ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสุขศึกษาและพลศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ระบบเลือดไหลเวียน


สุขศึกษาและพลศึกษา เปิดอ่าน : 30,338 ครั้ง
Advertisement

ระบบเลือดไหลเวียน

Advertisement

ระบบเลือดไหลเวียน โดย นายแพทย์วิเชียร ดิลกสัมพันธ์ และนายแพทย์ชูศักดิ์ เวชแพศย์
           การเคลื่อนของเลือดติดต่อกันเป็นวงจน เกิดขึ้นได้โดยการหดตัวของหัวใจ เลือดออกจากหัวใจโดยทางหลอดเลือดแดง (artery) และกลับเข้าสู่หัวใจโดยทางหลอดเลือดดำ (vein) หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำติดต่อกันโดยหลอดเลือดฝอยเล็กๆ และบาง ประสานกันเป็นร่างแห ดังนั้นเลือดที่ออกจากหัวใจ จึงมีหน้าที่นำสารบางอย่าง เช่น ออกซิเจน และอาหารที่ย่อยแล้วไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย สำหรับการเจริญเติบโต และให้ทำงานได้ตามปกติ และนำของเสียจากการเผาผลาญ (waste product)ไปสู่ปอดและไตเพื่อขับออกจากร่างกาย บทบาทที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของระบบเลือดไหลเวียน ก็คือ ช่วยในการต่อสู้เชื้อโรค  และการซ่อมแซมเมื่อได้รับอันตราย และยังนำฮอร์โมนซึ่งเป็นสิ่งที่หลั่งจากต่อมไร้ท่อไปทั่วร่างกาย
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

หัวข้อ

หัวใจ

          เป็นเครื่องสูบฉีดเลือด ประกอบด้วยผนังเป็นกล้ามเนื้อหนา หดตัวและคลายตัวเป็นจังหวะไม่มีหยุด รูปร่างของหัวใจคล้ายรูปกรวยทู่ และแบนจากหน้าไปหลังเล็กน้อย

          ช่องหัวใจ แบ่งออกเป็นครึ่งซ้ายและขวา โดยผนังกั้นเฉียงๆ แต่ละข้างประกอบด้วยช่องที่รับเลือดดำเรียกว่า เอเทรียม (atrium) ซึ่งมีผนังบาง และช่องที่ผนังเลือดออกซึ่งมีผนังหนาเรียกว่า เวนตริเคิล (ventricle) ดูภายนอกมีร่องตื้นๆ บอกตำแหน่งรอยต่อระหว่าง เอเทรียม กับ เวนตริเคิล ภายในส่วนล่างของเอเทรียม เปิดเข้าสู่ส่วนหลังของ เวนตรเคิล โดยรูกว้างซึ่งเรียกว่ารูอะตริโอเวนตริคูลาร์ (atrio-ventricular oritice) แต่ละรูนี้มีลิ้นหัวใจซึ่งยอมให้เลือดจาก เอเทรียม ไปสู่ เวนตริเคิล ได้ แต่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
 
          เอเทรียมขวา อยู่ทางขวาค่อนไปทางหน้า รับเลือดเสียจากศีรษะ คอ และแขน ทางหลอดเลือดวีนาคาวาหลอดบน(superior vena cava) และรับเลือดดำจากส่วนอก ท้อง เชิงกรานและขาโดยทางหลอดเลือดวีนาคาวาหลอดล่าง (inferior venacava) และยังรับเลือดจากผนังหัวใจเองด้วย
 
          เวนตริเคิลขวา อยู่ทางขวาค่อนไปทางหน้า รับเลือดดำจากเอเทรียมขวา และบีบเลือดไปสู่ปอดทั้งสองข้าง โดยหลอดเลือดแดงสู่ปอด ที่ส่วนต้นของหลอดเลือดแดงสู่ปอด มีลิ้นให้เลือดออกจากหัวใจไปได้ แต่จะปิดสนิทไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ

          เอเทรียมซ้าย อยู่ทางซ้ายค่อนไปทางหลัง รับเลือดดำจากปอดทั้งสองข้าง

          เวนตริเคิลซ้าย อยู่ทางซ้าย รับเลือดจากเอเทรียมซ้าย และบีบเลือดส่งไปทางหลอดเลือดแดงใหญ่ เอออร์ตา (aorta) ซึ่งมีแขนงมากมายไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ที่ส่วนต้นของเอออร์ตา มีลิ้นให้เลือดจากเวนตริเคิลซ้ายออกไปได้ แต่จะปิดสนิทไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ


[กลับหัวข้อหลัก]

ด้านหน้าของหัวใจ


ด้านหลังของหัวใจ

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
หลอดเลือดแดง

          เมื่อหัวใจหดตัว ก็จะบีบไล่เลือดไปสู่เอออร์ตา และหลอดเลือดแดงแขนงใหญ่ๆ ทันที หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ จึงมีเส้นใยยืดหยุ่นมากในผนัง และยืดออกได้เมื่อหัวใจหดตัวทุกครั้ง เพื่อป้องกันอันตรายที่มีต่อหลอดเลือดขนาดเล็กกว่าอันเนื่องจากความดันของเลือดที่ออกมาอย่างแรง

          เพื่อที่จะควบคุมการส่งเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ หลอดเลือดขนาดกลาง จึงมีกล้ามเนื้อเรียบมากขึ้น หลอดเลือดขนาดเล็กจะกลับมีกล้ามเนื้อเรียบน้อยลง

