Advertisement
❝ น้ำลดตอผุด เศรษฐศาสตร์ข้างบ้าน ❞
เรื่อยๆสบายๆในชีวิตประจำวัน
Permalink : http://www.oknation.net/blog/rukpong
วันจันทร์ ที่ 23 มีนาคม 2552
สัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวที่ร้อนแรงไม่เป็นรองการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้น ข่าวการบริหารเงินลงทุนที่ขาดทุนของ กบข. หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ โดยความเป็นจริงเสียงของข้าราชการที่ขอคำอธิบายการบริหารที่ขาดทุนได้ออกมาตั้งแต่ปี2551แล้ว แต่มาเป็นข่าวใหญ่โตก็เพราะสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) ได้ออกมาขอตรวจสอบ กบข. ด้วยเหตุผลว่ามีข้าราชการร้องเรียนมาตั้งแต่กลางปี 2551 ว่าเงินสะสมในกองทุนของพวกเขาขาดทุนรายละ 1-2 หมื่นบาท ข่าวมีทั้งหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต และข่าวโทรทัศน์ ที่มาสะดุดข่าวทางทีวีชิ้นหนึ่งของโทรทัศน์ช่องอะไรจำไม่ได้แล้ว เพราะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในการชมข่าวตลอด ในเนื้อข่าวเป็นเรื่องของอดีตข้าราชการที่เป็นระดับผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมในย่านฝั่งธนฯได้ให้ข้อมูลว่าตนเองได้รับเงินจากกองทุนกบข.ต่ำกว่าถ้าเทียบกับการคำนวณแบบไม่มีกบข.ด้วยตัวเลขที่น่าตกใจถึงกว่า 4 แสนบาท(น่าจะเป็นการคำนวณเงินที่ได้ทั้งหมดไม่ใช่เฉพาะงวด) เป็นตัวเลขที่น่าตกใจไม่เพียงแต่ข้าราชการคนอื่นๆเท่านั้นแต่คนทั่วไปก็น่าจะตั้งคำถามกับการขาดทุนครั้งนี้
ในโลกของการลงทุนมีความจริงอยู่ประการคือการลงทุนมีความเสี่ยงยิ่งอยากได้กำไรมากก็ต้องเสี่ยงมากเป็นเรื่องธรรมดาตามคำพูดที่ได้ยินอยู่เสมอ “High Risk High Return” การบริหารงานกองทุนที่มีขนาดใหญ่อย่างกบข. บริหารให้ได้กำไรสัก 2-3 % ต่อปีก็นับว่ายากมาก ด้วยเม็ดเงินของกองทุนที่มีมากถึง 376,000 ล้านบาท การจะหาสินทรัพย์ที่ลงทุนแล้วได้กำไรแต่ไม่มีความเสี่ยงหรือความเสี่ยงต่ำอย่างพันธบัตรรัฐบาลก็มีไม่มากนัก และถ้าจะลงทุนที่เกินกว่านั้นความเสี่ยงก็จะมีมากขึ้นตามลำดับ การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็มีความเสี่ยงหลายตัวที่ต้องเผชิญโดยเฉพาะความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้อย่าง Systematic Risk ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ผู้บริหากองทุนต้องเผชิญกับปัญหาที่เรียกว่าไม่สามารถกระจายความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบันจึงเกิดเหตุการณ์ “น้ำลดตอผุด” และมักจะเกิดเมื่อมีวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างที่เกิดทุกวันนี้จึงไม่แปลกที่ผู้บริหารกองทุนกบข.จะอ้างเหตุผลนี้ในการโต้ตอบประเด็นการขาดทุนในการลงทุนของ กบข.
