ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมการงานอาชีพ  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ประวัติความเป็นมาของยางพารา


การงานอาชีพ 25 ส.ค. 2557 เวลา 21:30 น. เปิดอ่าน : 14,517 ครั้ง
Advertisement

ประวัติความเป็นมาของยางพารา

Advertisement

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ประวัติความเป็นมาของยางพารา
การกรีดยาง

ประวัติความเป็นมาของยางพารา
เมล็ดยาง

ประวัติความเป็นมาของยางพารา
Henry Wickham

ประวัติความเป็นมาของยางพารา
Charles Goodyear

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญรองจากฝ้ายในการอุตสาหกรรม หลายคนคงไม่รู้ว่า ณ วันนี้ประเทศไทยเราผลิตยางพาราได้มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก จากพื้นที่ประมาณ 12.5 ล้านไร่ ในภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้สามารถผลิตยางในปี 2544 ได้ถึง 2.62 ล้านตัน และส่งเป็นสินค้าออกได้ถึง 2.35 ล้านตัน มีผลให้ประเทศมีรายได้ประมาณ 75,000 ล้านบาท
       
       สถิติการนำยางเป็นสินค้าเข้าแสดงให้เห็นว่า ญี่ปุ่น จีน เป็นประเทศที่นำยางเป็นสินค้าเข้าที่สำคัญ โดยนำไปทำเครื่องใช้ เช่น ผ้ายาง ของเล่น รองเท้า ยางรถยนต์ และยางลบ เป็นต้น ปัจจุบันประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ปลูกยางได้ประมาณ 92% ของยางที่ปลูกทั่วโลก ทั้งๆ ที่ยางมิได้เป็นต้นไม้ท้องถิ่นของทวีปเอเชีย แต่เป็นพืชที่มีกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ที่ได้ถูกนักผจญภัย และนักสำรวจแผ่นดินใหม่ลักลอบนำจากทวีปอเมริกาใต้ไปปลูกในยุโรป และเอเชียในเวลาต่อมา ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่าคนอินเดียนในทวีปอเมริกาใต้รู้จักยางพารา (Hevea brasiliensis) มานานหลายพันปีแล้ว แต่คนยุโรปเพิ่งรู้จักยางเมื่อประมาณ 200 ปีก่อนนี้ และรู้จักนำยางมาทำอุปกรณ์กับเครื่องใช้ต่างๆ เมื่อประมาณ 100 ปีมานี้เอง
       
       Hernando Cortez นับเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เห็นชาวพื้นเมืองในรัฐเม็กซิโกเล่นลูกบอลยาง การสืบเสาะที่มาของวัสดุที่ใช้ทำลูกบอลชี้บอกให้ Cortez รู้ว่าวัสดุที่ยืดหยุ่นดีนี้เกิดจากของเหลวที่ไหลออกมาจากต้น caoutchoue ของชาว Maya (คำนี้แปลตรงตัวว่า ต้นไม้ที่ร่ำไห้) เวลาเปลือกต้นถูกของมีคมกรีด และนอกจากจะใช้ยางทำบอลแล้ว ชาวอินเดียนเผ่า Maya ยังใช้ยางทำรองเท้า โดยเอาเท้าจุ่มในน้ำยางแล้วยกเท้าออก จากนั้นก็ปล่อยทิ้งให้แห้งแล้วจุ่มเท้าลงไปใหม่อีก ทำซ้ำๆ เช่นนี้จนได้รองเท้าในที่สุด
       
       การยึดครองอาณาจักร Maya ได้ทำให้ทหารล่าอาณานิคมของสเปนรู้เพิ่มเติมว่า เวลาชาวอินเดียนเอาน้ำยางลูบไล้บนหมวกธรรมดา หมวกใบนั้นจะสามารถกันฝนได้
       
       ในพ.ศ. 2313 Joseph Priestley นักเคมีชาวอังกฤษ ได้พบว่ายางสามารถลบรอยดินสอได้ เขาจึงเรียกยางว่า rubber และเมื่อถึงพ.ศ. 2366 Charles Mac Intosh พ่อค้าชาวสกอตที่เมือง Glasgow ได้พบว่าสารละลาย naphtha (C10H8) ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมสามารถละลายยางได้ เขาจึงเอาผ้าจุ่มลงในสารละลายที่มีน้ำยางนี้ แล้วนำขึ้นมาผึ่งให้น้ำระเหยไป ทิ้งอนุภาคยางบนเนื้อผ้าเป็นผ้าที่สามารถกันฝนได้ คนอังกฤษจึงเรียกเสื้อกันฝนว่า mackintosh ในปี พ.ศ. 2380 Thomas Hancock ประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์เครื่องรีดยางให้เป็นแผ่น แต่ยางก็ยังไม่เป็นที่นิยมใช้ ทั้งนี้เพราะเวลายางได้รับความร้อนมันจะอ่อนตัวเหนียว และเวลาอากาศเย็นมันจะเปราะและมีรอยแตก แต่ในพ.ศ. 2382 นั้นเอง Charles Goodyear ก็ได้พบโดยบังเอิญว่า เขาสามารถทำยางให้คงรูปได้ตลอดเวลา โดยเอากำมะถันผสมลงในยางแล้วเผาให้ร้อนถึง 150 องศาเซลเซียส แล้วใช้ความดันช่วย ยางที่ได้จะแข็งแรงทนทาน ไม่เปราะ และไม่อ่อนตัวอีกเลย ทำให้สามารถใช้ทำอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่างๆ ได้ เช่น ยางรถยนต์ และยางล้อจักรยาน เป็นต้น
       
