ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ทำไมคนญี่ปุ่นไม่แซงคิว...เรื่องดี ๆ ที่อยากให้อ่าน


ความรู้ทั่วไป 20 มิ.ย. 2557 เวลา 10:08 น. เปิดอ่าน : 42,285 ครั้ง
Advertisement

ทำไมคนญี่ปุ่นไม่แซงคิว...เรื่องดี ๆ ที่อยากให้อ่าน

Advertisement

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Charnvit Ks

            ทำไมคนญี่ปุ่นเข้าแถว ไม่แซงคิว บทความดี ๆ จาก ฮารา ชินทาโร่ อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดมุมมองให้เข้าใจวัฒนธรรมชาวญี่ปุ่นมากขึ้น

            เห็นภาพความมีระเบียบวินัยของชาวญี่ปุ่นแล้วอดทึ่งไม่ได้ เพราะเราแทบไม่เคยเห็นภาพการยื้อแย่งแซงคิวเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นเลย แม้แต่ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิถล่มเมื่อปี 2554 ยังปรากฏภาพชาวญี่ปุ่นเข้าแถวรอรับความช่วยเหลือจากทีมกู้ภัย และยังเข้าคิวต่อแถวซื้อสินค้าอย่างเป็นระเบียบ เป็นภาพน่าประทับใจที่ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก 

            สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้หลายคนอดตั้งคำถามอยู่ในใจไม่ได้ว่า เหตุใดชาวญี่ปุ่นจึงเข้าคิวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยขนาดนี้ แม้ตกอยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญความยากลำบาก ฮารา ชินทาโร่  อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้วิเคราะห์เรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ผ่านการโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก Hara Shintaro เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2557 ก่อนที่ข้อเขียนดังกล่าวจะถูกแชร์ต่อกันในโลกไซเบอร์ ดังนี้

"ทำไมคนญี่ปุ่นเข้าแถว (ไม่แซงคิว)

            ผมเองก็ไม่ทราบครับ ว่า ทำไมคนญี่ปุ่นเข้าคิวทุกครั้ง และแทบจะไม่มีใครกล้าแซงคิว มันเป็นหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับงานวิจัยด้วย

            สาเหตุหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ มันเป็นวัฒนธรรมในสังคมญี่ปุ่น ถูกสอนตั้งแต่สมัยอนุบาลศึกษา ทั้งพ่อแม่ ทั้งครู และทั้งบรรดาผู้ใหญ่จะดุเด็ก ๆ ที่แซงคิวหรือไม่เข้าคิว ดังนั้น ตั้งแต่สมัยเด็ก เราก็เข้าใจว่า การแซงคิวนั้นเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ ที่นี่ขอสังเกตว่า นี่ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับดีหรือไม่ดีครับ แต่อยู่ที่ว่า ทำได้หรือทำไม่ได้ เนื่องจากว่าทุกครั้งพยายามจะแซงคิว เด็ก ๆ จะโดนผู้ใหญ่ดุ และไม่มีผู้ใหญ่ที่แซงคิว ทำให้เด็กรู้ว่า ฉันก็ทำไม่ได้

            อีกอย่าง คนที่แซงคิวถูกมองว่าเป็นคนที่ไม่มีคุณค่า เพราะคนนั้นเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ไม่เกรงใจคนอื่น และทำให้คนอื่นรอนานเพราะความเห็นแก่ตัวของตนเอง ในที่นี่ ขอสังเกตว่า ชาวญี่ปุ่นเน้นความตรงต่อเวลามาก (ไม่ได้หมายความว่าทุกคนเป็นแบบนั้น แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้น) ดังนั้น การแซงคิวหมายความว่า คนที่แซงนั้นไม่ให้เกียรติต่อเวลาของคนอื่น เมื่อคนใดคนหนึ่งไม่เห็นคุณค่าในเวลาของคนอื่น คนนั้นก็ถูกมองว่าคนที่ไร้คุณค่า อีกนัยหนึ่ง เราก็กลัวว่า ถ้าเราแซงคิว เราจะถูกมองว่าเป็นคนที่ไม่มีคุณค่า ดังนั้นเราก็ไม่ทำ

            อีกสาเหตุหนึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับสิทธิและความเท่าเทียมกัน แม้ว่าคนที่อยู่ข้างหน้าของแถวนั้นเป็นคนใดก็ตาม เราก็รู้สึกว่า เขามีสิทธิมากกว่าเรา แม้ว่าเราจะมีอำนาจสูงกว่า มีเงินมากกว่า มีการศึกษาสูงกว่า ตำแหน่งที่สูงกว่าก็ตาม ในแถวนั้น คนที่มีสิทธิมากที่สุดก็คือคนที่มาเร็วที่สุด คนนั้นเป็นใคร ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

            สังคมเราก็ยังเชื่อว่า การเข้าคิวนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน เพราะถ้าไม่มีคิว คนที่ได้เปรียบที่สุดก็คือ คนที่ไม่รู้จักคำว่า "อาย" เราก็ไม่อยากจะให้สังคมของเราเป็นสังคมที่คนที่ไม่รู้จักคำว่า "อาย" ได้เปรียบ ทุกคนก็ยอมรับที่จะเข้าแถว แม้ว่าแถวนั้นจะยาวเป็นหลายกิโลก็ตาม

