Advertisement
พระพุทธศาสนาคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดในประเทศอินเดีย ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี (พระพุทธศาสนาเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน) ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนาคือเป็นศาสนาแห่งความรู้และความเป็นจริง เพราะเป็นศาสนาแห่งการตรัสรู้จากพระปัญญาอันยิ่งของพระพุทธองค์เอง พระธรรมที่ทรงตรัสรู้ คืออริยสัจ ๔ ก็เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ กล่าวคือในกระบวนการคิดของโลกศาสนา พระพุทธศาสนาได้รับยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามในนามศาสนาหรือการเผยแผ่ศาสนา เพราะให้เสรีภาพในการพิจารณาด้วยปัญญา และพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความอิสระเสรีภาพ กล่าวคือไม่ผูกติดกับผู้ดลบันดาลหรือพระผู้เป็นเจ้า เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่ามีศักยภาพในการปลดเปลื้องทุกข์โดยไม่ต้องรอการดลบันดาล พระพุทธศาสนานับว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง ซึ่งมีผู้นับถือจำนวนมากหลายร้อยล้านคน โดยเฉพาะในประเทศทางเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
พระศาสดาของพระพุทธศาสนาคือ พระพุทธเจ้า พระนามว่า สิทธัตถะ แปลว่า "ผู้มีความสำเร็จสมประสงค์ในทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนตั้งใจจะทำ" พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ทรงมีพระปัญญาอันเลิส สามารถศึกษาเล่าเรียนได้ว่องไว ทรงมีความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาการหลายสาขา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา มีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า พระราหุล แม้ชีวิตในฆราวาสวิสัยจะทรงสมบูรณ์ด้วยสุขสมบัติเพียงใด พระองค์ก็ทรงมีพระราชหฤทัยน้อมไปในทางที่จะทรงผนวชเพื่อแสวงหาสัจธรรม เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของโลก ทั้งมีพระกรุณาประสงค์ที่จะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์ จึงทรงสละความสุขนานาประการเสด็จออกผนวชขณะที่มีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา หลังจากทรงผนวชพระองค์ได้ทรงศึกษาความรู้จากสำนักอาจารย์ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญ ทั้งได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยวิธีการต่าง ๆ ก็ยังมิได้บรรลุถึงซึ่งทางพ้นทุกข์ พระองค์จึงทรงหันมามุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง จึงได้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลกขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้เสด็จสั่งสอนแนะนำประชาชนในแคว้นต่างๆในประเทศอินเดีย เป็นเวลาถึง ๔๕ ปี ประชาชนในสมัยนั้นหันมานับถือพระพุทธศาสนา และเข้ามาบรรพชา อุปสมบทเป็นจำนวนมาก
การบำเพ็ญกรณียกิจทั้งของพระพุทธเจ้าและของพระสาวก มีวัตถุประสงค์และขอบเขตกว้างขวางดังจะเห็นได้จากพุทธพจน์ แต่ครั้งแรกที่ีทรงส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย” ด้วยพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณอันเลิศของพระพุทธองค์ ยังผลให้มหาชาชาวโลกได้ผ่องใสพ้นทุกข์เป็นอันมาก พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนประชาชนจนพระชนมายุ ๘๐ พรรษา จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระพุทธสาวกทั้งหลายได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อมา จนกระทั่งถึงประมาณ พุทธศักราช ๓๐๐ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งเมืองปาฏลีบุตรร่วมกับคณะสงฆ์ ได้ส่งพระสงฆ์ออกประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ พระสงฆ์คณะหนึ่งได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ อันได้แก่ดินแดนในเขตประเทศพม่าและประเทศไทยในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้เจริญขึ้น ณ ดินแดนแห่งนี้ตามลำดับ จนกระทั่งถึงสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ทรงรับเอาศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นศาสนาประจำชาติไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ตราไว้ว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก คือ แม้พระองค์จะทรงนับถือพระพุทธศาสนา แต่พระองค์ก็พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นๆในประเทศไทยด้วยเช่นกัน พระพุทธศาสนาได้ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของชนชาติไทยมาเป็นเวลาช้านาน ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติไทยล้วนได้รับการหล่อหลอมจากพระพุทธศาสนา และดำรงมั่นคงคู่ไทยตลอดมา
Advertisement
เปิดอ่าน 21,379 ครั้ง เปิดอ่าน 111,251 ครั้ง เปิดอ่าน 107,879 ครั้ง เปิดอ่าน 17,513 ครั้ง เปิดอ่าน 23,865 ครั้ง เปิดอ่าน 3,221 ครั้ง เปิดอ่าน 21,413 ครั้ง เปิดอ่าน 34,099 ครั้ง เปิดอ่าน 20,509 ครั้ง เปิดอ่าน 18,433 ครั้ง เปิดอ่าน 13,975 ครั้ง เปิดอ่าน 20,849 ครั้ง เปิดอ่าน 23,461 ครั้ง เปิดอ่าน 20,347 ครั้ง เปิดอ่าน 21,550 ครั้ง เปิดอ่าน 22,779 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 20,509 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 23,865 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,212 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,799 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,074 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,887 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 36,680 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 23,018 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,761 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,655 ครั้ง |
เปิดอ่าน 145,991 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,290 ครั้ง |
|
|