ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสุขศึกษาและพลศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ


สุขศึกษาและพลศึกษา เปิดอ่าน : 14,471 ครั้ง
Advertisement

การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ

Advertisement

การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ

การออกกำลังกาย การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ การออกกำลังเพื่อให้หัวใจแข็งแรง การออกกำลังกับโรคไต การออกกำลังในน้ำ

ในคนที่ร่างปกติปกติไม่มีโรคภัยมักจะได้รับคำแนะนำการทำให้หัวใจแข็งแรงซึ่งประกอบไปด้วย  ดัชนีมวลกาย

 อัตราการเต้นหัวใจเป้าหมาย

 พลังงานที่ใช้ในการออกกำลัง

 พลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน

 BMR

การออกกำลังกายโดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอร์โรบิค {aerobic} การรับประทานอาหารคุณภาพ การลดปัจจัยเสี่ยงสำหรับการเกิดโรคหัวใจ การหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำร้ายหัวใจ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดไหน มักจะได้รับคำแนะนำจากคนทั่วไปว่าไม่ควรออกกำลังกาย แต่ความเป็นจริงคนที่เป็นโรคหัวใจก็มีความหนักเบาไม่เท่ากัน ดังนั้นการที่มีโรคหัวใจก็สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ที่ดูแลท่านก่อนการออกกำลังกาย หลายท่านที่เป็นโรคหัวใจมักจะหาอาหาร หรือยาเพื่อบำรุงหัวใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มียาหรืออาหารที่บำรุงหัวใจ อาหารจะมีบทบาทในแง่ไม่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้แก่หัวใจ เช่นอาหารไขมันต่ำ เกลือต่ำ อาหารผักและผลไม้จะมีพวกสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง(อ่านอาหารสำหรับป้องกันโรคหัวใจที่นี่) ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่ต้องแสวงหาอาหารหรือยาที่บำรุงหัวใจ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้หัวใจท่านแข็งรง

ผู้ป่วยโรคหัวใจวายเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตให้ร่างกายอย่างพอเพียงโดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีอาการเหนื่อยง่ายซึ่งเป็นอาการที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ บทความที่จะนำเสนอนี้จะเป็นแนวทางในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ

ผลจากโรคหัวใจวายจึงทำให้เหนื่อยง่ายเนื่องจาก

ปัจจัยจากหัวใจ

คนเมื่ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะต้องได้เลือดและออกซิเจนอย่างเพียงพอ ปกติปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงจะเพิ่มขึ้น 4-6 เท่า โดยเป็นการเพิ่มเนื่องจากหัวใจเต้นเร็วขึ้นได้ 2-4 เท่า และจากการบีบตัวเพิ่มขึ้นของหัวใจซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-50%

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจวายไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้อย่างพอเพียงเนื่องจากผู้ป่วยหัวใจวายสามารถสูบฉีดเพียงร้อยละ 50 ของคนปกติทั้งนี้เนื่องจากคนที่เป็นโรคหัวใจวายสามารถเพิ่มปริมาณเลือดได้ 50 ซซ(คนปกติเพิ่มได้ 100 ซซ)ต่อการบีบตัวหนึ่งครั้ง นอกจากนั้นผู้ป่วยหัวใจวายมีการเต้นของหัวใจเร็วอยู่แล้ว ดังนั้นหัวใจจึงเต้นได้เร็วขึ้นได้ไม่มากเหมือนคนปกติ

ปัจจัยจากหลอดเลือดและกล้ามเนื้อ

ผู้ป่วยโรคหัวใจวายจะมีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อน้อยลงเพราะหลอดเลือดมีการหดเกร็ง เนื่องจากผู้ป่วยโรคหัวใจวายจะมีการหลั่งสารที่เรียกว่า cathecholamine ออกมามาก(สารนี้จะช่วยให้หัวใจบีบตัวแรงและเร็วขึ้น) สารนี้จะทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงแขนขาหดเกร็ง

