ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ความเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว: ประเทศไทยกับ 3 รอยเลื่อนมีพลัง และพื้นที่เสี่ยงภัย 5 ระดับ


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6 พ.ค. 2557 เวลา 09:23 น. เปิดอ่าน : 24,224 ครั้ง
Advertisement

ความเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว: ประเทศไทยกับ 3 รอยเลื่อนมีพลัง และพื้นที่เสี่ยงภัย 5 ระดับ

Advertisement

ที่มา http://thaipublica.org/

สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว ถ้าไม่นับรวมแผ่นดินไหวที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ด้วยการทดลองระเบิดปรมาณู การระเบิดเพื่อทำเหมืองแร่ หรือการสร้างเขื่อน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวเพียงเล็กน้อยและเกิดขึ้นไม่บ่อยแล้ว สาเหตุหลักตามธรรมชาติ ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุดคือ กระบวนการขยายตัวของเปลือกโลก และการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน

สาเหตุสำคัญของแผ่นดินไหวส่วนใหญ่ เกิดขึ้นบนเขต “รอยเลื่อนมีพลัง (active fault zone)” ซึ่งในทางธรณีวิทยา “รอยเลื่อน (fault)” หรือ “แนวรอยเลื่อน (fault line)” เป็น “รอยแตกระนาบ (planar fracture)” ในหิน ที่หินด้านหนึ่งของรอยแตกเคลื่อนที่ไปบนหินอีกด้านหนึ่ง รอยเลื่อนขนาดใหญ่ในชั้นเปลือกโลกเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกันหรือเฉือนกันในเขตรอยเลื่อนมีพลัง

รอยเลื่อนมีพลังแตกต่างจากรอยเลื่อนไม่มีพลังตรงที่ รอยเลื่อนมีพลังจะมีการสะสมพลังงาน สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้อีกในอนาคต ในขณะที่รอยเลื่อนที่ไม่มีพลังไม่สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้อีก นักธรณีวิทยาได้แบ่งลักษณะของรอยเลื่อนโดยอาศัยหลักฐานคือ ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่ารอยเลื่อนมีการเคลื่อนที่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ในช่วง 10,000 ปีที่ผ่านมา จะถือว่ารอยเลื่อนเหล่านั้นคือรอยเลื่อนที่มีพลัง

เราสามารถแบ่งประเภทของรอยเลื่อนได้เป็น 3 กลุ่ม จำแนกตามลักษณะของระยะเลื่อน (sense of slip) คือ

1. รอยเลื่อนตามแนวมุมเท (dip-slip fault) แบ่งได้เป็น รอยเลื่อนย้อน (reverse fault) และรอยเลื่อนปกติ (normal fault) ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ชั้นหินทั้ง 2 ระนาบ เคลื่อนตัวในแนวดิ่ง โดยชั้นหินด้านหนึ่งจะเคลื่อนที่ขึ้น ขณะที่อีกด้านหนึ่งจะเคลื่อนที่ลง ขึ้นอยู่กับทิศทางและมุมที่ชั้นหินทั้งสองระนาบทำต่อกัน สามารถทำให้เกิดสึนามิได้หากเกิดขึ้นในทะเล

2. รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) เป็นรอยเลื่อนที่ชั้นหินทั้ง 2 ระนาบ เคลื่อนตัวในแนวระดับ ในทิศทางตรงข้ามกัน

3. รอยเลื่อนตามแนวเฉียง (oblique-slip fault) เป็นรอยเลื่อนที่ชั้นหินทั้ง 2 ระนาบ มีการเคลื่อนตัวตามแนวมุมเท และแนวระดับพร้อมกัน

แผนที่รอยเลื่อนของประเทศไทย

แผนที่รอยเลื่อนของประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณีได้ทำการสำรวจข้อมูลรอยเลื่อนมีพลังและพบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มรอยเลื่อนมีพลังที่สำคัญจำนวน 3 แนว ตามทิศทางการวางตัวและการเลื่อนตัว คือ 1. กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ 2. กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ และ 3. กลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวอยู่ในทิศเหนือ-ใต้ ประกอบด้วยรอยเลื่อน 14 กลุ่ม

