แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ด้านการเรียนการสอนรายวิชา
ช่างเขียนภาพทิวทัศน์
ช่วงชั้นที่ 3
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โดย
นายถวัลย์ แก้วพา
โรงเรียนบ้านโนนค้อ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
จากการดำเนินงานตามนโยบาย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2551
คำนำ
การเรียนการสอนจะมีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับบุคคลที่จะทำให้งานบรรลุเป้าหมายหรือปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โรงเรียนบ้านโนนค้อ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเรียนการสอนวิชาชีพนักเรียน จึงได้นำ “ รายวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์” มาจัดการเรียนการสอนเพื่อให้การจัดการเรียนจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลแก่ผู้เรียน
ในการจัดการเรียน “ รายวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์” สำเร็จลุล่วงได้ดี เพราะได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร คณะครู ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโนนค้อ และขอขอบพระคุณ นายสนธิศักดิ์ พิลากุล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนค้อ สำนักงานเขตพื้นที่อุบลราชธานี เขต 5 และนายชานนท์ แสนยามาศ รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนค้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ที่ให้คำปรึกษาในการเขียนรายงาน (Best Practices) ด้านการเรียนการสอน ในครั้งนี้
คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาศิลปะ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้ เพื่อแก้ไขพัฒนาปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
นายถวัลย์ แก้วพา
ผู้จัดทำ
โรงเรียนบ้านโนนค้อ
มกราคม 2552
แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)
จากการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2551
จากการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ประจำปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านโนนค้อมีวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
(Best Practice) ในกลยุทธ์ที่ 5 ขอสรุปข้อมูลดังนี้
โรงเรียนบ้านโนนค้อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ชื่อ
(Best Practice) ช่างเขียนภาพทิวทัศน์ (สาระเพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สอดคล้องกับประเด็นหลัก/กลยุทธ์ 5.1 การส่งเสริม สนับสนุนองค์คณะบุคคลให้มีส่วนร่วมในการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่และสถานศึกษาตามบทบาทหน้าที่
.............................................................................................................................................................
1. แนวคิด/ความเป็นมาช่างเขียนภาพทิวทัศน์ สาระศิลปะหลักสูตรเพิ่มเติมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนค้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
สืบเนื่องจากปีการศึกษา 2538 ด้วยและแนวคิดตามสภาพปัจจุบันปัญหาในขณะนั้น ได้จัดทำหลักสูตรช่างเขียนภาพทิวทัศน์ในกลุ่มวิชาเลือกเสรีในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจการเขียนภาพทิวทัศน์ ซึ่งเป็นการจัดทำหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชนในขณะนั้น และได้ประเมินหลักสูตรช่างเขียนภาพทิวทัศน์ปีต่อมาพบว่าหลักสูตรช่างเขียนภาพทิวทัศน์ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสำเร็จและพอใจในผลการเรียนชุมชนให้การสนับสนุนและความสำเร็จของพี่ทำให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง จากการสำรวจรุ่นน้องแต่ละปีการศึกษาพบว่ารุ่นน้องและผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังต้องการให้เปิดเรียนวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์ และด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนจึงเห็นควรให้หลักสูตรวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์ดำเนินการเรียนการสอนในสาระวิชาเพิ่มเติมต่อไป
2. วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเขียนภาพทิวทัศน์
ภาพเขียนทิวทัศน์เป็นฝีมือมนุษย์และภาพเขียนทิวทัศน์ได้สะท้อนภาพความงามธรรมชาติ การได้เขียนภาพทิวทัศน์ก็เท่ากับการได้สัมผัสกับธรรมชาติ ทำให้ผู้เขียนเกิดอารมณ์สุนทรีย์เพลิดเพลินจำเริญใจ ส่งผลให้จิตใจอ่อนโยน สุขสงบร่มเย็น ตลอดจนทำให้ผู้เขียนภาพทิวทัศน์ เกิดความรักและหวงแหนธรรมชาติ ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเขียนภาพทิวทัศน์ ก็เพื่อหวังให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว รวมทั้งการที่นักเรียนสนใจและได้รับการฝึกฝนการเขียนภาพทิวทัศน์ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ เชื่อว่าจะทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดทักษะกระบวนการในการเขียนภาพตลอดจนเกิดความพึงพอใจ มีเจตคติที่ดีต่อการเขียนภาพทิวทัศน์ ซึ่งเป็นเส้นทางสู่อาชีพอิสระในอนาคตได้อีกเส้นทางหนึ่ง
2
การสร้างนักเรียนศิลปะก็เท่ากับการการช่วยกันสร้างคนดีให้เกิดขึ้นในห้องเรียน ผู้สอนเชื่อว่าการสอนศิลปะคือการสอนมนุษย์ให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในสิ่งดีงามได้
3. กลุ่มเป้าหมายในการนำ Best Practice ไปใช้
นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทุกปีการศึกษา
4. ขั้นตอนการพัฒนา(ระยะตั้งแต่เริ่มพัฒนา)
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์ได้ถือกำเนิดและดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์เมื่อปีการศึกษา 2538 เป็นต้นมาและได้มีการประเมินหลักสูตรและได้พัฒนาต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบันซึ่งครูผู้สอนได้ดำเนินการดังนี้
1. สำรวจความพร้อมของนักเรียนและออกแบบสำรวจความต้องการของนักเรียนและชุมชน
2. วิเคราะห์หลักสูตรสร้างเครื่องมือ(การจัดกิจกรรมและนวัตรกรรม) ได้แก่แผนการจัดกิจกรรมวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์และหนังสืออ่านประกอบวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์ (ช 0172)
3. ทดลองใช้ หาค่าประสิทธิภาพของเครื่องมือด้วยการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 1:1, 1:10, 1:40:ซึ่งการทดลองแต่ละครั้งเพื่อปรับปรุงเครื่องมือ
4. ขออนุมัติหลักสูตรจากกรรมการสถานศึกษาและคณะกรรมการกลุ่มมัธยมกลุ่ม 4
5. ทดลองใช้เครื่องมือกับกลุ่มทดลองครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2538 กับกลุ่มเป้าหมายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ห้องเรียน 20 คนผลปรากฏว่านักเรียนส่วนใหญ่เข้าใจและสามารถเขียนภาพทิวทัศน์ได้และเมื่อสำรวจเจตคตินักเรียนพบว่านักเรียนชอบวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์
6. เขียนรายงานถึงความสำเร็จของการใช้เครื่องมือเพื่อขอกำหนดตำแหน่งต่อ ก.ค.ผลปรากฏว่าคณะอนุกรรมการ ก.ค. เห็นควรให้ปรับปรุงนวัตรกรรมให้เป็นเอกสารคำสอนซึ่งได้เริ่มปรับปรุงผลงานโดยแก้ไขปรับปรุงทั้งระบบจากหนังสืออ่านประกอบโดยมีการ์ตูนบรรยายเนื้อหาปรับปรุงเป็นเอกสารคำสอนตามความเห็นของก.ค.และเมื่อเสนอผลงานปรับปรุงผลปรากฎว่าผลงานผ่านการประเมินต่อมาจึงได้จัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานในโรงเรียนต่างๆ
7.ต่อมาแต่ละปีได้สำรวจความสนใจของผู้เรียนพบว่านักเรียนและผู้ปกครองให้เปิดสอนวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์ทางโรงเรียนจึงได้ดำเนินการเปิดทำการสอนหลักสูตรในโรงเรียนเรื่อยมาตามความต้องการของนักเรียนและชุมชน
5. รายละเอียด Best Practice กิจกรรมดำเนินงานขั้นตอนการใช้
หลังจากได้ผ่านกระบวนการในการพัฒนานวัตรกรรมได้แก่เอกสารประกอบการสอนช่างเขียนภาพทิวทัศน์ไปช้ามแผนการจัดกิจกรรมดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทฤษฎี
3
1.1 แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละพอประมาณเพื่อเป็นการฝึกทักษะในการทำงานกลุ่ม
1.2 ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
1.3 ทดสอบก่อนเรียน
1.4 ครูนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเร้าความสนใจ
1.5 ตัวแทนกลุ่มรับเอกสารประกอบการเรียนเขียนภาพทิวทัศน์ไปศึกษา
1.6 ช่วยกันสรุปเนื้อหาตามประเด็นคำถามที่กำหนดให้
