ตำนานเพลงเพื่อชีวิต
ตำนานเพลงเพื่อชีวิต เสรีภาพจากบทเพลง
ในวันที่ท้องฟ้ามัวหมอง แผ่นดินลุกร้อนเป็นไฟ ประชาชนคนไทยแร้นแค้นทุกข์ยาก หนุ่มสาวเดือนตุลาครั้งอดีต รวมพลังแข็งขันด้วยความหวังอันแรงกล้า ดุจดั่งกำแพงหินอันยิ่งใหญ่ ร่วมต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย คืนอำนาจการปกครองสู่ประชาชน ณ บัดนี้ ผ่านมาแล้วหลายสิบปีที่ชอกช้ำ เก็บเรื่องราวในคืนวันอันขมขื่น ถ่ายทอดไว้เป็นความความทรงจำอันเจ็บปวดผ่านบทเพลงเพื่อชีวิต
ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2480 จุดเริ่มต้นของแนวเพลงชีวิตยุคบุกเบิกได้ถือกำเนิดขึ้น รวมทั้งเพลงเสียดสียั่วล้อสังคม นับได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ศิลปินมีบทบาทสะท้อนความทุกข์ยากของผู้คน รวมถึงการโกงกินของผู้แทนและนักการเมือง ออกมาในบทเพลงของพวกเขา โดยมีสภาพที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนในช่วงระหว่างสงครามและหลังสงคราม
ผู้บุกเบิกแนวเพลงชีวิตเป็นคนแรกนี้ นั่นก็คือ อาจารย์ แสงนภา บุญราศรี เป็นผู้ร้องเพลงที่สะท้อนภาพปัญหาของชีวิต และปัญหาของสังคมอยู่ในยุคแรกๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความทุกข์ยากของคนปาดตาลในเพลงที่มีชื่อว่า “คนปาดตาล” ในอดีต คนปาดตาลเป็นอาชีพหนึ่งที่ทุกข์ยาก มีหน้าที่ปีนต้นตาลขึ้นไปปาดเอาน้ำตาลลงมาแล้วมาทำน้ำตาล และอีกหลายๆบทเพลง ที่ไม่สามารถฟังได้ด้วยเทคโนโลยีการบันทึกเสียงใดๆ หรือจะกล่าวอีกนัยนึงได้ว่าเราจะฟังเพลงของอาจารย์แสงนภาได้จากผู้อาวุโสอายุ 60 ปีขึ้นไป บางท่านที่ยังพอจดจำเพลงชีวิตของนักเพลงผู้นี้เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมากสำหรับบทเพลงที่มีความหมายและทรงคุณค่าอย่างนี้ ที่ปราศจากการเหลียวแลของคนยุคนั้น
ในช่วงทศวรรษ 2490 ความตื่นตัวของวงการเพลงที่มีสถานีวิทยุและธุรกิจแผ่นเสียงเป็นแรงกระตุ้นสำคัญ ที่ทำให้รูปแบบและเนื้อ หาเพลงชีวิต พัฒนาไปในทิศทางที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น มวลชนมีการรับรู้กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงทศวรรษ 2500 เป็นช่วงที่เพลงชีวิตซบเซาถึงขีดสุด แต่ได้เกิดเพลงชีวิตอีกแนวหนึ่งโดยนักเขียนนาม “จิตร ภูมิศักดิ์” ขึ้นภายในกำแพงคุก ในช่วงที่ถูกจองจำเป็นนักโทษการเมือง และพัฒนาเป็นต้นแบบของ “เพลงเพื่อชีวิต” ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 โดยนิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย
ท่ามกลางความมืดมิดในยุคเผด็จการครองเมืองก่อน 14 ตุลา 2516 ณ ห้วงเวลานั้น จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนบทความที่เสนอแนวคิดเรื่อง “ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน” ขึ้นมา และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดแนวเพลงใหม่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา นั่นก็คือ “เพลงเพื่อชีวิต” กล่าวได้ว่าเพลงเพื่อชีวิตคือ เพชรเม็ดงามทางด้านวัฒนธรรม อันเกิดจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