จากข้อมูลล่าสุดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 พบว่า รอยเลื่อนมีพลังทั้งหมด 14 กลุ่ม วางตัวพาดผ่านพื้นที่ จํานวน 1,406 หมู่บ้าน 308 ตําบล 107 อําเภอ 22 จังหวัด โดยในเขตภาคเหนือเป็นเขตที่มีการพบรอยเลื่อนมีพลังอยู่มากที่สุดของประเทศไทย มีจำนวน 9 รอยเลื่อน คือ รอยเลื่อนแม่จัน, รอยเลื่อนแม่อิง, รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน, รอยเลื่อนแม่ทา, รอยเลื่อนพะเยา, รอยเลื่อนปัว, รอยเลื่อนเมย, รอยเลื่อนเถิน และรอยเลื่อนอุตรดิตถ์

ส่วนทางภาคตะวันตกของประเทศ พบรอยเลื่อนมีพลัง 2 รอยเลื่อน คือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และทางภาคใต้ พบรอยเลื่อนมีพลัง 2 รอยเลื่อน เช่นกัน คือ รอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย โดยในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีรอยเลื่อนมีพลังพาดผ่าน

ในปี พ.ศ. 2548 กรมทรัพยากรธรณี ได้จัดทำแผนที่บริเวณความเสี่ยงแผ่นดินไหว โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากรอยเลื่อนมีพลัง ลักษณะธรณีวิทยา ความถี่ และขนาดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้วิศวกรใช้ในการออกแบบก่อสร้างอาคารที่ต้องคำนึงถึงค่าความปลอดภัย ตามกฎกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของกรมโยธาธิการและผังเมืองพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ที่บังคับให้วิศวกรต้องออกแบบอาคารที่สามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้ ในพื้นที่ที่กำหนด

แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย พ.ศ. 2548 ได้มีการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยออกเป็น 5 ระดับ พบว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวสูงที่สุดของประเทศไทยคือพื้นที่บริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเมย และรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน

พื้นที่ที่มีความรุนแรงรองลงมาในระดับความเสี่ยงน้อยถึงปานกลาง คือ บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันตก และภาคใต้ ตามแนวรอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนระนอง และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น จัดอยู่ในพื้นที่มีความเสี่ยงน้อย และไม่มีความเสี่ยงที่ต้องออกแบบอาคารรับแรงแผ่นดินไหว

แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย

แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย

รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ หัวหน้าหน่วยวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา ที่ใช้เวลาหลายสิบปีในการศึกษารอยเลื่อนและติดตามเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย อธิบายเรื่องรอยเลื่อนว่า การเตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหว ภาครัฐเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะต้องให้ความรู้กับประชาชน ว่ารอยเลื่อนที่มีอยู่ในประเทศไทยอยู่ตรงไหนบ้าง ต้องมีการทำแผนที่เพื่อให้คนในจังหวัดที่มีรอยเลื่อนมีพลังพาดผ่านรู้ว่า ในพื้นที่มีรอยเลื่อนตรงไหนบ้าง เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการสร้างสิ่งปลูกสร้าง โดยต้องมีการกำหนดเขตพื้นที่รอยเลื่อนมีพลังพาดผ่าน ไม่ให้สร้างสิ่งปลูกสร้างที่มีความสำคัญ เช่น เขื่อน สะพาน และสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่

“ในพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย คือ ประเทศพม่า มีรอยเลื่อยขนาดใหญ่คือรอยเลื่อนสะแกง ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ใกล้เคียงทุกๆ 40 ปี โดยแขนงของรอยเลื่อนสะแกงนี้ ทำให้เกิดผลกับรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์และรอยเลื่อนเมย ถ้ารอยเลื่อนสะแกงสั่นไหว อาจไปกระตุ้นให้รอยเลื่อนทั้ง 2 ในประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวตามมา” รศ.ดร.ปัญญากล่าว

จากสถิติของการเกิดแผ่นดินไหวในอดีตพบว่า ทุกๆ 1,000 ปี รอยเลื่อนในประเทศไทยจะมีการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 7 ริกเตอร์ได้ ทำให้ปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่า ภายใน 1,000 ปีข้างหน้านี้ อาจมีแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ เกิดขึ้นได้อีกบนรอยเลื่อนที่อยู่บนประเทศไทย แต่จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และเกิดขึ้นที่รอยเลื่อนไหนนั้น ยังไม่สามารถระบุได้

“ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่รอยเลื่อนมีพลังพาดผ่าน จึงควรต้องศึกษาทำความเข้าใจเรื่องรอยเลื่อนที่พาดผ่านในจังหวัด หรือหมู่บ้านของตัวเอง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายได้ว่า แผ่นดินไหวในอนาคตจะเกิดที่ขึ้นไหน และเกิดขึ้นเมื่อไหร่” รศ.ดร.ปัญญา กล่าว

แหล่งข้อมูล : องค์กรสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Geological Survey) กรมทรัพยากรธรณี วิชาการธรณีไทย GeoThai.net


ความเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว: ประเทศไทยกับ 3 รอยเลื่อนมีพลัง และพื้นที่เสี่ยงภัย 5 ระดับความเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว:ประเทศไทยกับ3รอยเลื่อนมีพลังและพื้นที่เสี่ยงภัย5ระดับ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ทำไมหัวไม้ขีดถึงติดไฟ

ทำไมหัวไม้ขีดถึงติดไฟ


เปิดอ่าน 33,549 ครั้ง
โครงสร้างอะตอม

โครงสร้างอะตอม


เปิดอ่าน 6,819 ครั้ง
ประโยชน์ของดวงอาทิตย์

ประโยชน์ของดวงอาทิตย์


เปิดอ่าน 49,435 ครั้ง
ปรากฏการณ์เรือนกระจก

ปรากฏการณ์เรือนกระจก


เปิดอ่าน 46,844 ครั้ง
พืชที่ใช้ทำกระดาษ

พืชที่ใช้ทำกระดาษ


เปิดอ่าน 62,787 ครั้ง
มวลอะตอม : เคมี

มวลอะตอม : เคมี


เปิดอ่าน 21,376 ครั้ง
ฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร

ฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร


เปิดอ่าน 3,298 ครั้ง
วัสดุในชีวิตประจำวัน

วัสดุในชีวิตประจำวัน


เปิดอ่าน 36,719 ครั้ง
แก๊สน้ำตา คืออะไร

แก๊สน้ำตา คืออะไร


เปิดอ่าน 25,328 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ลมเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ลมเกิดขึ้นได้อย่างไร?

เปิดอ่าน 61,471 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
รูปร่างลักษณะของดวงจันทร์บนฟ้า
รูปร่างลักษณะของดวงจันทร์บนฟ้า
เปิดอ่าน 23,671 ☕ คลิกอ่านเลย

สนามไฟฟ้า (electric field)
สนามไฟฟ้า (electric field)
เปิดอ่าน 92,120 ☕ คลิกอ่านเลย

การวัดปริมาณน้ำฝน
การวัดปริมาณน้ำฝน
เปิดอ่าน 31,382 ☕ คลิกอ่านเลย

การทำงานของเอนไซม์
การทำงานของเอนไซม์
เปิดอ่าน 142,378 ☕ คลิกอ่านเลย

เจอดาว "โลกหมายเลข 2" นาซ่าชี้คล้ายโลกเรามากๆ
เจอดาว "โลกหมายเลข 2" นาซ่าชี้คล้ายโลกเรามากๆ
เปิดอ่าน 16,306 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์...ตลอดปี 2556
ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์...ตลอดปี 2556
เปิดอ่าน 22,156 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ปลูก "อโวคาโด" พืชเศรษฐกิจ สร้างรายได้สูง
ปลูก "อโวคาโด" พืชเศรษฐกิจ สร้างรายได้สูง
เปิดอ่าน 3,556 ครั้ง

9 วิธีปลดหนี้บัตรเครดิตแบบชิลๆ
9 วิธีปลดหนี้บัตรเครดิตแบบชิลๆ
เปิดอ่าน 27,612 ครั้ง

‘หมอธี’ เดินหน้าล้างบาง ‘กระทรวงครู’ ขจัด ‘เหลือบริ้นไร’ วงการศึกษาไทย
‘หมอธี’ เดินหน้าล้างบาง ‘กระทรวงครู’ ขจัด ‘เหลือบริ้นไร’ วงการศึกษาไทย
เปิดอ่าน 11,981 ครั้ง

วิกฤต... "บัณฑิตแห่ตกงาน" อีกหนึ่งความล้มเหลว... อุดมศึกษาไทย
วิกฤต... "บัณฑิตแห่ตกงาน" อีกหนึ่งความล้มเหลว... อุดมศึกษาไทย
เปิดอ่าน 44,671 ครั้ง

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนถนัดขวามีมากกว่าคนถนัดซ้าย
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนถนัดขวามีมากกว่าคนถนัดซ้าย
เปิดอ่าน 22,872 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