1.7 ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลงาน
1.8 ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหา
2. การจัดกิจกรรมการปฏิบัติ
2.1 ให้นักเรียนทดลองปฏิบัติโดยอิสระ
2.2 ครูสาธิต และให้นักเรียนปฏิบัติตาม
3. การประเมินผล
3.1 เก็บข้อมูล ผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและด้านทักษะกระบวนการ เพื่อหาค่า E1 และ E2 เพื่อหาค่าประสิทธิภาพของเครื่องมือและหาค่า t-test เพื่อหาค่าความแตกต่างของผลคะแนน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
4. เมื่อสิ้นปีการศึกษารายงานผลการใช้นวัตรกรรมประจำปีการศึกษา
5. ปรับปรุงข้อผิดพลาดของเครื่องมือ
6. เผยแพร่ผลงาน
6. องค์ความรู้ที่เกิดกับผู้เรียน
หลังจากที่ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการเรียนรู้และเอกสารประกอบการสอน ได้แก่หนังสืออ่านประกอบการเขียนภาพทิวทัศน์ ผลปรากฏว่า
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
2. นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการเรียนในระบบกลุ่ม
3. นักเรียนสามารถวาดภาพทิวทัศน์ได้
4. นักเรียนมีความสุขในการเรียน
5. นักเรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อวิชาศิลปะได้
6. นักเรียนมีอารมณ์สุนทรีย์ จิตใจดีงามรักและหวงแหนธรรมชาติ
7. นักเรียนวาดภาพบริการสังคมได้
8. นักเรียนสามารถนำวิชาศิลปะบูรณาการกับสาระวิชาอื่นได้ เช่นวาดภาพตกแต่งรายงานวิชาต่างๆ
4
9. เป็นจุดเด่นของมาตรฐานที่ 7 ทำให้ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการประเมินภายนอก
10. ส่งเสริมการแสดงออกของนักเรียนได้อีกทางหนึ่ง
11. เป็นผลงานและจุดเด่นของโรงเรียน
7. กระบวนการทบทวน กลั่นกรอง ตรวจสอบ Best Practice เพื่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ
1. ครูผู้สอนต้องสร้างความตระหนักให้แก่นักเรียน ซึ่งจะต้องทำงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ พฤติกรรมการทำงาน การร่วมมือ ต้องไม่ก่อให้นักเรียนเกิดความทุกข์ในการเรียน นั่นคือ นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ ครูตระหนักถึงผลที่จะเกิดแก่นักเรียน โรงเรียนและสังคม
2. ผู้บริหารมีการกำกับ นิเทศ ติดตาม ส่งเสริมสนับสนุน ให้ขวัญและกำลังใจอย่างสม่ำเสมอ
3. การเรียนรู้ที่ดีควรมีความยืดหยุ่น สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกสถานการณ์เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ และนำมาปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสม กับการเรียนวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์ และสามารถนำประโยชน์ของการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
4. ทุกสิ้นปีการศึกษามีการประเมินผลการเรียนโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์โดยผู้เรียน และผู้ปกครอง ผลปรากฏว่านักเรียนและผู้ปกครองมีความพอใจร้อยละ 100 ทุกปีการศึกษา
8 รูปแบบวิธีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ Best Practice
8.1 จัดทำเอกสารเผยแพร่ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์และหนังสืออ่านประกอบวิชาช่างเขียนภาพทิวทัศน์ (ช 0172) กับโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1- 5
8.2 รายงานผลการปฏิบัติการเรียนการสอนต่อผู้บริหารทุกปีการศึกษาและ แจ้งผลการเรียนของนักเรียนให้แก่ผู้ปกครองทราบ
8.3 เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง เช่น วิทยุท้องถิ่น วารสาร และเว็บไซต์ของโรงเรียนบ้านโนนค้อ
9. การขยายผล Best Practice/องค์กร หน่วยงานที่มีส่วนร่วม
- ได้ขยายผลการดำเนินงานให้กับโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นที่มาศึกษาดูงาน เช่น โรงเรียนบ้านหนองกินเพล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โรงเรียนบ้านแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 โรงเรียนบ้านโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่
5
การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 โรงเรียนบ้านซำงู โรงเรียนบ้านสมสะอาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ฯลฯ เป็นต้น