ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความเทคโนโลยีการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"ผลสอบ" วัดความสามารถ การทำงานได้จริงหรือ ?


บทความเทคโนโลยีการศึกษา 25 ส.ค. 2557 เวลา 21:18 น. เปิดอ่าน : 13,983 ครั้ง
Advertisement

"ผลสอบ" วัดความสามารถ การทำงานได้จริงหรือ ?

Advertisement

คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์ ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ http://tamrongsakk.blogspot.com

จากเด็กจนโต จนพร้อมที่จะทำงานหาเลี้ยงตัวเองได้ ยุคนี้คงจะต้องใช้เวลาประมาณ 19 ปี คือเรียนอนุบาล 3 ปี ประถม 6 ปี มัธยม 6 ปี และอุดมศึกษาประมาณ 4 ปี ซึ่งระยะเวลาที่ผมบอกมานี้ นักเรียนทุกคนล้วนแต่อยู่ในระบบการทดสอบ โดยมี "ข้อสอบ" เป็นตัวชี้วัดหลัก (Key Performance Indicators-KPIs) ว่าจะมีความสามารถ "เลื่อนชั้น" ขึ้นไปเรียนในระดับที่สูงขึ้นหรือไม่ ซึ่งเรา-ท่านล้วนแต่เคยผ่านระบบอย่างนี้มาทั้งสิ้น

แถมยังเชื่อว่าถ้าใครสอบผ่านได้คะแนนสูงเมื่อเรียนจบจะไปทำงานแล้วจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ทำงานเก่งฯลฯ จนเกิดค่านิยมในหลายองค์กรที่เวลาจะพิจารณารับคนเข้าทำงานจะดูจากสถาบันการศึกษาที่จบมาบ้าง ดูจากเกรดเฉลี่ยบ้าง

คือถ้าผู้สมัครคนไหนจบจากสถาบันการศึกษาชื่อดัง หรือจบมาด้วยเกรดที่สูง จะพิจารณารับเข้าทำงานอย่างง่ายดาย และตั้งเงินเดือนให้สูงกว่าผู้สมัครคนอื่น ๆที่ไม่ได้จบสถาบันที่บริษัทกำหนด หรือมีเกรดเฉลี่ยไม่ถึงเกียรตินิยม โดยใช้ตรรกะเชื่อมโยงแบบ Halo Effect (Search คำว่า "Halo Effect กับการบริหารงานบุคคล" ในกูเกิลนะครับ ผมเคยเขียนไว้แล้ว)

ผลคือหลายครั้งที่ความเชื่อแบบนี้เกิดการคัดเลือกคนที่ผิดพลาดเข้ามาทำงานในองค์กร !

เพราะคนเรียนเก่งสามารถสอบผ่านวิชาใด ๆ ก็ตามได้คะแนนสูง หรือจบจากสถาบันชื่อดัง ก็ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จแบบที่จะเชื่อถือได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ว่าจะทำงานเก่งและประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานระยะยาวไปด้วยเสมอนะซิครับแล้วอะไรเป็นเหตุปัจจัยที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการทำงาน ?

Competency คือคำตอบครับ...

อธิบายแบบง่าย ๆ คือ ถ้าคนคนไหนสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ (Knowledge-K) ที่มีอยู่ในตัวเอง, ใช้ทักษะ (Skills-S) ที่มีอยู่ในตัวเอง และตำแหน่งงานนั้น ๆ ต้องการคนที่มีทักษะ หรือความชำนาญในงานแบบนั้น และใช้คุณลักษณะภายใน (Attributes-A) ที่คนคนนั้นมีอยู่ในตัวเอง เช่น งานในตำแหน่งนี้ต้องการคนที่มีความละเอียดรอบคอบ, ต้องการคนที่มีความรับผิดชอบสูง, ต้องการคนอดทน ฯลฯ

เห็นไหมครับว่า K S A เหล่านี้มันจะต้องมาเรียนรู้และเพิ่มพูนเอาจากการทำงานจริงแทบทั้งหมด !