หน้าที่ของเซลล์เยื่อบุผิวของหลอดเลือดผิดปกติ ปกติเซลล์เยื่อบุผิวผนังหลอดเลือด(endothelial)จะสร้างสารหลายชนิดที่ควบคุมการขยายหรือหดเกร็งของผนังหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคหัวใจวายจะมีปัญหาเรื่องการหดเกร็งมากกว่า แต่เป็นเรื่องน่ายินดีว่าการออกกำลังกายจะช่วยทำให้หลอดเลือดมีการขยายเพิ่มเมื่ออกกำลังกาย

การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ เนื่องจากผู้ป่วยหัวใจวายจะมีการทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลดลง ผู้ป่วยโรคหัวใจวายจะมีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเพียง 50-75 %ของคนปกติในระหว่างออกกำลังกาย

การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจวาย

 

ผลดีของการออกกำลังกาย

 

สามารถออกกำลังกายได้เพิ่มขึ้น ทั้งออกกำลังกายได้นานขึ้นและออกได้หนักขึ้นซึ่งจะเห็นผลเมื่อออกกำลังได้ 3 สัปดาห์ วิธีการออกมีทั้งการเดิน การขี่จักรยาน และการยกน้ำหนัก โดยการให้ออกกำลังครั้งละ 20 นาทีสัปดาห์ละ 4-5 ครั้งโดยออกกำลังกายให้หัวใจเต้นได้ประมาณ 70-80%ของการเต้นเป้าหมาย(220-อายุ)

ระดับสาร Catecholamine ซึ่งเป็นสารร่างกายสร้างขึ้นในภาวะที่เป็นโรคหัวใจวาย หากสารนี้มีมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย หลังการออกกำลังกายพบว่ารายงานส่วนใหญ่กล่าวไว้ว่ามีปริมาณลดลง ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ป่วย

การออกกำลังกายจะทำให้ระบบการหายใจดีขึ้น มีการแลกเปลี่ยนของก๊าซเพิ่มขึ้น

การทำงานของเซลล์เยื่อบุผิวหลอดเลือดดีขึ้น(endotheliail)ทำให้มีการหลั่งสารที่ทำให้หลอดเลือดขยายได้มากขึ้น เลือดไปเลี้ยงแขนขาและที่สำคัญไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น

การออกกำลังกายทำให้หัวใจมีการปรับตัวทำงานดีขึ้น หลังการออกกำลังกายพบว่าการทำงานของหัวใจดีขึ้น หัวใจเต้นช้าลง และเพิ่มปริมาณเลือดในการบีบตัวแต่ละครั้ง(systolic)

อัตราการตาย หรือการนอนโรงพยาบาล หรืออาการเจ็บหน้าอกลดลง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจวายชนิดคลายตัวไม่ดี Diastolic dysfunction เป็นภาวะหัวใจซึ่งเกิดจากหัวใจไม่สามารถคลายตัวเพื่อรับเลือด ทำให้หัวใจบีบแต่ละครั้งได้เลือดน้อยกว่าปกติ ภาวะนี้มักจะเกิดในผู้ที่สูงอายุ กล้ามเนื้อหัวใจหนา เส้นเลือดหัวใจตีบ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะพบแพทย์ด้วยเรื่องเหนื่อยเวลาออกกังกาย มีการทดลองพบว่าการออกกำลังกายสามารถทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น

การออกกำลังกายในคนสูงอายุ การทำงานของหัวใจในผู้สูงอายุจะลดลงแม้ว่าจะไม่มีโรค พบว่าการออกกำลังกายในผู้สูงอายุจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง และการทำงานของหัวใจดีขึ้น มีการเปรียบเทียบการทำงานของหัวใจของคนที่ออกกำลัง และคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย พบว่าการทำงานของผู้ที่ออกกำลังกายดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายทำให้หัวใจเล็กลง ได้มีการทดลองในหนูที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหน้าจากความดันโลหิตสูง พบว่าหนูที่ให้ออกกำลังโดยการว่ายน้ำจะมีความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง การใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น

