Advertisement
มรกตแดง (Red Emerald Philodendron )
การดูแล ควรรดน้ำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่อย่าให้แฉะ หมั่นเช็ดใบด้วยผ้าชุบน้ำพอหมาด จะทำให้ใบมีสีเขียวเป็นมันดูสวยงาม ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักละลายในน้ำรดเดือนละครั้ง
การปลูก ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย ส่วนผสมของดินใช้ ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน ใบไม้ผุ 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ วิธีปักชำยอดหรือลำต้น
อัตราการคายความชื้น ปานกลาง
อัตราการดูดสารพิษ ปานกลาง
มรกตแดง เป็นพันธุ์ไม้ที่ดูดสารพิษได้ดีที่สุดในบรรดาพันธุ์ไม้ในตระกูลฟิโลเดนดรอน เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย จึงถูกแนะนำให้นำมาปลูกเป็นไม้ประดับในอาคาร มรกตแดงเป็นพืชพันธุ์ไม้เลื้อยในตระกูลฟิโลเดนตรอน ตามธรรมชาติจะเลื้อยพันต้นไม้ใหญ่ในป่า จึงไม่ชอบแสงแดดจัด แต่เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารก็เป็นไม้ที่แข็งแรง ปลูกเลี้ยงง่ายไม่ค่อยมีปัญหา มรกตแดงมีใบใหญ่ สีเขียวอมแดงเป็นมัน ดูสวยงาม การปลูกภายในอาคารให้ใช้กาบมะพร้าวหุ้มไม้ปักไว้ในกระถางพรมน้ำให้ชื้น เพื่อให้ยึดเกาะ ถ้าต้องการให้แตกกิ่งก้านสาขามากๆ ก็ควรหมั่นเด็ดยอดตั้งแต่ยังเล็กอยู่
ยางอินเดีย (Rubber Plant )
การดูแล เป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก ไม่ชอบชื้นแฉะ แต่ก็อย่าปล่อยให้ดินแห้งจนเกินไป เนื่องจากมีใบที่สวยงาม จึงควรหมั่นใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดเช็ดใบเพิ่มความชุ่มชื่น ใบจะเป็นมันวาว ให้ปุ๋ยโดยใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำอย่างเจือจางรดทุก 1–2 เดือน
การปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี ส่วนผสมของดิน ใช้ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ โดยการตอนกิ่งหรือปักชำ
อัตราการคายความชื้น ปานกลางถึงมาก
อัตราการดูดสารพิษ มาก
ยางอินเดียเป็นไม้ประดับที่รู้จักในเมืองไทยมานานแล้ว เป็นพรรณไม้ขนาดใหญ่ ถ้าปลูกกลางแจ้งจะสูงไม่มากนัก ถึงแม้จะเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดแต่ก็เจริญเติบโตได้ในสภาพแสงน้อย ปลูกง่ายทนทาน มิหนำซ้ำยังมีคุณสมบัติดีเด่นในการดูดสารพิษจากอากาศภายในอาคารได้ดีเยี่ยม ยางอินเดียมีลำต้นตั้งตรง ลักษณะเด่นอยู่ที่ใบ มีลักษณะกลมรีปลายแหลม ใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ปลูกเป็นไม้ประดับได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
ในบรรดาไม้ขนาดใหญ่ด้วยกัน ยางอินเดีย เป็นไม้ประดับภายในอาคารที่น่าสนใจ เพราะเจริญเติบโตได้ดีถึงจะมีแสงน้อย ปลูกง่าย ทนทาน ต้องการน้ำไม่มาก แต่ในทางตรงกันข้ามกลับคายความชื้นได้มาก และที่สำคัญเป็นพืชดูดสารพิษช่วยฟอกอากาศภายในบ้านและสำนักงานได้อย่างดีเยี่ยม
หมากเหลือง (Areca Palm หรือ Yellow Palm)
การดูแล ควรให้น้ำตอนเช้าวันละครั้ง แต่อย่าให้แฉะ ให้ปุ๋ยคอกอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 1 ครั้ง หมั่นฉีดพ่นใบด้วยละอองน้ำ จะช่วยป้องกันแมลงได้
