Advertisement
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันไม่เคยมีรายงานการตรวจพบสารไดออกซินในขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่ม พร้อมเผยผลการทดลองโดยนำตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติก ที่จำหน่ายในท้องตลาด ชนิดพอลิเอทิลีน (PE) พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) พอลิพรอพิลีน (PP) พอลิคาร์บอเนต (PC)และพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ไปวางในรถยนต์ที่จอดกลางแดด 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นนำไปตรวจวิเคราะห์หาสารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบี โดยใช้เทคนิคและวัดปริมาณ ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ผลตรวจไม่พบในทุกตัวอย่าง
นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากกระแสข่าวผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และสื่อสังคมออนไลน์เตือนให้หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกที่เก็บในหลังรถยนต์ และจอดกลางแดด โดยมีโอกาสได้รับสารไดออกซินที่แพร่ออกมาจากขวดน้ำพลาสติก เนื่องจากอากาศร้อนจัด อาจทำให้เกิดมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งอื่นๆ ได้ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นกลัวถึงอันตรายจากการดื่มน้ำบรรจุ ขวดพลาสติก ในเรื่องนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ซึ่งมีภารกิ ในการวิเคราะห์ วิจัยทางด้านไดออกซิน น้ำดื่ม และวัสดุสัมผัสอาหาร ขอชี้แจงข้อมูลเพื่อให้ความรู้ผู้บริโภคดังนี้ --
สารไดออกซิน (Dioxins) เป็นชื่อกลุ่มสารที่มีโครงสร้างและสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกัน ประกอบด้วย สารกลุ่มโพลี คลอริเนตเตท ไดเบนโซพารา ไดออกซิน (Polychlorinated dibenzo-para-dioxins: PCDDs) สารกลุ่มโพลีคลอริเนตเตท ไดเบนโซ ฟูแรน (Polychlorinated dibenzo furans: PCDFs) และสารกลุ่มโพลีคลอริเนตเตทไบฟีนิล ที่มีสมบัติคล้ายสารไดออกซิน (Dioxins–like polychlorinated biphenyls: DL-PCBs) ซึ่งกลุ่มสารไดออกซินที่ก่อให้เกิดพิษมี 29 ตัว และสารแต่ละตัวจะมีค่าความเป็นพิษแตกต่างกัน โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือว่าสาร 2,3,7,8–Tetrachlorodibenzo-para-dioxin (2,3,7,8-TCDD) เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูงสุด
สารไดออกซินเป็นผลผลิตทางเคมีที่เกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ จากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ แหล่งกำเนิดสำคัญของสารกลุ่มนี้คือกระบวนการผลิตเคมีภัณฑ์ที่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรือกระบวนการเผาไหม้อุณหภูมิสูงทุกชนิด เช่น เตาเผาขยะทั่วไป เตาเผาขยะจากโรงพยาบาล เตาเผาศพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น การสร้างกลุ่มสาร ไดออกซินจากการเผาไหม้จะอยู่ในช่วงอุณหภูมิประมาณ 200-550 องศาเซลเซียส และจะเริ่มถูกทำลายเมื่ออุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียสขึ้นไป ทำให้มีการปลดปล่อยและสะสมสารกลุ่มนี้ในสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ดิน หรือน้ำ ซึ่งสามารถปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ได้
