Advertisement
วิธีเอาตัวรอด..เมื่อหลงป่า ?? |
|
|
เมื่อไม่กี่วันมานี้ มีข่าวเรื่องพระธุดงค์ 2 รูปหลงป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เลยเอาวิธีการป้องกันตัวเวลาหลงป่า และวิธีหนีเอาชีวิตรอดมาฝากกันนะคะ
เมื่อเดินหลงป่า ทะเลขุนเขาถ้าหลงทางล่ะก็....หนาว
การแก้ไขปัญหาหากว่าเราเกิดหลงป่าขึ้นมานั้น พรานหลายๆ ท่านได้แนะนำและก็บอกกับวิธีมาดังนี้ครับ
1.ให้สังเกตทิวไม้
ถ้าหลงป่าให้พยายามเดินขึ้นที่สูงเอาไว้ให้สังเกตว่าชายเขาอยู่ที่ไหนให้ยึดแนวนั้นเป็นหลัก เพราะสุดชายเขามักจะมีลำธารอยู่เสมอ ชาวบ้านป่ามักจะอาศัยอยู่ติดกับต้นน้ำลำธาร เมื่อพบลำธารก็จะพบบ้านคน พร้อมกันนั้นให้สังเกตทิวไม้ชายเขา ดูสีของใบไม้ของป่าบริเวณนั้นเป็นหลัก ช่วงที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ใบไม้จะเขียว แต่ผิดจากใบไม้ในส่วนอื่น ๆ ที่จางกว่า มุ่งไปได้เลย รับรองว่าเจอน้ำในจุดนั้นอย่างแน่นอน แล้วจึงค่อย ๆ เดินตามน้ำที่ไหลลงไป รับรองว่าได้รอดออกจากป่าแน่นอนครับ
2. ให้สังเกตรากไม้
บ่อยครั้งที่ความแห้งแล้งเกิดขึ้น หากเดินไปพบลำธารที่แห้งแล้วก็จะรู้ได้อย่างไรว่ายามมีน้ำจะไหลลงไปทางไหน พรานสอนไว้ว่าให้สังเกตรากไม้ลำธารแห้งว่า รากไม้ลู่ไปทางทิศไหน ก็ให้ไปทางนั้น เพราะยามลำธารมีน้ำ รากไม้จะลู่ไปตามน้ำเสมอไป ให้ท่านเดินไปแล้วจะพบน้ำหรือบ้านคนแน่นอน
การหลีกเลี่ยงจากโรคมาลาเรียและโรคจากไรอ่อน
มีธารน้ำ ปลายลำธาร
ย่อมมีบ้านคน
|
การพิจารณาภูมิประเทศในการนอนพักแรมเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะในป่าเขา เพราะจุดพักแรมใดที่มีความชื้น จุดนั้นจะเป็นแหล่งเพาะยุงที่อาจมีเชื้อไข้มาลาเรีย บ่อยครั้งที่พบในป่าชื้นที่มีต้นไม้ขึ้นเป็นดง มีตะไคร่น้ำขึ้นเขียวพร้อมกับฟอสฟอรัสเรืองแสงเต็มไปหมด พรานสอนว่าอย่าไปลงแคมป์พักแรมเป็นอันขาดเลย เพราะที่ชื้นแบบนั้นรับรองมาลาเรียเพียบแต่ส่วนใหญ่พวกเราก็มักจะพักแรมกันเนื่องจากสะดวกในการทำกิจกรรมทั้งการประกอบอาหารหรือชำระร่างกาย ดังนั้นเราจึงควรป้องกันไม่ให้ยุงและไรอ่อนกัดเราได้ โดยการสมเสื้อที่มิดชิด ทายาป้องกันยุงกันและแมลง และนอนในเต็นท์ หรือเปลที่มีมุ้งป้องกัน และในกรณีที่ออกจากป่าแล้วมีไข้สูงหนาวสั่น ถ้าไม่แน่ใจให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อเจาะเลือดตรวจสอบ
