ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ลงโทษอย่างไรให้นักเรียนได้ดี


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,740 ครั้ง
ลงโทษอย่างไรให้นักเรียนได้ดี

Advertisement

❝ การลงโทษต้องกระทำอย่างยุติธรรม ไม่ใช้วิธีที่รุนแรงหรือดุร้าย ไม่กระทำ ในขณะที่ผู้ใหญ่ยังมีอารมณ์โกรธและจะต้องไม่กระทำให้นักเรียนได้รับความอับอาย ต้องทำด้วยความเมตตา ให้คิดเสมอว่าการลงโทษนักเรียนนั้นไม่ใช่การทำให้นักเรียนเจ็บปวดทั้งทางร่างกายจิตใจ หรือเป็นการสนองอารมณ์ของครู แต่มีจุดมุงหมายให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น ❞
ลงโทษอย่างไรให้นักเรียนได้ดี
 
วุฒิภัทร วรธนบดินท์
นักศึกษาปริญญาโท
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
 

“รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”สุภาษิตนี้อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการเลี้ยงดูเด็ก ทั้งในบ้าน และโรงเรียน คนรุ่นก่อนเชื่อกันว่า "ไม้เรียวสร้างคนให้เป็นคนดี" จึงยินยอมให้ครูซึ่งถือเสมือนพ่อแม่คนที่สองตีบุตรหลานของตนได้ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านสังคมเปลี่ยน ครูจำนวนไม่น้อยละทิ้งจริยธรรมสำนึกของความเป็นครู และใช้ไม้เรียวรวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นเครื่องระบายอารมณ์ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จึงไม่ต้องการที่จะให้ครูใช้ไม้เรียวและความรุนแรงคุมประพฤติบุตรหลานของตนอีกต่อไป       

การเปลี่ยนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและอื่นๆ ในโลกการสื่อสารไร้พรหมแดนก่อให้เกิดการแข่งขันกัน การผสมกลมกลืนกันทางวัฒนธรรม การเรียนรู้และการเลียนแบบในด้านความคิด      ความเชื่อ พฤติกรรมซึ่งกันและกัน จะเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดก็ตามย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความประพฤติปฏิบัติและแบบแผนวิถีชีวิตบุคคล (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนะธรรมแห่งชาติ. 2537 : 1) สำหรับ คนไทย  ก็เช่นกัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดการปรับตัวไม่ทันภาพผสมระหว่างความทันสมัยของวัตถุและความล้าหลัง หรือล่มสลายของสถาบันต่างๆ ทางสังคมไทยและศีลธรรมอย่างรุนแรงจึงปรากฏให้เห็น (ประเวศ. 2538 : 8-9) ทำให้สังคมไทย กลายเป็นสังคมที่เริ่มขาดระเบียบวินัย ทั้งในครอบครัวรวมไปถึงบุคคลโดยรวมของประเทศ (ต้าว. 2539 : 19) โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนซึ่งอยู่ในวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่ไม่เหมาะสม ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จำเป็นต้องมีการรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาช่วยเหลือนักเรียนเหล่านั้นให้มีความประพฤติไปในทางที่เหมาะสม สร้างความเจริญงอกงาม ทางปัญญา ความคิดจิตใจ  และคุณธรรม ให้เป็นอนาคตที่แจ่มใสของชาติ สมกับเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ายิ่งของสังคม (กรมพลศึกษา. 2537 : บทนำ)
ด้วยเหตุนี้ กฎ ระเบียบ วิธีการทำโทษนักเรียนจึงมีความสำคัญมากที่จะควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยในตนเอง รู้จักรับผิดชอบในการกระทำของตน  ผู้บริหารและครูจึงต้องมีความรู้ในเรื่องของระเบียบ แนวคิด และวิธีการต่างๆ ในการลงโทษนักเรียน หากผู้บริหารและครูลงโทษนักเรียนด้วยอารมณ์หรือรุนแรงเกินไปอาจเกิดผลเสียหลายฝ่าย ทั้งกับนักเรียน กับตัวครูเองและสถานศึกษา ดังนั้นการลงโทษนักเรียนจึงควรมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้
ความหมายการลงโทษ
กรมสามัญศึกษา (2534: 12) ได้ให้ความหมายของการลงโทษนักเรียนไว้ในกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานสารวัตรนักเรียนว่า การลงโทษ หมายถึง การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติผิด หรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งออกตามความในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 132 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสั่งสอนให้มีความประพฤติดีหรือให้เข็ดหลาบเพื่อจะได้ไม่ประพฤติผิดอีก
สุมน อมรวิวัฒน์ และคณะ (2535: 367) ได้ให้ความหมายของการทำ โทษหรือการลงโทษในกระบวนการเรียนการสอนของไทยว่าหมายถึง วิธีการต่างๆ ที่ครูใช้เพื่อทำ ให้นักเรียนได้รับความเจ็บปวด ทรมานทางกายหรือทางจิตใจ ในระดับใดระดับหนึ่งเพื่อหวังผลดังนี้
1. บังคับบัญชาให้นักเรียนอยู่ในระเบียบแบบแผนที่กำหนด
2. ควบคุมให้นักเรียนตั้งใจเรียนจนได้ผลดี
3. ปกครองให้นักเรียนอยู่ในระเบียบเพื่อที่ครูจะได้สอนได้โดยสะดวก
4. อบรมจิตใจและฝึกฝนให้นักเรียนมีวินัยและความประพฤติดีขึ้น
5. ดัดสันดานของนักเรียน
 
