น่าหม่ำ น้ำลายไหล คำนี้เนี่ย ฝาหรั่งเขาพูดอย่างนี้นะเพื่อน ๆ
Mouthwatering
ผมว่าศัพท์วันนี้หลายคนคงเคยผ่านหูผ่านตามาบ้างแล้ว ความหมายที่เราคุ้นเคยก็คือ Appealing to the sense of taste; appetizing รสชาดดี น่ารับประทาน ชวนน้ำลายสอ นั่นแหละครับ ส่วนการออกเสียงก็ไม่มีอะไรพิสดารครับคือ ถ้าเป็น AmE ออกเสียงว่า เม๊าท์วอเถ่อหริ่ง ส่วน BrE จะออกเสียงเป็น เม๊าท์วอถริ่ง คือคนอังกฤษจะควบเสียงสองพยางค์หลัง
ส่วนใหญ่เราจะเห็นคำนี้ (adj) ใช้คู่กับ dish, food, menu, meal, aroma หรือ recipe ซะเป็นส่วนใหญ่ใช่ไหมครับ เช่น
Menu could increase sales, so we should create a mouthwatering menu.
(เมนูหรือรายการอาหารช่วยเพิ่มยอดขายได้นะ เพราะฉะนั้นเราควรทำเมนูที่ดูน่าหม่ำกันหน่อย)
What is that mouthwatering dish? I think we should order that one too.
(อาหารจานชวนน้ำลายสอนั่นคืออะไรอ่ะ ฉันว่าเราน่าจะสั่งจานนั้นด้วยนะ)
Look, there are varieties of mouthwatering food on buffet line. I guess I might gain some weight after this meal.
(ดูสิ อาหารตามไลน์บุฟเฟ่ต์มีแต่ดูน่าทานทั้งนั้นเลย ฉันว่าหลังมือนี้น้ำหนักตัวฉันคงเพิ่มแน่ๆ เลย)
พอเห็นตัวอย่างแล้ว ก็ลองนำไปแต่งจับคู่กับ meal, aroma หรือ recipe ดูบ้างนะครับ
แต่ว่าฤทธิเดชของ mouthwatering หรือบางทีเขียนเป็น mouth-watering ยังไม่จบแค่นี้ครับ เรามักจะเห็นนำไปจับคู่กับ clash ได้อีก และมักจะเจอในข่าวแวดวงกีฬาครับ
If Federer meets Djokovic and Nadal meets Murray in semi-final of 2009 Australian Open, they must be mouthwatering clashes.
(นี่ถ้าเฟดเดอเรอร์เจอกับจอร์คโควิช และนาดาลดวลกับเมอรีย์ในรอบรองชนะเลิศของเทนนิสออสเตรเลี่ยนโอเพ่นแล้วล่ะก็ มันต้องเป็นการประทะกันที่ชวนให้ติดตามแน่ๆ เลย แค่คิดก็น้ำลายไหลแล้ว)
ที่ผมยกตัวอย่างข้างต้นนี้ในความเป็นจริงปรากฏว่าไม่ได้เกิดขึ้น เพราะจอร์คโควิชและเมอรีย์ด่วนตกรอบไปก่อน
Whenever Big Four play against each another, they are truly mouth-watering clashes.
(เมื่อไหร่ที่ทีมในบิ๊กโฟร์เจอกันเอง (คือลิเวอร์พูล แมนยู อาร์เซน่อลและเชลซี) รับรองได้ว่าเป็นการประทะกันที่น่าดูน่าชมเป็นที่สุด)
จริงๆ mouthwatering ยังไปจับคู่กับคำอื่นๆ ได้อีกนะครับ แต่วันนี้คุยกันพอหอมปากหอมคอก่อนก็แล้วกัน