คุณเคยสังเกต วันหมดอายุที่ติดอยู่ข้างขวดน้ำดื่มหรือไม่
น้ำไม่ได้หมดอายุ...ภาชนะที่บรรจุน้ำต่างหากที่หมดอายุ หลายคนอาจไม่เคยสังเกตมาก่อนเลยว่า น้ำดื่มที่มีขายตามท้องตลาดนั้น จะต้องระบุวันหมดอายุเอาไว้ตาม พ.ร.บ.อาหารและยา (อย.) แม้น้ำจะยังคงบรรจุอยู่ในขวดที่ปิดฝาสนิทและยังคงความใส แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งขวดพลาสติกที่บรรจุ จะปล่อยสารพิษชนิดที่ละลายออกมาปะปนกับน้ำดังที่กล่าวไว้ในข้างต้น
จากรายงานข่าว คนเสียชีวิตจากการดื่มน้ำจากการใช้ขวดพลาสติกดังกล่าวผิดวิธี เช่น การนำมาใช้ซ้ำโดยนำไปบรรจุน้ำดื่มครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะขวดดังกล่าวนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ครั้งเดียว มีอายุการใช้งานสั้น จึงไม่ควรนำมาบรรจุน้ำดื่มอีก การเก็บภาชนะเหล่านั้นถูกเก็บไว้ไม่เหมาะสม ทั้งนี้สารเคมีเช่น ทินเนอร์ (thinner) น้ำมันสารทำความสะอาดชนิดแห้ง แก๊สหลายชนิด สามารถผ่านพลาสติกเข้าไปได้ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของน้ำดื่มที่อยู่ในขวด
การเก็บขวดน้ำไว้ในช่องแช่แข็งที่เย็นจัด หรือเก็บขวดนั้นไว้ที่ร้อนๆ เช่นในรถยนต์การสัมผัสกับความร้อน หรือแสงแดด เนื่องจากความร้อนจัด หรือเย็นจัด จะไปทำลายโรงสร้างของพลาสติก ทำให้พลาสติกเสื่อมคุณภาพและยิ่งปล่อยสารพิษปนเปื้อนในปริมาณที่สูงยิ่งขึ้น รวมไปถึงขวดน้ำที่เปิดใช้แล้ว ไม่ควรใช้นานเกินกว่า 1 อาทิตย์ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค
ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.อัจจิมา สวรรณจินดา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเลเซอร์ผิวพรรณ ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2557