หลักในการลงโทษนักเรียน
Biehler, & Snowman (1990: 344) ได้กล่าวถึงการลงโทษว่าเป็นเทคนิคที่แพร่หลายที่สุดในการปรับพฤติกรรมโดยเฉพาะวิธีลงโทษทางกายและเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับการโต้แย้งมากที่สุด
Hyman & D’ Alessandro (1984 อ้างถึงใน พรรณี  ชูทัย เจนจิต, 2538: 330-331) ได้กล่าวถึงเรื่องการ    ลงโทษว่ายังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่มากทั้งนี้เนื่องจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องระเบียบวินัย และการลงโทษ ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังเห็นว่าการลงโทษจะช่วยให้เด็กเป็นคนมีระเบียบวินัย ประพฤติตัวดี ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการลงโทษมองเห็นว่าระเบียบวินัยควรเกิดจากการควบคุมภายในตนเองอันจะนำ ไปสู่การเคารพนับถือในตนเอง และจากการทดลองในห้องปฏิบัติ การพบว่าการลงโทษทางกายไม่มีประสิทธิภาพในการปรับพฤติกรรม และนอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงผลเสียของการลงโทษไว้ ดังนี้
1. การลงโทษจะมีผลระงับพฤติกรรมเพียงชั่วคราวไม่ช่วยให้ผู้รับการลงโทษรู้ว่าอะไรคือ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ผู้เรียนจะเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวจากท่าทีของผู้ใหญ่ในขณะลงโทษ
2. พฤติกรรมที่ถูกลงโทษจะยังคงมีอยู่ต่อไป ถ้าผู้ลงโทษไม่อยู่
3. การใช้การลงโทษอาจเป็นการเสริมแรงได้ในบางกรณี แต่ก็อาจทำ ให้พฤติกรรมที่ไม่
ดีมีเพิ่มมากขึ้นได้
4. การลงโทษทำ ให้เด็กเกิดการวิตกกังวล ทำ ให้ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ มีอารมณ์
ตึงเครียด มีแนวโน้มที่จะเป็นคนเก็บตัวไม่กล้าจะเผชิญปัญหา
5. เด็กมีแนวโน้มที่จะต่อต้านการลงโทษด้วยการสู้ตอบ หรือกลายเป็นคนเงียบเฉย มีลักษณะถอยหนี ไม่ยอมสุงสิงกับ ผู้ใด หากเป็นในโรงเรียนเด็กจะต่อต้านการลงโทษด้วยการหนี โรงเรียน หรือทำ ลายสิ่งของ
6. เด็กมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงผู้ลงโทษทุกครั้ง เมื่อมีโอกาส
7. การลงโทษมีแนวโน้มให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
8. การลงโทษอาจส่งผลให้ผู้เรียนเกลียด กลัวครู ตลอดจนวิชาที่เรียนและโรงเรียน
ดังนั้น การลงโทษควรใช้อย่างสุขุมรอบคอบที่สุด ควรเลือกใช้เป็นวิธีสุดท้าย และจะต้องทำ ทันทีภายหลังที่ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
สมพร สุทัศนีย์ (2523: 70-71) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการลงโทษนักเรียนไว้ว่าการลงโทษส่วนใหญ่เป็นการมุ่งเพื่อที่จะว่ากล่าวสั่งสอน โดยมีเจตนาจะแก้นิสัย และความประพฤติที่ไม่ดีของนักเรียนให้รู้สึกสำ นึกในความผิด และเว้นการประพฤติชั่วเพื่อกลับประพฤติตนในทางที่ดี ซึ่งสรุปสาระที่ควรคำนึงอันจะเป็นหลักในการลงโทษดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยวิธีแบบกลั่นแกล้ง ด้วยการเคียดแค้น และพยาบาท
2. หลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยวิธีรุนแรง
3.หลีกเลี่ยงการลงโทษนักเรียนที่กำ ลังเจ็บป่วยหรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
4.หลีกเลี่ยงการลงโทษลักษณะประจานนักเรียน
5. ก่อนลงโทษควรชี้แจงให้นักเรียนทราบด้วยว่าพฤติกรรมอะไรของเขาที่ทำ ให้เขาถูก
ลงโทษ และควรบอกพฤติกรรมที่ครูต้องการ
6.ลงโทษด้วยความยุติธรรม ไม่มีอคติ
7.พยายามให้นักเรียนรับรู้ว่า ครูลงโทษด้วยความรักความปรารถนาดีและมีเหตุผล
8. การลงโทษควรคำนึงอายุ เพศ และพัฒนาการของจิตใจนักเรียน
9. การลงโทษครูควรกระทำ ด้วยความสุขุม รอบคอบที่สุด
10. ควรลงโทษนักเรียนทันทีทำความผิด
11. การลงโทษต้องไม่พรํ่าเพรื่อมากเกินไป เน้นการลงโทษเพื่อปรับปรุงให้นักเรียนทำตัวดีขึ้น จึงจะเรียนรู้ได้ดี
12. เป็นการลงโทษที่นักเรียนยอมรับและเห็นด้วย
13.ควรลงโทษพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทุกครั้ง
14. การลงโทษควรเป็นวิธีสุดท้ายที่ครูจะใช้
 
