนำเอาผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาตัดเย็บ ทดลองเปลี่ยนฟอร์ม แพตเทิร์น และเทคนิคต่างๆ เพื่อให้เสียผ้าน้อยที่สุด ถ้าสังเกตดีๆ เสื้อผ้าของเธอมักจะใช้ผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมเพราะจะทำให้เสียผ้าน้อยที่สุด
เสื้อผ้าของวิเวียนหลายชิ้นมักถูกวิจารณ์ว่า [ ใส่จริงไม่ได้ ] ทั้งความแปลกของวัสดุ ลวดลาย สัดส่วนโครงสร้าง และแพตเทิร์นการตัดเย็บ แต่เธอมีมุมมองว่า
"เสื้อผ้าของฉันอาจดูนอกลู่นอกทาง เพียงเพราะผู้คนไม่ได้คาดคิด"
"แต่สิ่งที่ฉันทำก็เพื่อประณามความจืดชืดและความน่าเบื่อของแฟชั่นธรรมดาเหล่านั้น"
วิเวียนมักกล่าวว่า เธอไม่ได้พยายามสร้างสิ่งที่แตกต่าง แต่สิ่งที่เธอพยายามทำก็คือ [ ทำสิ่งเดียวกันแต่ในวิถีทางที่แตกต่างไป ] โดยสิ่งเดียวที่เชื่อมโยงทุกชุดของเธอก็คือความกล้าที่จะทดลองสิ่งใหม่
กว่า 30 ปีในวงการแฟชั่น วิเวียนมีจุดยืนในมุมมองของสังคม จากนักล้มล้าง นักทำลาย และดีไซเนอร์ยอดอัจฉริยะในวันนี้ แต่ไม่ว่าจะเป็นอิมเมจใด เสื้อผ้าของเธอถูกเข้าใจในแง่ของการต่อต้านระบบเสมอมา ซึ่งนี่ทำให้เธอแน่ใจว่า พรมแดงในวงการแฟชั่นของเธอจะอยู่ได้ในฐานะแบบนี้
"เหตุผลเดียวที่ฉันอยู่ในวงการแฟชั่นก็เพื่อทำลายความยึดมั่นในระบบเดิม"
Vivienne Westwood
Fashion Designer of Fashion Designer