Advertisement
การที่คนเราจะมี "ความคิดสร้างสรรค์" หรือ "ครีเอทีฟ" นั้น บางทีก็ต้องเริ่มต้นจากการ "คิดนอกกรอบ" คำถามแรกของการคิดนอกกรอบก็คือ ทำไมต้องเหมือนกับสิ่งที่เป็นมาและที่ดีกว่าเป็นอย่างไร ลองฟัง 2 เรื่องนี้นะคะ จะรู้ว่าคิดนอกกรอบเป็นอย่างไร
เรื่องที่ 1
เป็นเรื่องครูในโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งให้นักเรียนชั้น ป.3 แต่งเรียงความเป็นการบ้าน
ครูกำหนดตัวละคร 5 คนและตั้งชื่อ นักเรียนแค่นำตัวละครเหล่านี้ไปแต่งเรื่องมาเท่านั้น อะไรก็ได้
เด็กคนหนึ่งยกมือค้านบอกว่าไม่ชอบชื่อตัวละคร และขอเปลี่ยนชื่อใหม่ โดยเสนอชื่อตามสมัยนิยมมา 5 ชื่อ
ครูแกล้งไม่ยอม ยืนยันให้ใช้ชื่อเดิม เธออยากรู้ว่าเด็กน้อยจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร
เด็กหน้ามุ่ยแสดงชัดว่า ไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่ได้โต้เถียงอะไร
วันรุ่งขึ้นเด็กคนนั้นก็ส่งการบ้านเหมือนกับเพื่อน ๆ แต่ใบหน้าของเขายิ้มแย้มแบบมีเลศนัย
รู้ไหมครับว่าเรื่องที่เขาแต่งมาเป็นอย่างไร
ติ๊กต่อก...ติ๊กต่อก...ติ๊กต่อก
เฉลยค่ะ...นักเรียนคนนี้ทำตามกติกาของคุณครู คือให้ตัวละครทั้ง 5 คนใช้ชื่อตามที่ครูกำหนดแต่พอเริ่มเรื่องปั๊บ ตัวละครทั้งหมดก็ไม่พูดพร่ำทำเพลง เดินขึ้นอำเภอทันที
ขึ้นไปขอเปลี่ยนชื่อใหม่ ก็ชื่อที่เด็กน้อยคนนี้เสนอในห้องเรียนนั่นแหละครับ
ภารกิจการเปลี่ยนชื่อเสร็จสิ้น จึงค่อยเดินเรื่องต่อไปตามจินตนาการของตนเอง
ครูอ่านจบก็ยิ้มและหัวเราะ ไม่ได้ว่าอะไร แถมมาเล่าต่อด้วยความเอ็นดู เด็กน้อยคนนี้มีกระบวนการยืนยันเจตนารมณ์ของตนเองที่ฉลาดมากสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตนเองต้องการโดยไม่ขัดแย้งกับกติกาที่ผู้ใหญ่กำหนด
เรื่องที่ 2
อาจารย์คนหนึ่งสั่งให้นักศึกษาทุกคนยืนชิดติดผนังห้อง แล้วส่งกระดาษให้คนละแผ่น ก่อนตั้งโจทย์แบบฝึกหัดง่าย ๆ
"ให้ทุกคนพับเครื่องบินกระดาษ และปาจากที่ยืนอยู่ไปให้ถึงผนังฝั่งตรงข้าม"
ผนังนั้นห่างจากผนังอีกฝั่งหนึ่งที่นักศึกษายืนอยู่ประมาณ ๑๐ เมตร ทุกคนพยายามพับกระดาษเป็นรูปเครื่องบินต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบตามที่คิดว่า จะทำให้พุ่งได้ไกลที่สุด ทุกคนปาเครื่องบินกระดาษของเขาอย่างแรงที่สุดแต่ไม่มีลำไหนพุ่งถึงผนังฝั่งตรงข้ามเลย อาจารย์คนนั้นก็เดินเข้ามาแล้วบอกว่า ให้ทุกคนดูฝีมือการพับกระดาษระดับแชมป์เปี้ยนโลก เขาใช้เวลาพับเครื่องบินไม่ถึง ๕ วินาที
"เครื่องบิน" ของเขาไม่มีปีก "เครื่องบิน" ของเขาเป็นรูปทรงกลม
ค่ะ... เขาขยำกระดาษให้เป็นก้อนกลม ขยำให้แน่นที่สุดแล้วปาไปที่ผนังฝั่งตรงข้ามสุดแรง "เครื่องบินกระดาษ" ของเขาไปถึง "เป้าหมาย" แม้จะไม่มีปีก
เหตุผลง่าย ๆ สำหรับเรื่องนี้ก็คือ นักศึกษาทุกคนติด "กรอบ" เดิม ๆ ว่า เครื่องบินกระดาษต้องมีหน้าตาแบบเครื่องบินกระดาษ ทุกลำต้องมีปีก ทุกคนคิดถึง "กรอบ" ของรูปแบบมากกว่า "เป้าหมาย" แต่เพราะอาจารย์คนนี้เริ่มต้นคิดที่ "เป้าหมาย" แล้วค่อยคิดรูปแบบการพับเครื่องบินกระดาษ เขาไม่ติดกรอบรูปลักษณ์แบบเดิม ๆ
เพราะคำถามง่าย ๆ ว่า "ทำไมต้องเหมือนกับที่เป็นมา" เครื่องบินกระดาษของเขา จึงไม่เหมือนเครื่องบินของใคร แต่ถึง "เป้าหมาย" ที่ต้องการ
เวลาสอนนักเรียน คุณครูลองฝึกให้นักเรียนคิดนอกกรอบบ้างนะคะ แล้วคุณครูก็จะเห็น"ครีเอทีฟ" ที่แปลก ๆ ของเด็ก ๆ บางครั้งนึกไม่ถึงเลยล่ะ...
จิราภรณ์ หอมกลิ่น / ขอบคุณที่มา board.exteen.com
วันที่ 19 มี.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,300 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,186 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,268 ครั้ง |
เปิดอ่าน 49,400 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,180 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,400 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,340 ครั้ง |
|
|