อย่างไรก็ตามการอ้างเหตุผลความเสี่ยงที่เกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจไม่สามารถตอบคำถามของข้าราชการที่ได้รับเงินจากกบข.ที่น้อยกว่าการไม่มีกบข.ได้ ในทางเศรษฐศาสตร์มีการอธิบายการเปลี่ยนแปลงในสังคมที่เรียกว่า Pereto Optimum ที่คิดโดยนักเศรษฐศาตร์ที่ชื่อVilfredo Pareto มีชีวิตอยู่ในช่วง 1848-1923 ได้คิดค้นคำว่า Pareto efficiency เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงโดยที่มีคนได้ประโยชน์และไม่มีผู้ใดเสียประโยชน์เลยภาวการณ์เปลี่ยนแปลงแบบนั้นจะเกิดประสิทธิภาพที่เรียกว่า Pareto efficiency และเมื่อการเปลี่ยนแปลงขยับไปสู่ภาวะที่เรียกว่าเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วเมื่อมีผู้ได้ผลประโยชน์แต่อย่างน้อยมีหนึ่งคนที่เสียผลประโยชน์จะเรียกจุดนั้นว่า Pareto Optimum ดังนั้นสังคมจึงยินดีที่จะอยู่ Pareto Optimum ในทำนองเดียวกันการลงทุนของกบข. อาจจะตอบไม่ได้ว่าอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า Pareto Optimum หรือเปล่าแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ข้าราชการหลายคนที่รู้สึกว่าเมื่อเกษียณจากราชการแล้วพวกเขาจะแย่ลง
การเข้าสู่ยุคบังคับให้พวกเขาลงทุนกับกบข.ที่แน่นอนคือการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้เป็นไปแบบ Pareto Efficiency และนั่นคือสิ่งที่ผู้บริหาร กบข.ต้องตอบว่าเหตุใดที่การเปลี่ยนแปลงของพวกเขาไม่เป็นแบบ Pareto Efficiency การอธิบายแบบนักการเงิน และนักบัญชีที่มักอธิบายว่าสินทรัพย์ยังมีอยู่เป็นเพียงแค่การขาดทุนทางบัญชีหรือขาดทุนกำไรยังไม่เพียงพอหรอกครับเพราะเป็นการอธิบายเพียงด้านเดียวหรือมุมเดียวไม่ใช่ทั้งหมด และถ้าขาดทุนทางบัญชีหรือขาดทุนกำไรจริงทำไมสมาชิกข้าราชการถึงได้รับเงินสดลดลง และในความเป็นจริงถ้าเกิดเศรษฐกิจซบเซาอย่างต่อเนื่องตามคำทำนายของพวกกูรู้ทางเศรษฐกิจทั้งหลายสินทรัพย์เหล่านั้นจะยังเป็นขาดทุนเงินสด ขาดทุนแบบจริงๆ และทำให้เงินของข้าราชการเหล่านั้นหายไปเพิ่มขึ้นอีกจริงๆหรือเปล่า ถ้าสมมุติบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ลงทุนต้องปิดตัวลงการขาดทุนทางบัญชีเหล่านั้นจะกลายเป็นขาดทุนจริงๆหรือไม่ อย่าคิดนะครับว่าไม่มีโอกาสที่ใบหุ้นจะกลายเป็นเศษกระดาษ บางทีความผิดพลาดของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็คือผู้บริหาร ที่ตัดสินใจการลงทุนในกบข.กับข้าราชการที่ต้องการใช้เงินมีพฤติกรรมในการเสี่ยงไม่เหมือนกัน กล่าวคือข้าราชการเมื่อถึงวัยเลิกรับราชการอยู่บ้านคงอยากมีความมั่นคงในชีวิต ความเสี่ยงต่ำหรือไม่มีความเสี่ยงเลย แต่ผู้บริหารกองทุนเป็นผู้รับความเสี่ยงได้มากกว่าเพราะกำไรของกองทุนย่อมส่งผลต่อเงินเดือนที่มากขึ้น โบนัสก้อนใหญ่ที่ตามมา ถ้าขาดทุนก็คงไม่เป็นไรอย่างแย่ก็เปลี่ยนงานใหม่ พฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงแบบนี้ก็เข้าข่าย Moral Hazard เหมือนกัน และปัญหาที่สำคัญก็คือเงินที่ใช้ลงทุนคือเงินของคนที่ไม่อยากเสี่ยงไม่ใช่เงินของฝ่ายบริหารกองทุนที่ชอบเสี่ยง Pareto Efficiency จึงไม่เกิดนั่นเอง
|
ขอบคุณเจ้าของบทความ
วันที่ 24 มี.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,215 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,363 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,002 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,652 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,273 ครั้ง |
เปิดอ่าน 62,235 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,442 ครั้ง |
|
|