Advertisement
เส้นทางสายไหมเป็นช่องทางสำคัญที่กระจายอารยธรรมโบราณของจีนไปสู่ตะวันตก และเป็นสะพานเชื่อมในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับตะวันตกด้วย
เส้นทางสายไหมที่ผู้คนกล่าวถึงบ่อยๆนั้นหมายถึงเส้นทางบกที่ จางเชียนในสมัยซีฮั่นของจีนสร้างขึ้น เริ่มต้นจากเมืองฉางอาน ทางทิศตะวันออกจนถึงกรุงโรม ทางทิศตะวันตก เส้นทางบกสายนี้มีเส้นทางแย กสาขาเป็นสองสายไปทางทิศใต้และทางทิศเหนือ เส้นทางทิศใต้จากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกทางด่านหยางกวน ผ่านภูเขาคุนหลุนและเทือกเขาชงหลิ่น ไปถึงต้าเย่ซื่อ(แถวซินเจียงและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน) อันซิ( อิหร่านในปัจจุบัน) เถียวซื่อ(คาบสมุทรอาหรับปัจจุบัน)ซี่งอยู่ทางตะวันตก สุดท้ายไปถึงอาณาจักรโรมัน ส่วนเส้นทางทิศเหนือจากเมืองตุนหวงไปสู่ทางตะวันตกโดยออกด่านอวี้เหมินกวน ผ่านเทือกเขาด้านใต้ของภูเขาเทียนซานและเทือกเขาชงหลิ่น ผ่านต้าหว่าน คางจวี (อยู่ในเขตเอเซียกลางของรัสเซีย) แล้วไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้ สุดท้ายรวมกันกับเส้นทางทิศใต้ เส้นทางสองสายนี้เรียกว่า“เส้นทางสายไหมทางบก”
นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางสายไหมอีกสองสายซึ่งน้อยคนจะทราบ สายหนึ่งคือ“เส้นทางสายไหมทิศตะวันตกเฉียงใต้” เริ่มจากมณฑลเสฉวนผ่านมณฑลยูนนานและแม่น้ำอิรวดี จนถึงจังหวัดหม่องกงในภาคเหนือของพม่า ผ่านแม่น้ำชินด์วิน ไปถึงมอพาร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ต่อจากนั้น เลียบแม่น้ำคงคาไปถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และไปถึงที่ราบสูงอิหร่าน เส้นทางสายไหมสายนี้มีประวัติยาวนานกว่าเส้นทางสายไหมทางบก เมื่อปี1986 นักโบราณคดีได้พบซากอารยธรรมซานซิงตุยที่เมืองกว่างฮั่น มณฑลเสฉวน ซึ่งห่างจากปัจจุบันประมาณสามพันกว่าปี ได้ขุดพบโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเอเซียตะวันตกและกรีซ ในจำนวนนั้น มีไม้เท้าทองที่ยาว142เซ็นติเมตร “ต้นไม้วิเศษ”ที่สูงประมาณสี่เมตรและรูปปั้นคนทองแดง หัวทองแดงและหน้ากากทองแดงเป็นต้นที่มีทั้งขนาดใหญ่และเล็กต่างๆกัน ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าวัตถุโบราณเหล่านี้อาจะถูกนำเข้ามาในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันตกและตะวันออก ถ้าความคิดเห็นประการนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง เส้นทางสายไหมสายนี้ก็มีอยู่แล้วตั้งแต่กว่าสามพันปีก่อน
เส้นทางสายไหมอีกสายหนึ่งคือ นั่งเรือจากนครกวางเจาผ่านช่องแคบหม่านล่าเจีย(ช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน) ไปถึงลังกา (ศรีลังกาในปัจจุบัน) อินเดียและอัฟริกาตะวันออก เส้นทางเส้นนี้ได้ชื่อว่า“เส้นทางสายไหมทางทะเล” วัตถุโบราณจากโซมาลีที่อัฟริกาตะวันออกเป็นต้นยืนยันว่า “เส้นทางสายไหมทางทะเล”สายนี้ปรากฎขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งของจีน
“เส้นทางสายไหมทางทะเล”ได้เชื่อมจีนกับประเทศอารยธรรมที่สำคัญและแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมของโลก ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในเขตเหล่านี้ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น“เส้นทางแลกเปลี่ยนระหว่างตะวันออกกับตะวันตก” เอกสารด้านประวัติศาสตร์ระบุว่า สมัยนั้นมาร์โค โปโลก็ได้เดินทางมาถึงจีนโดยผ่าน“เส้นทางสายไหมทางทะเล” ตอนกลับประเทศ เขาได้ลงเรือที่เมืองเฉวียนโจวของมณฑลฮกเกี้ยนของจีนกลับถึงเวนิส ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาโดยผ่านเส้นทางสายนี้เหมือนกัน
ที่มา http://blog.spu.ac.th/Kratay/2008/12/02/entry-2
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 4,741 ครั้ง เปิดอ่าน 22,754 ครั้ง เปิดอ่าน 20,912 ครั้ง เปิดอ่าน 21,455 ครั้ง เปิดอ่าน 13,868 ครั้ง เปิดอ่าน 20,135 ครั้ง เปิดอ่าน 36,989 ครั้ง เปิดอ่าน 17,803 ครั้ง เปิดอ่าน 43,385 ครั้ง เปิดอ่าน 89,436 ครั้ง เปิดอ่าน 8,878 ครั้ง เปิดอ่าน 202,428 ครั้ง เปิดอ่าน 29,586 ครั้ง เปิดอ่าน 15,919 ครั้ง เปิดอ่าน 189,534 ครั้ง เปิดอ่าน 32,481 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 16,707 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 49,399 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 23,048 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 114,480 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 24,814 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,182 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,223 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 31,865 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,736 ครั้ง |
เปิดอ่าน 74,106 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,046 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,567 ครั้ง |
|
|