เพื่อน ๆ เคยมีอาการหูผึ่ง อยากรู้อยากเห็นเรื่องของคนอื่นหรือเปล่า มาดูคำเด็ดคำนี้กัน
Be all ears
ลองอ่านประโยคนี้ดูสิครับว่าเราเข้าใจความหมายมากน้อยแค่ไหน
Most of students are absent-minded during the lecture, but once the teacher changes the subject to hot gossip they are all ears.
จะเข้าใจประโยคนี้ได้ก็ต้องเข้าใจสำนวน be all ears กันก่อนครับ
ความหมายของสำนวนนี้ก็คือ to be very keen to hear what someone is going to tell you คือตั้งใจฟังชนิดใจจดใจจ่อ หรือ พูดง่ายๆ ว่าหูผึ่ง นั่นเอง ดังนั้นความหมายประโยคข้างต้นก็คือ นักศึกษาส่วนใหญ่พากันใจลอยระหว่างฟังเลคเชอร์ แต่พออาจารย์เปลี่ยนหัวข้อมาเป็นข่าวซุบซิบนินทาที่กำลังฮอทเท่านั้นแหละ พวกเขาก็หูผึ่งกันเลยทีเดียว
ฝากข้อสังเกตไว้นิดว่า ear เติม s เสมอนะครับสำหรับสำนวนนี้
เอาล่ะครับ งั้นลองมาดูตัวอย่างประโยคอื่นๆ กันบ้าง
People around the world are all ears to here new US president’s economic recovery plan.
(ประชาชนทั่วโลกต่างใจจดใจจ่อที่จะได้ฟังแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่)
ตัวอย่างถัดไปครับ
A: I have a big secret, do you want to know it?
(ฉันมีความลับสุดยอด เธออยากรู้ไหมล่ะ)
B: Sure, I’m all ears.
(แน่นอน อยากฟังจนหูผึ่งอยู่แล้ว)
ตัวอย่างปิดท้ายกันครับ
I know how to get his attention, just mention about golf and he will be all ears.
(ฉันรู้วิธีที่จะทำให้เขาสนใจฟัง ก็แค่พูดถึงกีฬากอล์ฟเท่านั้นแหละ รับรองเขาหูผึ่งทันที)
ครั้งต่อไปเรามาว่ากันต่อกับสำนวนคู่แฝดของ Be on ears กันครับ
______________________________________