สำหรับผู้ที่มีลิ้นหัวใจรั่วหรือลิ้นหัวใจตีบต้องแก้ไขโดยการผ่าตัด

ปัจจัยเสี่ยงของการออกกำลังกาย

 

ปัจจัยเสียงของการออกกำลังกายคือปัจจัยที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิขณะหรือหลังการออกกำลังกาย พบว่าปัจจัยที่สำคัญได้แก่

อายุ คนที่มีอายุมากมักจะมีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และอาจจะมีโรคหัวใจอยู่โดยที่ไม่เกิดอาการ เมื่อออกกำลังกายอาจจะทำให้เกิดอาการหัวใจวาย ดังนั้นผู้สูงอายุหากจะออกกำลังกายต้องได้รับการประเมินจากแพทย์

ผู้ที่มีโรคหัวใจอยู่ก่อน พบว่าผู้ที่มีโรคหัวใจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากออกกำลังกายหนัก เช่นการจ๊อกกิ่ง ดังนั้นผู้ที่สูงอายุ และมีโรคหัวใจต้องประเมินโดยแพทย์ก่อนออกกำลังกาย เพื่อกำหนดความหนัก ชนิดของการออกกำลังกาย หากมีการเฝ้าติดตามการเต้นของหัวใจโดยแพทย์จะทำให้เกิดความปลอดภัยสูงขึ้น

เริ่มต้นการออกกำลังกาย                                      

คนที่มีโรคหัวใจต้องมีการอบอุ่นร่างกายนานกว่าคนทั่วไป แนะนำให้ใช้เวลา 10-15 นาทีในการอบอุ่นร่างกายแต่ละครั้ง

ความถี่ของการออกกำลังกายไม่ต้องถี่มากเหมือนคนปกติ แนะนำให้ออกกำลังกาย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ หากผู้ป่วยเพลียก็ให้พักหนึ่งวันหลังการออกกำลังกาย

ความหนักของการออกกำลังกาย ให้พิจารณาเป็นรายบุคคล เพราะสภาพโรคหัวใจที่ต่างกัน ความรุนแรงต่างกัน การกำหนดความแรงของการออกกำลังกายแพทย์จะเป็นผู้กำหนด โดยมีการทดสอบทั้งก่อน ขณะหรือหลังการออกกำลังกาย เพื่อหาความเหมาะสม ความแรงของการออกเริ่มตั้งแต่ 50-80%ของอัตราการเต้นหัวใจเป้าหมาย

ระยะเวลาในการออกกำลังประมาณ 20-30 นาที

ชนิดของการออกกำลังกายควรจะเป็นแบบแอโรบิค เช่นการเดิน การว่ายน้ำ การขี่จักรยานอยู่กับที่

เริ่มต้นการออกกำลังกายควรจะอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อประเมินสภาพของร่างกาย โรคแทรกซ้อน การเฝ้าติดตามการเต้นของหัวใจ และให้ผู้ป่วยเรียนรู้อาการ หรือสันญาณเตือนภัย หลังที่เฝ้าติดตามแล้วหากไม่มีความเสียง แพทย์จะให้ออกกำลังกายที่บ้าน แต่ต้องไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินผลของการออกกำลังกาย

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่จะออกกำลังกาย

ปรึกษาแพทย์ของท่าว่าจะออกกำลังกายนานแค่ไหน ออกกำลังกายอย่างไร หนักแค่ไหน ถี่แค่ไหน

อย่าออกกำลังกายขณะท้องว่าง หลังรับประทานอาหารหนึ่งชั่วโมงจึงออกกำลังกาย

ควรออกกำลังกายในร่มหากอากาศร้อน หรือหนาวจัด

อย่ากลั้นหายใจขณะออกกำลังกาย ให้หายใจปกติ การหายใจไม่ควรติดขัด และควรจะพูดคุยได้ไม่เหนื่อยหอบ