ความผิดเกี่ยวกับระเบียบของนักเรียน โดยทั่วไปมักจะถูกตัดสินด้วยการลงโทษหรือการว่ากล่าวตักเตือน สอนแนะนำ เพื่อไม่ให้มีการปฏิบัติผิดระเบียบอีก ซึ่งพนัส หันนาคินทร์ (2528: 208–214) และทวิบูรณ์ หอมเย็น (2534: 34–35) ต่างมีความเห็นที่สอดคล้องกันในการแก้ไขการกระทำผิดระเบียบของนักเรียน โดยให้เริ่มแก้ตั้งแต่สาเหตุ โดยการค้นหาสาเหตุให้พบเสียก่อน    ในบางกรณีอาจรอไม่ได้ จำ เป็นต้องใช้วิธีการแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้า เพื่อไม่ให้ความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นอีก ดังนั้นการแก้ไข   หรือหักห้ามไม่ให้เกิดการผิดระเบียบขึ้นอาจทำได้ดังนี้
1. การลงโทษให้เจ็บกาย เช่น การเฆี่ยนตีนั้นจะต้องพิจารณาให้รอบคอบเป็นพิเศษไม่ลงโทษด้วยความโกรธหรือพยาบาท ลงโทษโดยประมาณให้เหมาะกับเหตุ โดยแน่ใจว่าการลงโทษจะแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ ขนาดของการลงโทษควรพิจารณาเกี่ยวกับอายุ เพศ ขนาดและความแข็งแรงของร่างกายของนักเรียนที่จะถูกทำ โทษ การลงโทษควรจะมีผู้รู้เห็น แต่ไม่ใช่ การประจาน ควรจะดูความนิยมของผู้ปกครองด้วยว่าสนับสนุนการลงโทษแบบนี้หรือไม่ และจะต้องรับผิดชอบ การลงโทษที่กระทำ ลงไปนั้นเหมาะสมและมีเหตุผลเพียงพอ
2.การลงโทษโดยการกักขัง
3.การชดใช้ค่าเสียหาย
4. การให้สังคมลงโทษ
5. การขู่หรือการทำ ให้ได้อาย
6. การลงโทษโดยพักการเรียนและไล่ออก
Ovard (1966 อ้างถึงใน ฉัตรชัย, 2522: 145) ได้เสนอหลักเกณฑ์เพื่อการแก้ไขหรือการทำ โทษดังนี้
1. การแก้ไขหรือการทำ โทษควรจะมีธรรมชาติเป็นการให้การศึกษาจุดประสงค์ของการแก้ไขก็เพื่อจะช่วยให้นักเรียนมีวินัยในตนเอง นักเรียนที่ประพฤติตามกฎระเบียบเพราะถือว่าเป็นสิ่งน่าพึงกระทำ การทำ โทษจะเป็นการสอนให้มีความรับผิดชอบ
2. การทำ โทษควรจะเกี่ยวข้องกับการฝ่าฝืนขอบเขต หรือระเบียบ
3. การแก้ไขหรือทำ โทษควรจะกระทำ ทันทีหรือโดยเร็วที่สุดหลังจากกระทำ ผิด
4. การทำ โทษควรจะเป็นการนำ ไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนา
5. การทำ โทษอาจจะพิจารณาอย่างรอบคอบว่าเป็นการถูกต้องไม่ควรทำโทษเมื่อโกรธ
6. การทำ โทษควรเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้
การควบคุมความประพฤติที่ใช้วิธีการลงโทษ
การควบคุมพฤติกรรมของนักเรียนด้วยการใช้วิธีลงโทษนั้น โรงเรียนต่างๆ มักนิยมใช้กันเนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และประหยัดเวลา ซึ่งครูฝ่ายปกครองมักนิยมใช้เพราะเชื่อว่าเมื่อใช้วิธีการนี้แล้วจะสามารถยุติพฤติกรรมการกระทำผิดวินัยของนักเรียนรายบุคคลได้ดี ซึ่ง กาญจนา ศรีกาฬสินธุ์ (2533: 260) ได้กล่าวถึงแนวทางการลงโทษนักเรียนไว้ว่า การลงโทษเป็นรูปแบบการควบคุมพฤติกรรมแบบแรกสุดที่ก่อให้เกิดช่องว่างซึ่งควรจะยกเลิกได้แล้ว วิธีการนี้ ช่วยแก้ไขสถานการณ์ได้เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น เพราะไม่ใช่วิธีการแก้ไขและไม่เกี่ยวข้องกับต้นเหตุของปัญหา อย่างไรก็ตามถ้าจำเป็นต้องใช้การลงโทษ ก็ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับความผิดที่เกิดขึ้น ต้องให้นักเรียนเข้าใจและการลงโทษต้องมีเหตุผลอย่างเพียงพอ การลงโทษเป็นวิธีที่จะหยุดยั้งการประพฤติผิดได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น และควรใช้เฉพาะเมื่อสามารถหาสาเหตุที่แน่นอนและสามารถแก้ไขสาเหตุนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วเท่านั้น การลงโทษต้องกระทำอย่างยุติธรรม ไม่ใช้วิธีที่รุนแรงหรือดุร้าย ไม่กระทำในขณะที่ผู้ใหญ่ยังมีอารมณ์โกรธและจะต้องไม่กระทำให้นักเรียนได้รับความอับอาย
อย่างไรก็ตามนักบริหารที่เชื่อในวิธีการนี้ ต่างให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่จะทำให้เกิดผลดีที่สุดโดยกล่าวแนะนำว่า การควบคุมความประพฤติและระเบียบวินัยนักเรียนชนิดที่มีการลงโทษนี้ จะได้ผลดีต่อเมื่อปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้     (ธีรวุฒิ, 2534: 33)