โธ่ ! ก็การทำงานไม่ใช่การท่องตำราไปเพื่อสอบให้ผ่านนี่ครับ...แต่ต้องการคนที่สามารถประยุกต์เรื่องต่าง ๆ ในงานมาสู่ภาคปฏิบัติได้จริงต่างหาก

พูดง่าย ๆ ว่าคนที่จะทำงานแล้วประสบความสำเร็จคือคนที่มี K S A ในตัวเอง และสามารถประยุกต์ใช้ K S Aที่มีอยู่ในตัวเองให้เหมาะกับงานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ คนคนนั้นจะสามารถเติบโตก้าวหน้า ประสบความสำเร็จในงานที่ทำนั้นได้เป็นอย่างดี และเป็นคนที่องค์กรต้องการ ซึ่งเราก็จะเรียกว่า คนคนนั้นมี "Competency" นั่นเองครับ

ส่วนผลการสอบ, เกรดเฉลี่ย, สถาบันที่จบนั้นจะใช้เพียงแค่เป็นข้อมูลในการสมัครงานตอนที่เพิ่งจบใหม่เท่านั้น เมื่อประสบการณ์ทำงานเริ่มมากขึ้นผมว่าคงไม่มีใครนำเอาเกรดเฉลี่ย, สถาบันที่จบ มาพิจารณาร่วมกับผลการปฏิบัติงานเพื่อนำไปขึ้นเงินเดือนหรือจ่ายโบนัสอย่างแน่นอน

การสอบวิชาต่าง ๆ นั้นจะใช้วัดผลได้ก็ตอนเรียนหนังสือเท่านั้น เพราะไม่มีอะไรจะมาวัดสัมฤทธิผลในเรื่องการเรียนได้นอกจากการสอบ

แต่เหตุใดเมื่อเข้ามาสู่โลกการทำงานองค์กรหลายแห่งจึงยังไปยึดติดกับ "การสอบ" สมัยเรียนมาคาดคะเน แถมคิดมโนไปว่า ถ้าเด็กคนไหนมีผลการทดสอบ (ไม่ว่าจะเป็นวิชาใด ๆ ขณะเรียนหนังสือ) ที่ได้คะแนนสูงแล้วจะประสบความสำเร็จในการทำงานไปด้วยละครับ ?

แถมยังไปให้เงินเดือน (ของคนที่สอบได้คะแนนสูงหรือจบจากสถาบันที่บริษัทกำหนดไว้) สูงกว่าพนักงานคนอื่น ๆ ที่จบคุณวุฒิเดียวกันเสียอีก (บางแห่งเขาเรียกค่าเกียรตินิยม) ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เริ่มทำงานพิสูจน์ฝีมือในการทำงานเลยด้วยซ้ำ

องค์กรที่มีนโยบายแบบนี้จะแน่ใจได้หรือไม่ครับว่าคนที่จบเกียรตินิยม "ทุกคน" จะทำงานแล้วประสบความสำเร็จ ก้าวหน้า มี Competency เหมาะกับงานที่เขารับผิดชอบ ส่วนคนที่จบ 2.00 หรือคนที่ไม่ได้จบจากสถาบันชื่อดังจะทำงานแล้วไม่ได้เรื่องขาด Competency และไม่มีวันที่จะก้าวหน้า หรือประสบความสำเร็จ ?

ที่ผมพูดมานี้ไม่ได้แปลว่าผมแอนตี้คนที่จบเกียรตินิยมหรือจบจากสถาบันดัง ๆ นะครับ แต่เพียงแค่อยากจะแชร์ประสบการณ์และให้ข้อคิดในอีกมุมหนึ่ง เพื่อให้องค์กรได้หันกลับมาคิดทบทวนอย่างมีเหตุมีผล เพื่อไม่ให้ค่านิยมที่เป็น Halo Effect มาทำให้เกิดปัญหาการจ้างและรับคนเข้าทำงานด้วยตรรกะที่ไม่ถูกต้อง และยังจะทำให้เกิดปัญหาเชิงแรงงานสัมพันธ์ตามมาในอนาคต

