ที่มาของ..ดอกกล้วยไม้กับ...ครู
คณะกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ. 2539 ได้มีมติกำหนดให้ ดอกกล้วยไม้เป็นดอกไม้ประจำวันครู โดยพิจารณาเห็นว่าลักษณะของดอกกล้วยไม้มีลักษณะ และความหมายคล้ายคลึงกับ งานจัดการศึกษา และสภาพชีวิตครู ดังคำกลอนของท่านหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ที่ว่า
" กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด
การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น
แต่ออกดอกคราวใด งานเด่น
งานสั่งสอนปลูกปั่น เสร็จแล้วแสนงาม "
ดอกไม้วันครู คือ "ดอกกล้วยไม้" โดยพิจารณาเห็นว่ามีคุณลักษณะของดอกกล้วยไม้ มีลักษณะและความหมายคล้ายคลึงกับ สภาพชีวิตครู นั้นคือ กว่ากล้วยไม้แต่ละช่อจะผลิดอกออกผล ให้เราชื่นชมได้ ต้องใช้เวลานานและต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่น้อย เช่นเดียวกับครูแต่ละคนกว่าจะสั่งสอนเคี่ยวเข็ญศิษย์คนแล้วคนเล่าให้มีความเจริญงอกงามก้าวหน้าในชีวิตได้ ก็ต้องใช้่เวลาอบรมสั่งสอนมิใช่น้อยเช่นกัน
นอกจากนี้กล้วยไม้ยังเป็นพืืชที่อยู่ในที่สูงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่ร่วงโรยง่ายเปรียบเสมือนครูที่อยู่ทั่วแดนไทยที่ต้องอดทนต่อสู้เื่พื่ออุดมการณ์และอุทิศตนเพื่อการศึกษาของชาติ…
เพลง : กล้วยไม้
กล้วยไม้ของเราแต่เก่าก่อน
อยู่ในดงในดอน เจ้าซ่อนช่อซ่อนใบ
ไกลภู่ ไกลผึ้ง ซ่อนอยู่ถึงไหนไหน
ใครจะเด็ดจะดมได้ ใครจะเด็ดจะดมได้ เราไม่เห็นเลย
โอ้กล้วยไม้เอย น่าชื่นน่าเชย เจ้าบ่เคยชอกช้ำ
เช้าสายบ่ายค่ำ ชื่นบ่ช้ำชอกเลย
*เดี๋ยวนี้ดูหรือกล้วยไม้
มาชูช่อชูใบ บานอยู่ในกระเช้า
ลืมดอยลืมดอน ที่เคยอยู่ก่อนอยู่เก่า
ภู่จะคลึง ผึ้งจะเคล้า ให้เจ้าเฉาลง
ภู่จะคลึง ผึ้งจะเคล้า ให้เจ้าเฉาลง
โอ้กล้วยไม้เอย โธ่ไม่น่าเลย ที่จะมาใหลหลง
เจ้าลืมซุ้มพุ่มพง เจ้าลืมดงดอยเอย
(ซ้ำ*)
ขอบคุณที่มาเพลงพระปิยะโรจน์.คอม