1. หลักความกระจ่างชัด (clarification principle) ตามหลักนี้ ผู้บริหารโรงเรียนพิจารณาปัญหาที่นักเรียนทำผิดวินัย ให้เห็นกระจ่างชัดก่อนดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวกับการลงโทษ
2. หลักเมตตา (kindess principle) ตามหลักนี้ ผู้บริหารโรงเรียนจำ เป็นต้องแผ่เมตตา   เข้าประกอบ การลงโทษทางวินัยนั้นมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือเปลี่ยนนิสัยที่ไม่พึงปรารถนามาเป็นนิสัยทีพึงปรารถนา นักเรียนเปลี่ยนแปลงได้บ้างแล้วพึงเข้าใจและให้เวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลง การลงโทษทางวินัยจำเป็นต้องนำเมตตาเข้ามาพิจารณาด้วย
3. หลักสาเหตุ (cause principle) ตามหลักนี้ ผู้บริหารโรงเรียนพึงมองสาเหตุที่เด็กทำผิดวินัย และพิจารณาแก้ไขเฉพาะสาเหตุที่เกี่ยวกับโรงเรียนเท่านั้น
4. หลักความร่วมมือ (cooperation principle) ตามหลักนี้ ผู้บริหารโรงเรียนพึงขอความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนเข้ามาร่วมในการแก้ปัญหาก่อนมีการลงโทษทางวินัยแก่นักเรียนถ้ามีความจำเป็น ซึ่งหมายความว่าถ้าปัญหาทางวินัยเกิดขึ้นในโรงเรียน โรงเรียนจึงเป็นผู้รับผิดชอบแก้ไขฝ่ายเดียว ถ้าปัญหาเกิดในครอบครัว ครอบครัวควรมีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขและถ้าปัญหาเกิดในชุมชน ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขกับโรงเรียน
5. หลักประนีประนอม (compromise principle) ตามหลักนี้ ผู้บริหารโรงเรียนควรใช้ความประนีประนอมถ้าครูอาจารย์กับนักเรียน ขัดแย้งกันเกี่ยวกับการแต่งกาย และทรงผมตลอดจนการ สูบบุหรี่ตามถนนหนทาง ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าหลักนี้มุ่งให้เดินเข้าหากันคนละครึ่ง
6. หลักยกย่องชมเชย (admiration principle) ตามหลักนี้ ผู้บริหารโรงเรียนพึงให้คำยกย่องแก่นักเรียนที่ให้ความร่วมมือกับการแก้ไขปัญหาความประพฤติผิดระเบียบวินัย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมืออีกต่อๆ ไป
7. หลักความเหมาะสม (appropriateness principle) ตามหลักนี้ ผู้บริหารโรงเรียนควรคำ นึงความเหมาะสมของความผิดที่นักเรียนทำ กับโทษที่นักเรียนได้รับ จำ เป็นต้องให้เหมาะสมกัน
8. หลักอธิบายให้เข้าใจ (explanation principle) ตามหลักนี้ ผู้บริหารโรงเรียนจำเป็นต้องอธิบายให้นักเรียนที่ทำผิดวินัยได้ทราบว่าเขาได้ทำอะไรผิด และให้ได้เข้าใจในลักษณะโทษที่เขาจะได้รับก่อนการลงโทษ ซึ่งเชื่อว่าความร่วมมือในการแก้ปัญหาความผิดวินัยของนักเรียนจะสามารถคาดหวังได้สูงขึ้น
9. หลักเหตุผล (reason principle) ตามหลักการนี้ ผู้บริหารโรงเรียนพึงต้องใช้ความคิดและเหตุผลพิจารณาความผิดของนักเรียนอย่างรอบคอบ การตัดสินใจลงโทษต้องกระทำอย่างมีเหตุผลอันสำคัญคือนักเรียนมีเจตนากระทำความผิด เพราะจะช่วยให้นักเรียนที่ทำ ผิดยอมรับและให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาความผิดวินัยได้มากกว่า
10. หลักปลอดอคติ (biasclearness principle) ตามหลักนี้ ผู้บริหารโรงเรียนพึงพิจารณาความผิดของนักเรียนในเขตปลอดอคติ เพราะจะช่วยให้เกิดความยุติธรรม เกิดความเหมาะสม มีความรู้สึกที่ดี และจะได้รับความร่วมมือในการแก้ปัญหาความประพฤติดีกว่า
11. หลักความสงบ (calm principle) ตามหลักนี้ ผู้บริหารโรงเรียนจำเป็นต้องระลึกไว้เสมอว่าการลงโทษนักเรียนนั้นต้องไม่กระทำในเวลาที่มีอารมณ์โกรธ เพราะสีหน้าท่าทางและหางเสียงของตนในขณะนั้น จะทำให้ผู้ได้รับการลงโทษรู้สึกว่ารุนแรงกว่าขณะที่มีอารมณ์สงบ
12. หลักไร้ความเหี้ยมโหด (terriblelessness principle) ตามหลักนี้ผู้บริหารโรงเรียนจำ เป็นต้องระลึกไว้เสมอว่า การลงโทษต้องไม่โหดร้ายทารุณ 
 
