ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ธรรมะ คือ สภาวะเหนือโลก....


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,388 ครั้ง
ธรรมะ  คือ สภาวะเหนือโลก....

Advertisement

ธรรมะ” คือ สภาวะเหนือโลก ที่เป็น “อมตะ” (การดำรงอยู่ตลอดไปของคุณงามความดี) “สุขัง” (การคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงของคุณงามความดี) และ “อัตตา” (การดำรงอยู่ได้เองของคุณงามความดี)
ส่วน “ธรรมะ” ตามความหมาย “ใหม่” นั้นเล็งถึง “กรรม” (ผลที่เป็นไปตามเหตุ) และ “ปฏิจจสมุปบาท” (สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้น) ซึ่งเป็นแนวคิดของกลุ่ม “อเทวนิยม” โดยพิจารณาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ต่อไปนี้ คือ ข้อพิสูจน์

1. คำว่า “กรรม” ตรงกับภาษาบาลี คือ “กมฺม” ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ ก + มฺม
1.1 “ก” (ka) มีความหมายว่า ริเริ่ม, แต่งขึ้น, ปรุงขึ้น, ทำขึ้น, สร้างขึ้น ฯลฯ
1.2 “มฺม” (mum) แปลว่า แม่, ให้กำเนิด, บ่อเกิด, ปลอมตัว, เงียบ ฯลฯ เป็นรากของคำว่า “Mummy” กับ “Mother” และถูกใช้ในความหมายอื่น เช่น ชอบ, ดี, ถูกต้อง ฯลฯ โดยพระโคตมะพุทธเจ้าได้นำคำว่า “มฺม” ไปสร้างคำใหม่ เรียกว่า “มรรคมีองค์ 8” เช่น
(1) ส+มฺม+ทิฏฐิ = สัมมาทิฏฐิ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีความเห็นในทางที่ถูกต้อง” หรือ “ความเห็นชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีความเห็นตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”
(2) ส+มฺม+สังกัปปะ = สัมมาสังกัปปะ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีความคิดในทางที่ถูกต้อง” หรือ “ความดำริชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีความคิดตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”
(3) ส+มฺม+วาจา = สัมมาวาจา
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีการพูดในทางที่ถูกต้อง” หรือ “การพูดชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีการพูดตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”
(4) ส+มฺม+กัมมันตะ = สัมมากัมมันตะ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีการกระทำในทางที่ถูกต้อง” หรือ “กระทำชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีการกระทำตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด” (5) ส+มฺม+อาชีวะ = สัมมาอาชีวะ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีการเลี้ยงชีพในทางที่ถูกต้อง” หรือ “เลี้ยงชีพชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีการเลี้ยงชีพตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”
(6) ส+มฺม+วายามะ = สัมมาวายามะ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีความเพียรในทางที่ถูกต้อง” หรือ “ความเพียรชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีความเพียรตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”

(7) ส+มฺม+สติ = สัมมาสติ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีการระลึกในทางที่ถูกต้อง” หรือ “การระลึกชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีการระลึกตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”
(8) ส+มฺม+สมาธิ = สัมมาสมาธิ
ชาวพุทธจะแปลว่า “มีความตั้งใจมั่นในทางที่ถูกต้อง” หรือ “สมาธิชอบ”
แต่นักเทวนิยมจะแปลว่า “มีความตั้งใจมั่นตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”

เมื่อนำคำทั้ง 2 มาสมาสกันเข้าเป็น “กมฺม” หมายถึง การเกิดผลของผู้สร้าง, ผลที่เป็นไปตามเหตุ, การกระทำตามผู้ให้กำเนิด, การเคลื่อนไหวตามผู้ให้กำเนิด, การยืนยันตามผู้ให้กำเนิด, การรับรองตามผู้ให้กำเนิด ฯลฯ และถูกนำไปใช้ในความหมายอื่น เช่น บาป, โชคร้าย, ความเดือดร้อน โดย “กมฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “ธรรมะ” (สภาวะของสิ่งที่เป็นเหตุ, คุณงามความดี “ดั้งเดิม” ที่ติดตัวมาพร้อมกับมนุษย์เกิด) แต่เน้นที่ “ธรรมชาติ” (สภาวะของสิ่งที่เป็นเหตุ-เป็นผล, กรรมดี-กรรมชั่วที่มนุษย์ทำขึ้น “ใหม่” ในโลกนี้) หมายความว่า “กมฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “อสังขตะ” (สิ่งที่ไม่มีการปรุงแต่ง ดำรงอยู่ได้เอง เช่น ธรรมะ) แต่มุ่งเน้นที่ “สังขตะ” ( “กรรม” ที่ถูกปรุงแต่งด้วย “ธรรมะ” ฯลฯ) เช่น ถ้าหาก “ธรรมะ” ดำรงอยู่ “ใน” ธรรมชาติ “สภาวธรรม” นั้นจะถูกเรียกว่า “โลกธรรม” แต่หาก “ธรรมะ” ดำรงอยู่ “เหนือ” ธรรมชาติ “สภาวธรรม” นั้นก็จะถูกเรียกว่า “โลกุตรธรรม”