เมื่อเอ่ยถึง เพลงเพื่อชีวิต เรามักจะนึกถึงเหตุการณ์บ้านเมืองสมัย 14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519 เป็นช่วงที่บทเพลงเพื่อชีวิตทำหน้าที่ของมันจนถึงขีดสุด กระทั่งสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆ ทางการเมืองในยุคสมัยนั้น
“ สู้เข้าไปอย่าได้ถอย
มวลชนคอยเอาใจช่วยอยู่
รวมพลังทำลายเหล่าศัตรู
พวกเราสู้เพื่อความยุติธรรม
เราเดินเคียงบ่าเคียงไหล่
สู้ต่อไปด้วยใจมุ่งมั่น
เขาจะฟาดเขาจะฟัน
เราไม่พรั่นพวกเราสู้ตาย
สู้เข้าไปอย่าได้หนี
เพื่อเสรีภาพอันยิ่งใหญ่
รวมพลังผองเราเหล่าชาวไทย
สู้เข้าไปพวกเราเสรีชน”
บทเพลงข้างต้นเป็นบทเพลงที่มีชื่อว่า “สู้ไม่ถอย” เป็นบทเพลงแรกของแนวเพลงเพื่อชีวิต แต่งขึ้นจากเหตุการณ์เรียกร้องให้รับนักศึกษา 9 คนในมหาวิทยาลัยรามคำแหง กลับเข้าเรียนหนังสือต่อ เพราะว่ามีคำสั่งของอธิการบดี ‘ปลด’ นักศึกษา 9 คนออกจากมหาวิทยาลัย เนื่องจากนักศึกษา 9 คนนี้ ไปเอาเรื่องราวของรัฐบาล โดยให้คำจำกัดความว่าเป็น “รัฐบาลสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย” ตีแผ่ลงหนังสือของรามคำแหงในขณะนั้นแล้วตีพิมพ์ออกมา สืบเนื่องมาด้วยว่า อยู่ๆมาวันหนึ่งมีเฮลิคอปเตอร์ตกในทุ่งใหญ่นเรศวร แล้วพบว่าในซากของเครื่องที่ตกนั้น มีซากสัตว์เต็มไปหมดเลย รัฐบาลในขณะนั้นมีการล่าสัตว์ มีการทำร้ายทารุณสัตว์ป่ามากมายเหลือเกิน เป็นเรื่องหน้าเศร้าใจยิ่งนักของคนยุคนั้นจนถึงปัจจุบัน
เป็นผลให้สื่อมวลชนและนักศึกษาร่วมมือกันตีแผ่เปิดโปงการกระทำผิดกฎหมายของฝ่ายราชการ และได้รับความสนใจจากประชาชน ทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลได้รับความกระทบ กระเทือนอย่างหนัก นักศึกษาทั้ง 9 คนนี้ ในฐานะคนทำหนังสือก็ตีแผ่ เลยโดนอาจารย์ ดอกเตอร์ ศักดิ์ ซึ่งเป็นอธิการบดีในขณะนั้น ปลดออกจากการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาและประชา ชนจำนวนมากเห็นว่าไม่ยุติธรรม จึงรวมตัวกันประท้วงที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ที่มีการชุมนุมประท้วงข้ามวันข้ามคืน ทั้งยังมีการแต่งเพลง “สู้ไม่ถอย” โดย อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อีกด้วย หลังจากทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงรับตัวนักศึกษาทั้ง 9 คนแล้ว ขบวนประท้วงก็เลยแปรขบวนไปเป็นการเรียกร้องรัฐธรรมนูญต่อไป
“สุรชัย จันทิมาธร” หรือที่รู้จักกันในนาม “หงา คาราวาน” ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตผู้ยิ่งใหญ่ ก็ถือกำเนิดบทบาทของการเป็นศิลปินเพื่อชีวิตขึ้นมาในเหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ร่วมในการประท้วง และคอยแต่งบทกลอนต่างๆส่งให้โฆษกบนเวทีอ่านให้ประชา ชนฟัง เพื่อปลุกเร้าขวัญกำลังใจและรวบรวมความคิดให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และยังได้แต่งเพลง “สานแสงทอง” มีเนื้อร้องอยู่ว่า
“ขอผองเราจงมาร่วมกัน ผูกสัมพันธ์ยิ่งใหญ่
สานแสงทองของความเป็นไทย ด้วยหัวใจบริสุทธิ์”
