Advertisement
ชื่อเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมบทเรียน สาระการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสมคิด กุตัน
ที่ปรึกษา นายสมปอง เอนกบุญ ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านดงกลาง
โรงเรียน โรงเรียนบ้านดงกลาง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ปีที่พิมพ์ 2552
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระการเรียนรู้สุขศึกษาระดับประถมศึกษาให้ประสบความสำเร็จนั้นมีหลากหลายวิธี การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมบทเรียน เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้ผลดี เนื่องจากเป็นระบบสื่อการเรียนการสอนที่มีการนำเนื้อหาวิชา และวิธีสอนมาบันทึกเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับให้ผู้เรียนใช้เพื่อการเรียน โดยให้ผู้เรียนโต้ตอบกับบทเรียนในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องอาศัยครูหรือผู้สอนเข้าร่วมกิจกรรมโดยตรง การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมบทเรียนที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน รวมทั้งศึกษาความคงทนในการเรียนรู้และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนสาระการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดงกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือก แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ชนิด ได้แก่ โปรแกรมบทเรียน จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 2 หน่วยการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 40 ข้อ ที่มีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ .25 ถึง .75 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .33 ถึง .83 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 และ .89 ตามลำดับ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (t) ตั้งแต่ 4.53 ถึง 8.47 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .86 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. โปรแกรมบทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.76/81.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด
2. ดัชนีประสิทธิผลโปรแกรมบทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 0.5274 คิดเป็นร้อยละ 52.74
3. ความคงทนทางการเรียนของนักเรียนจากการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนกับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป โปรแกรมบทเรียน สาระการเรียนรู้สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชาได้
วันที่ 22 มี.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 8,321 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,598 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,894 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,284 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,284 ครั้ง |
|
|