2. คำว่า “กรรม” ตรงกับภาษาสันสกฤต คือ “กรฺม” ประกอบด้วย 2 คำ คือ กร + รฺม
2.1 “กร” (dhara) มีความหมายว่า ผู้ริเริ่ม, ผู้แต่งขึ้น, ผู้ปรุงขึ้น, การกระทำ, การเคลื่อนไหว ฯลฯ
2.2 “รฺม” (rum) แปลว่า ผิดธรรมดา, ไม่รู้จัก ฯลฯ เป็นรากของคำว่า “รมฺม” กับ “รมฺย” แปลว่า น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, น่ารัก, น่าสบาย, น่าชม,น่าพึงใจ, น่ายินดี, งาม ฯลฯ
เมื่อนำคำทั้ง 2 มาสมาสกันเป็น “กรฺม” หมายถึง พฤติกรรมเฉพาะบุคคล, ความบันเทิงใจที่ถูกปรุงแต่งขึ้น, ความสุขที่ถูกปรุงแต่งขึ้น, ความสบาย
ที่ถูกปรุงแต่งขึ้น, ความสำราญที่ถูกปรุงแต่งขึ้น, ความงามที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ฯลฯ โดย “กรฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “สุธรรม” (ความบริสุทธิ์ ความเป็นหนึ่งของคุณงามความดี) แต่มุ่งเน้นที่ “ทุรกรรม” (การเกิดของกรรม-การดับของกรรม, สายเกิดของทุกข์-สายดับของทุกข์) หมายความว่า “กรฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “อัตตา” (การดำรงอยู่ของคุณงามความดีตลอดไป ไม่มีการเสื่อมสูญ) แต่เน้นที่ “อนัตตา” (การปฏิเสธตัวตนที่จิตสร้างขึ้น) เพราะฉะนั้น จึงมีแต่ “พฤติจิต” เท่านั้นที่ “เกิด” และก็มีแต่ “พฤติจิต” เท่านั้นที่ “นิพพาน” (การดับรอบของจิต, อิสรภาพทางจิต) ด้วยเหตุนี้ การเข้าถึง “นิพพาน” จึงไม่ใช่การดับ “จิต"

 



โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3113 วันที่ 25 มี.ค. 2552


ธรรมะ คือ สภาวะเหนือโลก....ธรรมะคือสภาวะเหนือโลก....

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

18 เคล็ดลับ....สุขภาพดี

18 เคล็ดลับ....สุขภาพดี


เปิดอ่าน 6,401 ครั้ง
   สาระน่ารู้ ....กระเพาะปลา

สาระน่ารู้ ....กระเพาะปลา


เปิดอ่าน 6,405 ครั้ง
คนอาไร๊...หน้ายังกะผี..!!

คนอาไร๊...หน้ายังกะผี..!!


เปิดอ่าน 6,394 ครั้ง
To Sir With Love แด่คุณครูด้วยดวงใจ

To Sir With Love แด่คุณครูด้วยดวงใจ


เปิดอ่าน 6,402 ครั้ง
การใช้โปรแกรม Eudora รับส่ง E-mail

การใช้โปรแกรม Eudora รับส่ง E-mail


เปิดอ่าน 6,401 ครั้ง
รูป ชุมชนแออัดจริงๆ

รูป ชุมชนแออัดจริงๆ


เปิดอ่าน 6,394 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ดับร้อนกาย..หากร้อนใจไปที่อื่น

ดับร้อนกาย..หากร้อนใจไปที่อื่น

เปิดอ่าน 6,396 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สเป็ก...ผู้หญิงในฝัน..ของผู้ชาย....แบบว่า..ต้อง............/ คอนเฟิม !!!
สเป็ก...ผู้หญิงในฝัน..ของผู้ชาย....แบบว่า..ต้อง............/ คอนเฟิม !!!
เปิดอ่าน 6,388 ☕ คลิกอ่านเลย

การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007
การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007
เปิดอ่าน 6,393 ☕ คลิกอ่านเลย

นวัตกรรมหนังสือภาพ pop up เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านของเด็กปฐมวัย
นวัตกรรมหนังสือภาพ pop up เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านของเด็กปฐมวัย
เปิดอ่าน 6,388 ☕ คลิกอ่านเลย

เรา....เป็นคนดีกันรึยัง
เรา....เป็นคนดีกันรึยัง
เปิดอ่าน 6,391 ☕ คลิกอ่านเลย

ตัวเลขมาจากไหน???
ตัวเลขมาจากไหน???
เปิดอ่าน 6,456 ☕ คลิกอ่านเลย

บันดาร์เสรีเบกาวัน นครแสนสงบแห่งบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวัน นครแสนสงบแห่งบรูไน
เปิดอ่าน 6,393 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

อักษรไทยสมัยสุโขทัย
อักษรไทยสมัยสุโขทัย
เปิดอ่าน 45,795 ครั้ง

กว่าจะเป็น เวียงจันทน์เกมส์
กว่าจะเป็น เวียงจันทน์เกมส์
เปิดอ่าน 12,790 ครั้ง

เราจะรู้อายุของโลกและสิ่งมีชีวิตต่างๆได้อย่างไร
เราจะรู้อายุของโลกและสิ่งมีชีวิตต่างๆได้อย่างไร
เปิดอ่าน 18,265 ครั้ง

วิธีการเชิงระบบ
วิธีการเชิงระบบ
เปิดอ่าน 44,323 ครั้ง

"ว่านธรณีสาร" คืออะไร มีประโยชน์ตามความเชื่ออย่างไร?
"ว่านธรณีสาร" คืออะไร มีประโยชน์ตามความเชื่ออย่างไร?
เปิดอ่าน 19,210 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