นายแพทย์อภิชัย กล่าวต่ออีกว่า กระแสข่าวเรื่องไดออกซินละลายออกมาจากขวดบรรจุน้ำดื่มเมื่อวางไว้ในที่ร้อนๆ เช่น หลังรถยนต์นั้น เป็นเหมือนเรื่องเล่าต่อๆ กันมาโดยปราศจากแหล่งข้อมูลที่แน่ชัด ความจริงที่สืบค้นจากข้อมูลทางวิชาการที่มีการศึกษาวิจัย และเผยแพร่ในวารสารที่มีการพิจารณาตรวจแก้จากผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปได้ว่า ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินในพลาสติก และสารเคมีต่างๆที่มีการกล่าวอ้างว่าละลายออกมาจากขวดพลาสติกทั้งในสภาวะอุณหภูมิสูงหรือสภาวะการแช่แข็ง แล้วทำปฏิกิริยาเกิดเป็นสารไดออกซินนั้นไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่าเกิดขึ้นได้
ความจริงคือขวดพลาสติกขนาดเล็ก ปัจจุบันมีอยู่ 2 ชนิด คือขวดสีขาวขุ่น ทำจากพลาสติกชนิด PE (พอลิเอทิลีน) และขวดใสไม่มีสีทำจากพลาสติกชนิด PET (พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต)ซึ่งนิยมใช้กันมากกว่าขวดแบบขาวขุ่น สำหรับขวดบรรจุน้ำ ชนิดเติม ซึ่งมีการบรรจุซ้ำจะเป็นขวดความจุประมาณ 20 ลิตรมี 3 ชนิด คือขวดสีขาวขุ่นทำจากพลาสติก ชนิด PP (พอลิพรอพิลีน) ขวดใส สีฟ้าอ่อน หรือสีเขียวอ่อน ทำจากพลาสติกชนิด PC (พอลิคาร์บอเนต) และขวดพลาสติกชนิด PET พลาสติกเหล่านี้ไม่มีสารคลอรีน เป็นองค์ประกอบที่จะเป็นต้นกำเนิดของไดออกซิน หรือถึงแม้ว่าพลาสติกชนิดอื่น เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ แต่อุณหภูมิของน้ำในขวดไม่ได้สูงมากพอที่จะท้าให้เกิดสารไดออกซินขึ้นมาได้ อีกทั้งไม่นิยมใช้เพื่อบรรจุน้ำบริโภค
ด้วยเหตุนี้ห้องปฏิบัติการไดออกซิน สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงทำการทดลองโดยซื้อตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พอลิพรอพิลีน พอลิคาร์บอเนต และพอลิไวนิลคลอไรด์ที่จำหน่ายในตลาดสดและซุปเปอร์มาเก็ต จำนวน 18 ยี่ห้อ และนำไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นตรวจวิเคราะห์สารประกอบกลุ่มไดออกซิน จำนวน 17 ตัว และพีซีบี จำนวน 18 ตัว โดยใช้เทคนิคขั้นสูง Isotope Dilution และวัดปริมาณด้วยเครื่องมือ High Resolution Gas Chromatography/High Resolution Mass Spectrometry ผลการวิเคราะห์สรุปว่า ตรวจไม่พบ สารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบีในทุกตัวอย่าง ขอแนะนำผู้บริโภคควรพิจารณาแหล่งของข่าวสารต่างๆ ที่ได้รับจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์และตรวจสอบที่มาด้วยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ
ที่มา ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 02 มิถุนายน พ.ศ. 2557
เครื่องนวดมือถือ บรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ พกพาสะดวก Fascia Gun massage gun ปืนนวดไฟฟ้า นวดกล้ามเนื้อที่นวดไฟฟ้า ปืนนวด
฿169 - ฿309https://s.shopee.co.th/9pPNtev3WT?share_channel_code=6
Advertisement
![กว่าจะเป็น เวียงจันทน์เกมส์ กว่าจะเป็น เวียงจันทน์เกมส์](news_pic/p23139750547.jpg) เปิดอ่าน 13,234 ครั้ง ![เทคนิคปลดหนี้ที่ควรรู้ หมดหนี้สินไว ๆ ต้องทำตามนี้ เทคนิคปลดหนี้ที่ควรรู้ หมดหนี้สินไว ๆ ต้องทำตามนี้](news_pic/p73471142213.jpg) เปิดอ่าน 21,633 ครั้ง ![การเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก การเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก](news_pic/p12022321226.jpg) เปิดอ่าน 5,139 ครั้ง ![ความผิดปกติที่เกิดจากการนอนส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด ความผิดปกติที่เกิดจากการนอนส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด](news_pic/p59712712050.jpg) เปิดอ่าน 24,936 ครั้ง ![ประวัติกระดาษห่อลูกอมฮาร์ตบีท ประวัติกระดาษห่อลูกอมฮาร์ตบีท](news_pic/p89538830248.jpg) เปิดอ่าน 20,985 ครั้ง ![สุขภาพปากและฟันกับโรคหัวใจ สุขภาพปากและฟันกับโรคหัวใจ](news_pic/p28817870434.jpg) เปิดอ่าน 16,238 ครั้ง ![เปิดโผ 15 อาชีพที่กำลังจะสาบสูญไปในอนาคต เปิดโผ 15 