เพราะถ้าจบมาคะแนนสูงแล้วทำงานได้ดีจริงจะได้เงินเดือนมากกว่าคนอื่นคงไม่มีใครข้องใจ แต่จบมาคะแนนสูงแล้วทำงานสู้คนอื่นไม่ได้ แต่ดันได้เงินเดือนมากกว่าคนอื่นตั้งแต่ต้น ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้พิสูจน์ฝีมือน่ะมันมีแต่เสียกับเสียนะครับ

เสียแรกคือ บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างแบบ Overpaid คือจ่ายเงินมากในขณะที่พนักงานทำงานไม่คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป เสียที่สองคือ เสียความรู้สึกสำหรับพนักงานที่ทำงานดีแต่ไม่ได้จบมาได้เกรดสูง หรือไม่ได้จบมาจากสถาบันดัง ๆ แล้วเสียที่สามคือ ถ้าคนที่ทำงานดี (แต่ไม่ได้จบเกียรตินิยมหรือไม่ได้จบจากสถาบันชื่อดัง) รับไม่ได้ก็จะลาออกไปทำให้บริษัทเสียพนักงานที่ทำงานดีไปในที่สุด ฝากไว้เป็นข้อคิดกันดูสำหรับองค์กรที่ยังมีนโยบายทำนองนี้นะครับ





ขอบคุณที่มาจาก ประชาชาติธุรกิจ


"ผลสอบ" วัดความสามารถ การทำงานได้จริงหรือ ?ผลสอบวัดความสามารถการทำงานได้จริงหรือ?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

องค์ประกอบของระบบ

องค์ประกอบของระบบ


เปิดอ่าน 136,281 ครั้ง
แนวทางการสร้างคอร์สแวร์

แนวทางการสร้างคอร์สแวร์


เปิดอ่าน 16,380 ครั้ง
คอมพิวเตอร์กับการศึกษา

คอมพิวเตอร์กับการศึกษา


เปิดอ่าน 119,656 ครั้ง
วิธีการเชิงระบบ

วิธีการเชิงระบบ


เปิดอ่าน 45,426 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย

มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย

เปิดอ่าน 13,956 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หลักการออกแบบของ ADDIE model
หลักการออกแบบของ ADDIE model
เปิดอ่าน 174,774 ☕ คลิกอ่านเลย

อนาคตหนังสือเรียนไทยในยุคก้าวไกลของ IT
อนาคตหนังสือเรียนไทยในยุคก้าวไกลของ IT
เปิดอ่าน 26,787 ☕ คลิกอ่านเลย

นักเทคโนโลยีการศึกษา
นักเทคโนโลยีการศึกษา
เปิดอ่าน 41,387 ☕ คลิกอ่านเลย

A Systems Approach for Developing Technological Literacy
A Systems Approach for Developing Technological Literacy
เปิดอ่าน 11,104 ☕ คลิกอ่านเลย

การประเมินความจำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์
การประเมินความจำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์
เปิดอ่าน 19,651 ☕ คลิกอ่านเลย

กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2555
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2555
เปิดอ่าน 34,777 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ปักหมุด 7 พิกัดไหว้พระกรุงเทพฯ โดนใจสายมู
ปักหมุด 7 พิกัดไหว้พระกรุงเทพฯ โดนใจสายมู
เปิดอ่าน 1,229 ครั้ง

ศรีลังกาสั่งปิดโรงเรียน-หน่วยราชการ ให้จนท.ทำงานที่บ้านประหยัดน้ำมัน
ศรีลังกาสั่งปิดโรงเรียน-หน่วยราชการ ให้จนท.ทำงานที่บ้านประหยัดน้ำมัน
เปิดอ่าน 3,134 ครั้ง

แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา โดย คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา พฤษภาคม 2562
แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา โดย คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา พฤษภาคม 2562
เปิดอ่าน 19,102 ครั้ง

10 มายากล เทคนิควิทยาศาสตร์ จำไว้ไปโชว์เพื่อนๆ
10 มายากล เทคนิควิทยาศาสตร์ จำไว้ไปโชว์เพื่อนๆ
เปิดอ่าน 65,696 ครั้ง

คู่มือถนอมผิวสวยใต้แสงแดด
คู่มือถนอมผิวสวยใต้แสงแดด
เปิดอ่าน 13,018 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