สรุป
ระเบียบ แนวคิด และวิธีการต่างๆ ในการลงโทษนักเรียนมีอยู่หลายวิธีการลงโทษเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่มากทั้งนี้เนื่องจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องระเบียบวินัย และการลงโทษ ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังเห็นว่าการลงโทษจะช่วยให้เด็กเป็นคนมีระเบียบวินัย ประพฤติตัวดี ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการลงโทษมองเห็นว่าระเบียบวินัยควรเกิดจากการควบคุมภายในตนเองอันจะนำ ไปสู่การเคารพนับถือในตนเอง ผู้บริหารและครูต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม และต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการลงโทษนักเรียนควรใช้เฉพาะเมื่อสามารถหาสาเหตุที่แน่นอนและสามารถแก้ไขสาเหตุนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วเท่านั้น ถ้าจำเป็นต้องใช้การลงโทษ ก็ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับความผิดที่เกิดขึ้น ต้องให้นักเรียนเข้าใจและการลงโทษต้องมีเหตุผลอย่างเพียงพอ การลงโทษต้องกระทำอย่างยุติธรรม ไม่ใช้วิธีที่รุนแรงหรือดุร้าย ไม่กระทำ ในขณะที่ผู้ใหญ่ยังมีอารมณ์โกรธและจะต้องไม่กระทำให้นักเรียนได้รับความอับอาย ต้องทำด้วยความเมตตา ให้คิดเสมอว่าการลงโทษนักเรียนนั้นไม่ใช่การทำให้นักเรียนเจ็บปวดทั้งทางร่างกายจิตใจ หรือเป็นการสนองอารมณ์ของครู แต่มีจุดมุงหมายให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นอันจะนำไปสู่ความสงบสุข ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
 
