เรื่องของอาหารชั้นสูง..ไข่มดแดง..
เข้าหน้าแล้งแล้ว..อากาศร้อน..เสียงแมลง..เสียงจั๊กจั่น..ดังอื้ออึง..บอกถึงสัญญาน..
ว่าเรามาเข้าป่าหาอาหารตามแบบฉบับลูกทุ่งกันดีมั้ย? วันนี้ครูมีภูมิปัญญาหากินแบบ
ชาวบ้านเรามาฝาก......ไปหาแหย่ไข่มดแดง..กันเถอะ..
น้าซู คนมหาชนะชัย จ.ยโสธร ขับร้อง (ปรับลดเสียงเบาลงจะน่าฟังกว่า..นะคะ)
การที่จะไปแหย่ไข่มดแดงนั้นต้องรู้ที่อยู่ของมดแดงเสียก่อน ว่าชอบอยู่กับต้นอะไรบ้าง ที่ไหน สูงต่ำแค่ไหน จะได้เตรียมไม้สอยได้ยาวพอดี ถ้ายาวไปก็เลย สอยไม่ได้ สั้นไปก็ไม่ถึง จึงต้องมีการสำรวจเบื้องต้นก่อนการเตรียมการค่ะ และบางทีต้องมีไม้สำรองไปด้วย หรือตัดเอาใหม่ ที่ต้องเสียเวลาและก็หนักนะคะ ดังนั้นรังมดแดงที่ต่ำไปหรือสูงไปก็มักจะแคล้วคลาดจากการสอยเสมอ
เวลาที่จะไปสอยก็ต้องดูฤดูกาลที่มดแดงมีไข่เต็มรังพอดี หรือมีตัวแม่เป้งที่เราอยากกินพอดี หรือจะเอาตัวมาทำยำมดแดงก็แล้วแต่ คือต้องกลับมาดูวัตถุประสงค์ของการแหย่ จังหวะเวลาที่เหมาะสมแบบสอดคล้องกันพอดีในเชิงเทคนิคการสอยนั้นต้องเริ่มดูว่ารังไหนโตพอที่จะมีไข่จึงจะสอย ยามที่มดแดงส่วนใหญ่พักผ่อนอยู่ในรัง มีไข่เต็มรัง ถ้าไม่มีไข่ก็ต้องรอจังหวะให้มีไข่พร้อมจะสอยเสียก่อน ที่จะสังเกตจากรังมีน้ำหนัก
การสอยก็ต้องมีจังหวะการแหย่รังให้ไข่ร่วงลงมา ไห้หล่นลงในที่รองรับ ที่มักจะเป็นหวดนึ่งข้าวที่มีรูปทรงปากกว้างพอเหมาะพอดี ที่ไข่มดแดงและมดแดงจะไม่หลุดร่วงลงดิน และอาจต้องป้องกันการไต่ออกของแม่เป้ง(นางพญามด)และตัวมด ที่อาจใช้ถังที่ลื่นที่มดไต่ออกไม่ได้ หรือจะใช้น้ำใส่ถังรอไว้ พอมดร่วงลงมาในหวดก็รีบเอาใส่ถังน้ำไว้ก่อน
เทคนิคการแช่น้ำกันมดคาบไข่หนีนั้น มดและไข่จะตายและเน่าเสียได้ง่าย แต่ก็มีวิธีลดความเสียหายโดยการเอามาผึ่งให้แห้งเร็วที่สุด หรือแยกไข่แยกตัวออกก่อนแช่น้ำ แล้วเอาไข่ไปคลุกกับแป้งข้าวจ้าว หรือแป้งมันให้แห้งไว้ตลอดเวลาก็จะไม่บูดเน่า เอาตัวไปแช่น้ำเพียงอย่างเดียว
การสอยก็ต้องรีบทำ ก่อนที่มดแดงจะแตกรังคาบไข่หนีเสียก่อน ก็จะไม่ค่อยได้ไข่มดตามที่ตั้งใจไว้ (โดยเฉพาะในระบบราชการที่หวงความรู้กันเหลือเกิน ไม่รู้มีใครไปบอกเขาว่า ข้อมูลคือเงิน)
หลังจากนั้นก็เป็นการบริโภคไข่มดแดงแล้ว จะกินเองก็มีทั้งเจียวไข่ หมก ยำ แกงผักหวาน ทำได้สารพัดชนิด หรือจะนำไปขายก็มีทั้งขายสดที่อาจแยกชนิด หรือผสมกันก็ตามใจลูกค้าจะชอบแบบไหน หรือจะส่งร้านอาหาร ภัตตาคารก็ได้ และทำกับข้าวขายเองแบบต่าง ๆ
เห็นไหมคะ การแหย่ไข่มดแดง ก็ต้องมีการจัดการความรู้ ในทุกด้านการเตรียมการแหย่ไข่มดแดงก็จะต้องรู้ว่าแหล่งความรู้อยู่ที่ไหน ใกล้ ไกล สอยยาก สอยง่าย ที่จะต้องเตรียมแนวทางและวิธีการที่เหมาะสม.....