ให้อบอุ่นร่างกายและมีการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนการออกกำลังกาย

อาจจะเข้าออกกำลังกายในศูนย์ที่มีเครื่องมือและเจ้าหน้าที่พร้อม

ใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนาเกินไป

ออกกำลังกายให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน

ควรจะมีเพื่อนร่วมออกกำลังกายด้วย

อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ โดยการดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนการออกกำลังกาย

ให้บันทึกระยะเวลา และระยะทางที่ออก

ที่มา http://www.siamhealth.net/Health/good_health_living/exercise/heartexercise.htm


การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เด็กกับโรคหวัด

เด็กกับโรคหวัด


เปิดอ่าน 16,584 ครั้ง
เซอร์บาเดน เพาเวล

เซอร์บาเดน เพาเวล


เปิดอ่าน 14,120 ครั้ง
กระบี่กระบอง

กระบี่กระบอง


เปิดอ่าน 32,143 ครั้ง
พืชสมุนไพรพื้นบ้าน

พืชสมุนไพรพื้นบ้าน


เปิดอ่าน 46,818 ครั้ง
โปรตีนสำหรับนักกีฬา

โปรตีนสำหรับนักกีฬา


เปิดอ่าน 18,706 ครั้ง
กรีฑา (Athletics)

กรีฑา (Athletics)


เปิดอ่าน 102,029 ครั้ง
สมุนไพรพิชิตหน้าหนาว

สมุนไพรพิชิตหน้าหนาว


เปิดอ่าน 17,260 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การวิ่งเพื่อสุขภาพ (สุขศึกษา)

การวิ่งเพื่อสุขภาพ (สุขศึกษา)

เปิดอ่าน 38,091 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
4 ข้อควรทำคลายบาดเจ็บจากกีฬา
4 ข้อควรทำคลายบาดเจ็บจากกีฬา
เปิดอ่าน 25,360 ☕ คลิกอ่านเลย

ไขข้อข้องใจ เรื่องริดสีดวงทวาร
ไขข้อข้องใจ เรื่องริดสีดวงทวาร
เปิดอ่าน 19,830 ☕ คลิกอ่านเลย

สนามเด็กเล่น แหล่งรวมเกมส์ ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้
สนามเด็กเล่น แหล่งรวมเกมส์ ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้
เปิดอ่าน 21,647 ☕ คลิกอ่านเลย

เตือนภัย "ถ่ายเป็นเลือด" ระวังโรคแฝง...ร้ายแรงถึงชีวิต!!
เตือนภัย "ถ่ายเป็นเลือด" ระวังโรคแฝง...ร้ายแรงถึงชีวิต!!
เปิดอ่าน 122,509 ☕ คลิกอ่านเลย

หลัก4อ. ป้องกันตัวเองให้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
หลัก4อ. ป้องกันตัวเองให้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
เปิดอ่าน 17,452 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีปฐมพยาบาล เมื่อของติดคอเด็ก
วิธีปฐมพยาบาล เมื่อของติดคอเด็ก
เปิดอ่าน 22,122 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ประโยคเพื่อการสื่อสาร
ประโยคเพื่อการสื่อสาร
เปิดอ่าน 5,976 ครั้ง

ว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้
เปิดอ่าน 33,237 ครั้ง

ภาพแบบ Vector
ภาพแบบ Vector
เปิดอ่าน 18,328 ครั้ง

ปรับฮวงจุ้ย รับหน้าฝน
ปรับฮวงจุ้ย รับหน้าฝน
เปิดอ่าน 9,101 ครั้ง

ดูกันชัดๆ ค่าเทอมหลักแสน โรงเรียนอินเตอร์
ดูกันชัดๆ ค่าเทอมหลักแสน โรงเรียนอินเตอร์
เปิดอ่าน 18,400 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