บรรณานุกรม
กรมพลศึกษา. (2537). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลการคุ้มครองความประพฤตินักเรียน 
       นักศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจำ ปีงบประมาณ 2536.
           กรุงเทพมหานคร: กองสารวัตรนักเรียน กรมพลศึกษา.
กรมสามัญศึกษา. (2534). การบริหารกิจการนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
           โอเดียนสโตร์.
กาญจนา ศรีกาฬสินธุ์. (2533). การบริหารกิจการนักเรียน. (พิมพ์ครั้งที่สอง).
           กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ฉัตรชัย อรณนันท์. (2522). หลักการบริหารโรงเรียน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัย
           ศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.
ต้าว เมืองพาน. (2539). “ระเบียบวินัย”. ครูเชียงราย.
ทวิบูรณ์ หอมเย็น. (2534). การบริหารกิจการนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย
           ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์. (2534). การบริหารกิจการนักเรียน. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ประเวศ วะสี. (2538). “ยุทธศาสตร์ทางปัญญาแห่งชีวิต”. ทิศทางไทย.
พนัส หันนาคินทร์. (2528). การมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิฆเณศ.
พรรณี ชูทัย เจนจิต. (2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : ต้นอ้อ แกรมมี่.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนะธรรมแห่งชาติ. (2537).  การเสริมสร้างวินัย คู่มือแนะแนว           
       ทางปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
สมพร สุทัศนีย์, ม.ร.ว. (2523). จิตวิทยาการปกครองชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร:
          ไทยวัฒนาพานิช.
สุมน อมรวิวัฒน์, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร และ ทิศนา แขมณี. (2535). ความคิดและภูมิปัญญา
       ไทยด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Biehler and Snowman. 1990. Psychology Applied to Teaching. (6th. ed). Boston:
             Houhton Mifflin Comp.
 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3966 วันที่ 19 มี.ค. 2552