เป็นไงบ้างคะ..แหย่ไข่มดแดงเนี่ย..ทั้งแสบทั้งคัน..เพราะฉะนั้นเวลาแม่ค้าเอามาขายให้เราอย่าต่อราคาละกันนะค๊า
อยากให้หายเหนื่อยจากการแหย่มดแดง...เรามาเซิ้งแหย่ไข่มดแดงดูสิ..
ว่าจะมันแค่ไหน..เอ๊า...ได้เลย...
เซิ้งแหย่ไข่มดแดง.....
อาหารอีสานส่วนใหญ่จะได้มาจากธรรมชาติ ทั้งที่เป็นสัตว์เล็ก สัตว์น้อย และพืชพันธุ์ต่างๆ นับได้ว่าชาวอีสานเป็นนักกินผู้หนึ่งทีเดียว ไข่มดแดงนับเป็นอาหารประจำถิ่นอีสาน จนสามารถนำมาขายจนกลายเป็นอาชีพได้ ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์(ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) เห็นว่าควรจะอนุรักษ์อาชีพแหย่ไข่มดแดงนี้ในรูปของการแสดง จึงได้ทำการศึกษาถึงขั้นตอนการนำไข่มดแดงลงมาของชาวบ้าน โดยอาจารย์ประชัน คะเนวัน และอาจารย์ดรรชนี อุบลเลิศ เป็นผู้เขียนรายละเอียดของขั้นตอนการแหย่ไข่มดแดงโดยละเอียด การแสดงเซิ้งแหย่ไข่มดแดงเป็นการอนุรักษ์อาชีพของชาวอีสานอย่างหนึ่ง
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย เสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าคาดเอว และใช้ผ้าขาวม้าโพกศีรษะ ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอก 3 ส่วนคอกลม ห่มสไบ นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สั้นแค่เข่า
เครื่องดนตรี ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนจะใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานลายเซิ้ง
อุปกรณ์สำหรับการแสดง ครุใส่น้ำ ตะกร้าผูกปลายไม้ยาว ผ้าสำหรับกวนมดแดง การจัดการแสดงลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
เดินทางออกจากบ้าน หญิงถือครุใส่น้ำ ชายถือไม้ยาวสำหรับแหย่รังมดแดง และเหน็บผ้าสำหรับกวนมดแดง
มองหารังมดแดง
แหย่มดแดงได้เทลงในครุใส่น้ำ
นำผ้ากวนมดแดง เพื่อแยกตัวมดออกจากไข่มดแดง
เทน้ำออกจากครุ
เก็บอุปกรณ์เดินทางกลับบ้าน....
.........กลับถึงบ้านนำไปทำอาหารได้หลายอย่างอาทิเช่น เจียวไข่ใส่ไข่มดแดง,
ก้อยไข่มดแดง, เอาะไข่มดแดง, แกงหน่อไม้ใส่ไข่มดแดง,ฯลฯ...
ขอบคุณที่มาข้อมูลwww.nongbua.ru.ac.th และขอบคุณwww.isan.clubs.chula.ac.th/webboard/index.php...