อาชีพที่กำลังจะสาบสูญไปในอนาคต](news_pic/p50803271130.jpg) เปิดอ่าน 37,573 ครั้ง ![เชื้อไวรัสโรคหวัดมีอยู่ทั่วไปแค่เอื้อม ให้หมั่นล้าง มือกันไม่ให้เป็นสะพาน เชื้อไวรัสโรคหวัดมีอยู่ทั่วไปแค่เอื้อม ให้หมั่นล้าง มือกันไม่ให้เป็นสะพาน](news_pic/p25009680754.jpg) เปิดอ่าน 8,072 ครั้ง ![4 พฤติกรรม "ผู้นำ" ที่ดี 4 พฤติกรรม "ผู้นำ" ที่ดี](news_pic/p14232171529.jpg) เปิดอ่าน 65,078 ครั้ง ![ปัสสาวะบอกโรค ลองสังเกตตัวเองดูสิ ปัสสาวะบอกโรค ลองสังเกตตัวเองดูสิ](news_pic/p19529520923.jpg) เปิดอ่าน 27,499 ครั้ง ![การ์ตูนเป็ดโดนัลด์ดั๊ก อายุ 75 ปีแล้วนะ การ์ตูนเป็ดโดนัลด์ดั๊ก อายุ 75 ปีแล้วนะ](news_pic/p62681770832.jpg) เปิดอ่าน 27,116 ครั้ง ![อาหารขยะ...ทานได้แต่ต้องฉลาดเลือก อาหารขยะ...ทานได้แต่ต้องฉลาดเลือก](news_pic/p60369410600.jpg) เปิดอ่าน 11,482 ครั้ง ![ประโยชน์และโทษของ "ขิง" ที่คุณอาจคาดไม่ถึง ประโยชน์และโทษของ "ขิง" ที่คุณอาจคาดไม่ถึง](news_pic/p81557480722.jpg) เปิดอ่าน 97,741 ครั้ง ![แก้เมื่อยด้วย กะลา แก้เมื่อยด้วย กะลา](news_pic/p48328950626.jpg) เปิดอ่าน 12,507 ครั้ง ![8 เรื่องควรใส่ใจดูแล รถใช้ก๊าซ 8 เรื่องควรใส่ใจดูแล รถใช้ก๊าซ](news_pic/p30000740202.jpg) เปิดอ่าน 11,540 ครั้ง ![รู้หรือยัง ประวัติ "ปาท่องโก๋" รู้หรือยัง ประวัติ "ปาท่องโก๋"](news_pic/p10121450915.jpg) เปิดอ่าน 43,722 ครั้ง
|
![ดื่มน้ำอัดลม 0 แคลอรี่ ช่วยลดน้ำหนักได้ จริงหรือ? / พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล ดื่มน้ำอัดลม 0 แคลอรี่ ช่วยลดน้ำหนักได้ จริงหรือ? / พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล](news_pic/p59149810935.jpg)
เปิดอ่าน 10,759 ☕ คลิกอ่านเลย |
![กินยาให้ถูกโรค กินยาให้ถูกโรค](news_pic/p78524200545.jpg)
เปิดอ่าน 18,963 ☕ คลิกอ่านเลย | ![10 บัญญัติขจัดโรคน้ำท่วม 10 บัญญัติขจัดโรคน้ำท่วม](news_pic/p46486230818.jpg)
เปิดอ่าน 9,303 ☕ คลิกอ่านเลย | ![5 สัญญาณโรคร้าย ที่ชายไม่ควรเมิน 5 สัญญาณโรคร้าย ที่ชายไม่ควรเมิน](news_pic/p20719730234.jpg)
เปิดอ่าน 14,437 ☕ คลิกอ่านเลย | ![7 วัดเชียงใหม่ เที่ยวเชียงใหม่สุดปัง ไหว้พระรับโชค 7 วัดเชียงใหม่ เที่ยวเชียงใหม่สุดปัง ไหว้พระรับโชค](news_pic/p80726480615.jpg)
เปิดอ่าน 5,208 ☕ คลิกอ่านเลย | ![ปรับโหงวเฮ้ง เสริมทรัพย์ เสริมบารมี ปรับโหงวเฮ้ง เสริมทรัพย์ เสริมบารมี](news_pic/p85881160619.jpg)
เปิดอ่าน 19,352 ☕ คลิกอ่านเลย | ![ความผิดปกติที่เกิดจากการนอนส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด ความผิดปกติที่เกิดจากการนอนส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด](news_pic/p59712712050.jpg)
เปิดอ่าน 24,936 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ ![ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2554 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2554](news_pic/pic/p61544461146.jpg)
เปิดอ่าน 21,401 ครั้ง | ![ชมคลิป ยอดคุณพ่อเวียดนามจับลูกใส่ถุงพลาสติก พาลุยน้ำท่วมไปโรงเรียน ชมคลิป ยอดคุณพ่อเวียดนามจับลูกใส่ถุงพลาสติก พาลุยน้ำท่วมไปโรงเรียน](news_pic/p66463500910.jpg)
เปิดอ่าน 12,056 ครั้ง | ![ภาษาจีนน่ารู้ ภาษาจีนน่ารู้](news_pic/p48769610744.jpg)
เปิดอ่าน 40,612 ครั้ง | ![พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2562 พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2562](news_pic/p15715820339.jpg)
เปิดอ่าน 14,092 ครั้ง | ![ประวัติเครื่องหมายหาร (÷) ประวัติเครื่องหมายหาร (÷)](news_pic/p35513120830.jpg)
เปิดอ่าน 270,796 ครั้ง |
|
|