          หลอดเลือดฝอย มีขนาดเล็กมากขนาด ๘-๑๐ ไมครอน ไม่มีกล้ามเนื้อเลย มีแต่เยื่อบุผนังเท่านั้น สำหรับการแลกเปลี่ยนออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์ อาหารและของเสียซึมผ่านผนังได้โดยสะดวกและรวดเร็ว


[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
หลอดเลือดดำ

          เลือดในหลอดเลือดดำไหลช้ากว่า และความดันเลือดก็ต่ำกว่าในหลอดเลือดแดง ดังนั้นหลอดเลือดดำจึงมีขนาดใหญ่กว่าและผนังบางกว่าหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำตั้งต้นจากหลอดเลือดฝอย แล้วก็มีขนาดโตขึ้นๆ จนเข้าสู่เอเทรียมของหัวใจ

          ในปลา หัวใจเป็นเพียงท่ออันเดียว รับเลือดเสียที่ปลายข้างหนึ่ง และบีบไล่เลือดเสียนี้ออกทางปลายอีกข้างหนึ่ง ไปสู่ร่างแหหลอดเลือดฝอยที่เหงือก เพื่อรับออกซิเจน จากน้ำ เมื่อมีวิวัฒนาการของสัตว์บก อากาศเป็นแหล่งของออกซิเจน จึงจำเป็นต้องมีอวัยวะสำหรับการหายใจใหม่ ได้แก่ ปอด ซึ่งเป็นอวัยวะที่ติดต่อกับอากาศภายนอกโดยทางปาก และจมูก วิวัฒนาการของปอดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของระบบเลือดไหลเวียน ซึ่งเลือดเสียกลับเข้าสู่หัวใจแล้ว จะต้องสามารถส่งเลือดเสียไปยังปอดก่อนอื่น เพื่อปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และรับออกซิเจนแล้ว จึงส่งเลือดที่มีออกซิเจนไปทั่วร่างกาย อันนี้เองเป็นสาเหตุให้มีการเกิดผนังกั้นกลาง ซึ่งแบ่งหัวใจที่เคยเป็นห้องเดียวออกเป็นครึ่งซ้าย
และครึ่งขวา


[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

บรรณานุกรม
นายแพทย์ชูศักดิ์ เวชแพศย์
นายแพทย์วิเชียร ดิลกสัมพันธ์

หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244

https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6


ระบบเลือดไหลเวียน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ประเภทของลูกเสือ

ประเภทของลูกเสือ


เปิดอ่าน 108,937 ครั้ง
เหงื่อบอกโรค

เหงื่อบอกโรค


เปิดอ่าน 19,467 ครั้ง
ประโยชน์ของ "ขมิ้นต้น"

ประโยชน์ของ "ขมิ้นต้น"


เปิดอ่าน 33,185 ครั้ง
กินแอปเปิ้ล ลดไข้

กินแอปเปิ้ล ลดไข้


เปิดอ่าน 37,900 ครั้ง
"ผักชี" ผักพิฆาตอธรรม

"ผักชี" ผักพิฆาตอธรรม


เปิดอ่าน 21,525 ครั้ง
ประโยชน์ของว่านหางจระเข้

ประโยชน์ของว่านหางจระเข้


เปิดอ่าน 41,813 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เส้นเลือดขอด และเส้นเลือดฝอยที่ขาแตก มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน

เส้นเลือดขอด และเส้นเลือดฝอยที่ขาแตก มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน

เปิดอ่าน 32,698 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
พบวิธีการใหม่ ทำ "คนอัมพาต" เดินได้อีกครั้ง
พบวิธีการใหม่ ทำ "คนอัมพาต" เดินได้อีกครั้ง
เปิดอ่าน 11,820 ☕ คลิกอ่านเลย

อาหารกับการออกกำลัง
อาหารกับการออกกำลัง
เปิดอ่าน 14,010 ☕ คลิกอ่านเลย

เทควันโด : ประวัติเทควันโดในประเทศไทย
เทควันโด : ประวัติเทควันโดในประเทศไทย
เปิดอ่าน 19,859 ☕ คลิกอ่านเลย

สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"
สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"
เปิดอ่าน 33,625 ☕ คลิกอ่านเลย

การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล
เปิดอ่าน 59,605 ☕ คลิกอ่านเลย

แบบออกกำลังพื้นฐาน
แบบออกกำลังพื้นฐาน
เปิดอ่าน 15,547 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ดูให้รู้ : โรงเรียนสร้างเด็กสุดยอดผู้นำ
ดูให้รู้ : โรงเรียนสร้างเด็กสุดยอดผู้นำ
เปิดอ่าน 12,323 ครั้ง

โมกบ้าน
โมกบ้าน
เปิดอ่าน 17,574 ครั้ง

เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรม Interactive
เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรม Interactive
เปิดอ่าน 59,040 ครั้ง

การบอกคุณภาพของน้ำ โดยใช้ปริมาณออกซิเจนเป็นเกณฑ์
การบอกคุณภาพของน้ำ โดยใช้ปริมาณออกซิเจนเป็นเกณฑ์
เปิดอ่าน 63,000 ครั้ง

สารพัดคุณประโยชน์จาก"ผักบุ้ง" เสริมสุขภาพ-กันโรคยิ่งทานยิ่งดี
สารพัดคุณประโยชน์จาก"ผักบุ้ง" เสริมสุขภาพ-กันโรคยิ่งทานยิ่งดี
เปิดอ่าน 23,958 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