       หลังจากที่คนยุโรปพบประโยชน์ของยางแล้ว คุณค่าของยางก็ได้เพิ่มขึ้นทันที แต่ยางเป็นพืชท้องถิ่นของทวีปอเมริกาใต้ ดังนั้น ชาวยุโรปจึงคิดนำต้นยางจากทวีปอเมริกาใต้ไปปลูกในยุโรปหรือเอเชียบ้าง โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อนที่ตกเป็นอาณานิคมของตน เพื่อให้คนที่อยู่ใต้การปกครองสามารถปลูกยางเป็นอาชีพได้ ดังที่ Sir Clement Markham ได้เคยประสบความสำเร็จในการนำต้นควินิน (quinine) จากพื้นที่ในแถบเทือกเขา Andes ของอเมริกาใต้ไปปลูกในอินเดียมาแล้ว เมื่อ 150 ปีก่อนนี้ และเมื่อต้นควินินสามารถเจริญเติบโตได้ดี ต้นยางก็น่าได้รับการสนับสนุนเช่นกัน
       แต่รัฐบาลบราซิลไม่ต้องการสูญเสียต้นไม้ที่ประเสริฐของตน จึงออกกฎหมายห้ามมิให้ใครใดนำเมล็ดยางหรือกล้ายางออกนอกประเทศ แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะ A. Farris ได้ลักลอบนำเมล็ดยางไปปลูกที่สวนพฤกษศาสตร์ Kew ในกรุงลอนดอนได้สำเร็จ แต่เพราะสภาพอากาศในสวนไม่อำนวย กล้ายางที่เพาะได้จึงมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน ทั้งนี้เพราะยางมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ดังนั้น นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษจึงตัดสินใจนำเมล็ดยางไปทดลองปลูกในสวนพฤกษศาสตร์แห่งเมือง Calcutta ของอินเดียบ้าง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีก
       
       ในพ.ศ. 2418 ชาวอังกฤษชื่อ Henry Wickham ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมือง Santarem ในอเมริกาใต้ ได้รับการว่าจ้างจากรัฐบาลอังกฤษให้เก็บรวบรวมเมล็ดยางพันธุ์ต่างๆ ที่ขึ้นในแถบลุ่มแม่น้ำ Amazon แล้วลักลอบนำออกนอกประเทศบราซิลให้ได้ Wickham จึงใช้เรือ S.S. Amazonas ขนเมล็ดยางจำนวนมาก และเขียนป้ายติดที่กล่องบรรจุเมล็ดยางว่า นี่คือเมล็ดพืชตัวอย่างสำหรับการปลูกที่สวน Kew ของสมเด็จพระราชินี Victoria และเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจชาวบราซิลเห็นป้ายก็ไม่ได้เฉลียวใจแม้แต่น้อยว่ามันคือเมล็ดยางต้องห้าม จึงอนุญาตให้เรือนำเมล็ดพืชออกนอกประเทศได้ เรือของ Wickham ที่มีเมล็ดยางร่วม 70,000 เมล็ด เดินทางถึงท่าเรือของกรุง London ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2419 และเจ้าหน้าที่ได้นำเมล็ดยางไปเพาะที่เรือนกระจกของสวน Kew ในวันรุ่งขึ้นทันที ผลปรากฏว่า มีเมล็ดเพียง 3,000 เมล็ดเท่านั้นที่เติบโตเป็นกล้ายาง และอีก 2 เดือนต่อมา กล้ายาง 1,900 ต้นก็ถูกขนขึ้นเรือเพื่อนำไปปลูกที่ศรีลังกา แต่ขณะเดินทางกล้ายาง 200 ต้นล้มตาย ดังนั้น รัฐบาลอังกฤษจึงได้แจกจ่ายกล้ายาง 1,700 ต้นที่เหลือให้นำไปปลูกที่สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จึงเป็นว่าคนเอเชียอาคเนย์เริ่มรู้จักยางเมื่อประมาณ 130 ปีมานี้เอง แต่ยางก็มิได้มีบทบาทมากในการยกฐานะความเป็นอยู่ของคนแถบนี้ เพราะในสมัยนั้น ผู้คนนิยมขุดดีบุก และปลูกกาแฟเป็นงานหลัก Sir Henry Ridley ผู้เป็นผู้อำนวยการศูนย์พฤกษศาสตร์ที่สิงคโปร์ จึงได้เริ่มชักจูงชาวบ้านให้หันมาปลูกยางเป็นอาชีพบ้าง รวมทั้งสอนให้ชาวบ้านรู้จักวิธีกรีดยางโดยไม่ทำให้ต้นยางตาย การปลูกยางจึงได้เริ่มแพร่หลายตั้งแต่นั้นมา
       