ลงโทษอย่างไรให้นักเรียนได้ดี

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

คลิกชมสไลด์....เกาะสีชัง...

คลิกชมสไลด์....เกาะสีชัง...


เปิดอ่าน 6,403 ครั้ง
พจนานุกรมหัวใจ!!!!

พจนานุกรมหัวใจ!!!!


เปิดอ่าน 6,404 ครั้ง
ขอบคุณการต้อนรับ

ขอบคุณการต้อนรับ


เปิดอ่าน 6,407 ครั้ง
เรื่องของสะดือ....!!!

เรื่องของสะดือ....!!!


เปิดอ่าน 6,414 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

 ฆ่าเขา..เรามีโทษ....แต่ ฆ่าความโกรธ..ให้ประโยชน์หลายสถาน

ฆ่าเขา..เรามีโทษ....แต่ ฆ่าความโกรธ..ให้ประโยชน์หลายสถาน

เปิดอ่าน 6,409 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สารอาหารที่หัวใจเรียกร้อง
สารอาหารที่หัวใจเรียกร้อง
เปิดอ่าน 6,403 ☕ คลิกอ่านเลย

อ้อม-อาท ฉลองสมรสพระราชทาน
อ้อม-อาท ฉลองสมรสพระราชทาน
เปิดอ่าน 6,420 ☕ คลิกอ่านเลย

 ครม. ยังไม่อนุมัติโบนัส ประจำปี 2552 ให้ข้าราชการ ชี้ต้องดูข้อกฎหมาย และความถูกต้อง คาดใช้เวลาพิจาร
ครม. ยังไม่อนุมัติโบนัส ประจำปี 2552 ให้ข้าราชการ ชี้ต้องดูข้อกฎหมาย และความถูกต้อง คาดใช้เวลาพิจาร
เปิดอ่าน 6,390 ☕ คลิกอ่านเลย

การจัดบอร์ดโดยใช้วัสดุรีไซเคิล...สวยสดใสน่าสน////
การจัดบอร์ดโดยใช้วัสดุรีไซเคิล...สวยสดใสน่าสน////
เปิดอ่าน 6,505 ☕ คลิกอ่านเลย

20 สุดยอด    ทิปคอมพิวเตอร์
20 สุดยอด ทิปคอมพิวเตอร์
เปิดอ่าน 6,456 ☕ คลิกอ่านเลย

ทหารหญิงชาติใด...โดนใจคุณที่สุด !!!!!!
ทหารหญิงชาติใด...โดนใจคุณที่สุด !!!!!!
เปิดอ่าน 6,480 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วิธีนำข่าวการศึกษาจากครูบ้านนอก ไปแปะในเว็บท่าน
วิธีนำข่าวการศึกษาจากครูบ้านนอก ไปแปะในเว็บท่าน
เปิดอ่าน 448,721 ครั้ง

โอเมก้า 3 ใน ปลา ก็มีโทษ
โอเมก้า 3 ใน ปลา ก็มีโทษ
เปิดอ่าน 17,835 ครั้ง

ข่าวดีของคนอ้วน รูปร่างอวบตอนหลังกลับยืดอายุให้ยืน
ข่าวดีของคนอ้วน รูปร่างอวบตอนหลังกลับยืดอายุให้ยืน
เปิดอ่าน 16,429 ครั้ง

กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ.๒๕๕๐
กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ.๒๕๕๐
เปิดอ่าน 24,952 ครั้ง

จุดกำเนิดของ Google.com
จุดกำเนิดของ Google.com
เปิดอ่าน 10,579 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