            ในสังคมบางสังคม (ขอโทษด้วยนะครับ รวมถึงสังคมไทย) ในขณะที่เราเข้าแถว ผู้ใหญ่มาถึงที่นั้น มักจะมีคนที่ต้อนรับท่านผู้ใหญ่และบอกว่า "เชิญทางนี้นะค่ะ/ครับ" หลังจากนั้นก็จะให้บริการแก่ท่านผู้ใหญ่คนนั้นก่อนคนที่เข้าแถวเป็นเวลานาน ถ้าในประเทศญี่ปุ่น อาจจะมีคนที่ต้อนรับท่านผู้ใหญ่ (แม้ว่าหายาก) แต่คนที่ต้อนรับท่านผู้ใหญ่นั้นก็ต้องบอกว่า "ขอบคุณครับท่าน ขอโทษนะครับ วันนี้ คิวมันจะยาวหน่อยครับ

            โดยส่วนตัว ผมคิดว่า ความเจริญของสังคมไม่ได้อยู่ในวัตถุอย่างเดียว แต่เราถือว่า สังคมใดสังคมหนึ่งพัฒนามาแล้ว ในเมื่อคนที่ปฏิบัติตัวตามกฎระเบียบ ไม่เสียเปรียบ ในตรงกันข้าม ในสังคมใดสังคมหนึ่ง คนที่ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบยังได้เปรียบ สังคมนั้นถือว่ายังไม่เจริญ

            ตอนนี้ อยู่ในจังหวะที่มีข่าวดีเกี่ยวกับญี่ปุ่นเข้ามาเรื่อย ๆ ไม่ใช่ว่าประเทศญี่ปุ่นมีแต่สิ่งดี ๆ มีด้านมืดอีกมากมาย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีสิ่งดี ๆ บางอย่างจริง เท่าที่ผมสังเกต ความแตกต่างระหว่างสังคมไทยกับญี่ปุ่นไม่ได้อยู่ที่สันดาน พันธุกรรม หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้หรือเปลี่ยนยาก แต่อยู่ที่การสะสมของข้อแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ มากกว่าครับ

            หนึ่งในความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ คือ การให้เกียรติต่อสิทธิของผู้อื่น ถ้าเราให้เกียรติต่อสิทธิของคนอื่นมากกว่านี้ แค่นิดเดียว โดยให้ความเกรงใจต่อผู้อื่นและความเคารพต่อสิทธิของเขา สังคมก็คงจะดีขึ้นอย่างเหลือเชื่อครับ"

 

ขอบคุณที่มาจาก กระปุก.คอม

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) คลิกเลย👇👇

฿129

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


ทำไมคนญี่ปุ่นไม่แซงคิว...เรื่องดี ๆ ที่อยากให้อ่านทำไมคนญี่ปุ่นไม่แซงคิว...เรื่องดีที่อยากให้อ่าน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ผักที่ห้ามในเทศกาลกินเจ

ผักที่ห้ามในเทศกาลกินเจ


เปิดอ่าน 23,695 ครั้ง
ใยอาหาร สำคัญกว่าที่คิด

ใยอาหาร สำคัญกว่าที่คิด


เปิดอ่าน 10,129 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เคล็ดลับในการเลือกอาหารไขมันต่ำ

เคล็ดลับในการเลือกอาหารไขมันต่ำ

เปิดอ่าน 10,393 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ยาสระผมเข้าตาบ่อย ๆ เป็นอันตรายต่อดวงตามั้ย
ยาสระผมเข้าตาบ่อย ๆ เป็นอันตรายต่อดวงตามั้ย
เปิดอ่าน 32,175 ☕ คลิกอ่านเลย

เคลียร์แล้วปัญหาโลกแตก "ไก่" เกิดก่อน "ไข่"
เคลียร์แล้วปัญหาโลกแตก "ไก่" เกิดก่อน "ไข่"
เปิดอ่าน 20,646 ☕ คลิกอ่านเลย

20 วิธีอ่อนเยาว์มากขึ้นในวันนี้
20 วิธีอ่อนเยาว์มากขึ้นในวันนี้
เปิดอ่าน 10,608 ☕ คลิกอ่านเลย

ดูแลสุขภาพแบบไทย
ดูแลสุขภาพแบบไทย
เปิดอ่าน 14,150 ☕ คลิกอ่านเลย

วิจัยพบ"ตำลึงทอง"รักษากระดูกพรุน
วิจัยพบ"ตำลึงทอง"รักษากระดูกพรุน
เปิดอ่าน 16,313 ☕ คลิกอ่านเลย

ร่มไม้เท้า สินค้ากันฝนอเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุ
ร่มไม้เท้า สินค้ากันฝนอเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุ
เปิดอ่าน 1,416 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน
วันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน
เปิดอ่าน 16,236 ครั้ง

พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย
เปิดอ่าน 16,078 ครั้ง

พืชเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจ
เปิดอ่าน 5,390 ครั้ง

กาฬโรคปอด Pneumonic Plague
กาฬโรคปอด Pneumonic Plague
เปิดอ่าน 18,163 ครั้ง

ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องกำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมฯ
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องกำหนดรายชื่อคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมฯ
เปิดอ่าน 16,053 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.

Thailand Web Stat

Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