       สำหรับการแพร่ของยางสู่ประเทศไทยนั้น ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า เมื่อครั้งที่เจ้าพระยารัษฎานุประดิษฐ์เดินทางไปมาเลเซีย ท่านได้เห็นสวนยางพารา จึงคิดนำยางมาปลูกในไทยบ้าง แต่รัฐบาลอังกฤษซึ่งยึดครองมาเลเซียขณะนั้นอยู่ไม่อนุญาต ต่อมาในพ.ศ. 2444 พระสถลสถานพิทักษ์ซึ่งได้เดินทางไปดูงานที่อินโดนีเซีย สามารถนำกล้ายางกลับมาได้ จึงนำกล้ายางต้นแรกไปปลูกที่บ้านพัก ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เพราะต้นยางเจริญเติบโตดีมาก การปลูกจึงได้ขยับขยายมากขึ้นๆ จนมีเนื้อที่ถึง 45 ไร่
       
       จากนั้นพระยารัษฎานุประดิษฐ์จึงจัดให้ข้าราชการไปเรียนวิชาปลูกยางเพื่อนำไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านรู้จักปลูก รู้จักทำสวนยางบ้าง และได้นำพันธุ์ยางดีๆ ไปแจกจ่ายให้คนใต้รู้จักปลูกยางกันแพร่หลายจนทำให้ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดายางพาราของไทยมาจนทุกวันนี้ครับ
       
       สุทัศน์ ยกส้าน ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสถาน

ขอบคุณที่มาจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


ประวัติความเป็นมาของยางพารา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

วิธีเก็บไข่ให้ได้นานๆ

วิธีเก็บไข่ให้ได้นานๆ


เปิดอ่าน 23,408 ครั้ง
อำลาโทรเลขไทย 133 ปี

อำลาโทรเลขไทย 133 ปี


เปิดอ่าน 18,662 ครั้ง
การทำเทียนหอมกันยุง

การทำเทียนหอมกันยุง


เปิดอ่าน 113,999 ครั้ง
วิธีปลูกผักชีในกระถาง

วิธีปลูกผักชีในกระถาง


เปิดอ่าน 7,933 ครั้ง
ผักกระเฉด

ผักกระเฉด


เปิดอ่าน 18,026 ครั้ง
ประโยชน์ของ "ผักแพว"

ประโยชน์ของ "ผักแพว"


เปิดอ่าน 18,229 ครั้ง
ว่านหางช้าง

ว่านหางช้าง


เปิดอ่าน 20,962 ครั้ง
Web 2.0

Web 2.0


เปิดอ่าน 15,433 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

เปิดอ่าน 107,417 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ประโยชน์จากปูทะเล
ประโยชน์จากปูทะเล
เปิดอ่าน 29,632 ☕ คลิกอ่านเลย

กล้วยป่า
กล้วยป่า
เปิดอ่าน 15,721 ☕ คลิกอ่านเลย

ปลูกเมล่อนหน้าแล้ง
ปลูกเมล่อนหน้าแล้ง
เปิดอ่าน 19,784 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีทำกระทง
วิธีทำกระทง
เปิดอ่าน 34,584 ☕ คลิกอ่านเลย

ปลูกมะเขือเปราะกี่วันเก็บได้
ปลูกมะเขือเปราะกี่วันเก็บได้
เปิดอ่าน 7,276 ☕ คลิกอ่านเลย

เป็ดบาบารี่
เป็ดบาบารี่
เปิดอ่าน 28,787 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คลิปรายการ "เจาะข่าวเด่น" ดร.ชินภัทร ชี้แจงกรณี "ลดการบ้านนักเรียน"
คลิปรายการ "เจาะข่าวเด่น" ดร.ชินภัทร ชี้แจงกรณี "ลดการบ้านนักเรียน"
เปิดอ่าน 14,279 ครั้ง

ปรับการเรียนแนวใหม่สู้ "โอเน็ต" ให้ได้ผล
ปรับการเรียนแนวใหม่สู้ "โอเน็ต" ให้ได้ผล
เปิดอ่าน 10,985 ครั้ง

9 ทริคดี ๆ เพิ่มความจำ อัพสมองให้สดใส
9 ทริคดี ๆ เพิ่มความจำ อัพสมองให้สดใส
เปิดอ่าน 11,380 ครั้ง

ที่มาของคำว่า "อัสสัมชัญ"
ที่มาของคำว่า "อัสสัมชัญ"
เปิดอ่าน 18,865 ครั้ง

สตอร์มเสิร์จ (Storm surge) คืออะไร
สตอร์มเสิร์จ (Storm surge) คืออะไร
เปิดอ่าน 15,810 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