บทเพลง “สู้ไม่ถอย” และ “สานแสงทอง” เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ในส่วนของบทเพลงสู้ไม่ถอยนั้นเป็นเพลงมาร์ชปลุกใจที่ใช้ในการรวมพลังประท้วง ส่วนเพลงสานแสงทองเกิดจากความคำนึงถึงเสรีภาพของประชาชน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สองบทเพลงนี้ก็คือจุดกำเนิดของบทเพลงเพื่อชีวิตนั่นเอง
หลังจากนั้นไม่นาน มีนักศึกษาและประชาชนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันโดยเรียกตัวเองว่า “กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ” ได้มีการแจกใบปลิวและหนังสือเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน จนในที่สุด พวกเขาก็ถูกจับกุมตัวในข้อหาว่าเป็นกบฏและมีพฤติกรรมเป็นคอมมิวนิสต์ ทำให้องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมมือผนึกกำลังกันเคลื่อนไหว โดยใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นศูนย์กลางการชุมนุม และได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกฝ่ายซึ่งเล็งเห็นว่ารัฐบาลทำเกินกว่าเหตุ ในที่สุด ศูนย์กลางนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ได้ยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมดภายในเที่ยงวันที่ 13 ตุลาคม 2516 แต่ก็ได้รับคำตอบปฏิเสธจากรัฐบาล ต่อจากนั้นเอง คลื่นนักศึกษาประชาชนนับแสนๆ จึงเคลื่อนตัวออกจากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มุ่งตรงไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและลานพระบรมรูปทรงม้า
ที่สุดแล้วในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ก็เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจทหารกับ ประชาชน มีการยิงก๊าซน้ำตาเข้าใส่ผู้ชุมนุมประท้วงจากเจ้าหน้าที่ สถานการณ์เริ่มลุกลามขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง ชีวิตเลือดเนื้อของผู้คนจำนวนมากต้องถูกเข่นฆ่า สถานที่ราชการหลายแห่งถูกประชาชนเผาทำลาย เป็นความเสียหายร้ายแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ด้วยเหตุที่ว่าคนไทยเข่นฆ่าคนไทยด้วยกันเอง
ในสมัยนั้น วงดนตรีเพื่อชีวิตวงแรกที่สร้างความประทับใจให้แก่คนรุ่นนั้นเป็นอย่างมาก ก็คือวงดนตรี “คาราวาน” ถือได้ว่าเป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอดีต วงดนตรีคาราวานเป็นจุดเริ่มต้นการขยายตัวของดนตรีเพื่อชีวิต ได้มีการสร้างสรรค์ผลงานเพลงมากมาย โดยการเข้าร่วมกับขบวนการนักศึกษา ความโด่งดัง และความสามารถในเชิงดนตรีของพวกเขาส่งผลให้บทเพลงเพื่อชีวิตสามารถเปิดการแสดงร่วมกับวงดนตรีในเชิงธุรกิจได้ ผลงานชุดแรกของวงคาราวานมีชื่อว่า “คนกับควาย” ซึ่งปัจจุบันนี้หาฟังต้นฉบับจริงๆที่บันทึกเสียงไว้ในยุคนั้นได้ยากมาก มีเนื้อหาสาระสะท้อนความทุกข์ยากของชาวนา และชุดที่สองในชื่อ “อเมริกันอันตราย”เป็นบทเพลงที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา
เพลงเพื่อชีวิตได้รับความนิยมสูงสุดในแวดวงนิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ในปี พ.ศ.2517-2519 วงดนตรีเพื่อชีวิตหลายวงเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ มีเพลงเพื่อชีวิตมากกว่า