การปลูก นิยมปลูกลงกระถาง โดยใช้ดินที่สมบูรณ์ มีส่วนผสมของดินร่วน ทรายแกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ผุ ในอัตราส่วน 4:2:1:2:1
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ดหรือแยกกอ
อัตราการคายความชื้น มาก
อัตราการดูดสารพิษ มาก
หมากเหลือง เป็นไม้ประดับภายในอาคารที่เป็นที่นิยมมากชนิดหนึ่ง เพราะมีความสวยงาม มีความทนต่อสภาพแวดล้อมภายในอาคารและคายความชื้นให้แก่อากาศภายในห้องได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจากอากาศได้ในปริมาณมากเช่นกัน หมากเหลืองเป็นพืชตระกูลปาล์มที่ปลูกง่าย โตเร็ว เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 5–10 เมตร ลำต้นมีลายคล้ายข้อปล้อง โค้งงอและตั้งตรงได้สัดส่วนสวยงาม เจริญพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเป็นกอประมาณ 5–12 ต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปขนนก แผ่นใบมีสีเขียวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อนเป็นอยู่ใต้กาบใบ
ภายใต้สภาพแวดล้อมห้อง หมากเหลืองขนาดสูง 1.8 เมตรจะคายน้ำประมาณ 1 ลิตร ทุกๆ 24 ชั่วโมง ในบรรดาไม้ประดับดูดสารพิษด้วยกัน หมากเหลือง เป็นพืชที่ดูดสารพิษจากอากาศได้ในประมาณมากที่สุดชนิดหนึ่งที่แนะนำให้ปลูกไว้ใน อาคารสำนักงาน หรือ บ้านเรือน
แววมยุรา (Prayer Plant )
การดูแล เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการแดดปานกลาง แต่ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง ต้องการน้ำมาก ความชื้นสูง จึงควรรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ถ้าอากาศร้อนหรือแห้งแล้งมาก ก็ให้ฉีดพ่นละอองน้ำให้ใบชุ่มชื้น ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละครั้ง
การปลูก ควรปลูกในดินที่อุ้มน้ำได้ดี ส่วนผสมดินใช้ดินเหนียวผสมดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ การแยกกอหรือแบ่งเหง้าที่โตเต็มที่แล้วมาปลูก
อัตราการคายความชื้น ปานกลางถึงมาก
อัตราการดูดสารพิษ น้อย
แววมยุราเป็นพืชพันธุ์ไม้เลื้อยกึ่งคลุมดินในตระกูลเดียวกับคล้า แต่การปลูกเลี้ยงง่ายกว่ามาก เพราะมีความอดทนและเจริญเติบโตได้ง่ายในทุกสภาวะของห้อง แววมยุรามีใบด้านหน้าสีเขียวสลับลายเขียวแก่หรือน้ำตาล ส่วนหลังสีเขียวอมแดงหรือม่วงมีลายสลับเช่นเดียวกัน เนื่องด้วยใบมีลวดลายและสีสันสวยงามคล้ายหางนกยูงจึงได้ชื่อไทยว่า “แววมยุรา” ส่วนภาษาอังกฤษได้ชื่อว่า “Prayer Plan” แปลว่า ต้นไม้พนมมือ โดยตั้งชื่อตามลักษณะการกระดกของใบตั้งขึ้นเหมือนการพนมมือตอนใกล้ค่ำ พอตอนรุ่งเช้าใบก็จะคลี่ออกตามเดิม
แววมยุราเป็นไม้ประดับในอาคารที่ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นภายในห้องได้ดี ถึงแม้ว่าคุณสมบัติในการดูดสารพิษจะน้อยไปสักนิดก็ตาม
จิราภรณ์ หอมกลิ่น / ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก panmai.com
วันที่ 24 มี.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,539 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,257 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,989 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,203 ครั้ง |
เปิดอ่าน 381,137 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,295 ครั้ง |
|
|