ป้องกันสัตว์ป่าทำร้าย
หลายครั้งที่พวกเราต้องรอนแรมอยู่ในป่า อาจได้ยินเสียงช้างป่าร้องอยู่ใกล้ๆ หากเป็นเราท่านทั่วไป ก็มักจะคิดและนึกว่าสัตว์ป่าย่อมกลัวไฟเสมอ เลยมักจะก่อกองไฟกันไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้มันเข้ามาใกล้เรา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั่นใช่ว่าสัตว์ป่ากลัวไฟ แต่ไฟที่ว่านั้นมันเป็นไฟป่าต่างหากที่พวกมันกลัว ไม่ใช่กองไฟย่อมๆที่พวกเราก่อ เพราะว่าโดยทั่วไปแล้วช้างป่า มันจะวิ่งเข้ามาหากองไฟเพื่อหาความอบอุ่นเสมอ เพราะฉะนั้นดูให้ดีเสียก่อนล่ะว่ามีสัตว์อะไรอยู่แถวนั้น หากเป็นช้างป่าก็อย่าไปจุดกองไฟเชียวเดี๋ยวจะวิ่งกันกระเจิงแล้วหาว่าไม่เตือนน่ะครับ แต่หากว่าเป็นสัตว์ป่าทั่วไป คงจะจุดไว้ได้เพื่อเป็นการป้องกัน
ข้อแนะนำผู้หลงทางหรือ ผู้ที่แตกจากกลุ่มใหญ่
1.ควบคุมสติให้ได้ อย่ากลัว
2.ตรวจเช็คสิ่งของที่ติดตัว ว่ามีอะไรใช้ประโยชน์ได้บ้าง และวางแผนใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด
3.เมื่อรู้ตัวว่าหลงทางให้หยุดอยู่กับที่ อย่าพยายามเดินต่อไป ให้เลือกหยุดคอยบริเวณที่ผู้ตามหามองเห็นตัวเราได้ง่าย เช่นกลางด่าน เนินเขา ทุ่งโล่ง
4.ทิ้งรอย หรือเครื่องหมายแสดงทิศทางที่จะไป หากจำเป็นต้องเดินต่อ เช่นไปหาแหล่งน้ำหรือที่พักฯลฯ
5.ส่งสัญาณขอความช่วยเหลือ เป็นระยะ ๆ (นกหวีดไง ผมพกติดตัวเวลาเข้าป่าทุกที เป็นอุปกรณ์ฉุกเฉินที่บ้านเรามองข้ามครับ)
6.มองหาที่พัก เสบียง และจัดหาหาฟืนไว้ก่อนมืด
ส่วนมากบ้านเราไม่ค่อยหลงกันไกลเท่าไรนัก ความจริงมีอีกหลายข้อ เอาแค่นี้แล้วกันครับ
สำหรับผู้ตามหา
1.เริ่มจากจุดสุดท้ายที่พบเห็นผู้หลงทาง
2.สังเกตรอยหรือเครื่องหมายของผู้หลงทางที่อาจทิ้งไว้
3.จดจำหรือขอข้อมูลบางประการของผู้หลงทางจากเพื่อนๆเช่นยี่ห้อรองเท้า แบบของพื้นรองเท้า ของใช้ส่วนตัว น้ำหนักผู้หลงทาง สิ่งขิงที่เขานำติดไปด้วย ฯลฯ ทางที่ดีเอาญาติ ๆ หรือเพื่อน ๆ เขาไปตามหาด้วย ถ้าไม่ลำบากนัก จะช่วยในการตามรอยได้รวดเร็วและเม่นยำขึ้น
4.ถ้ามีหลายคนให้แยกกันค้นหาจนพบรอยของผู้หลงทาง
5.เตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล และเสบียงเพื่อผู้หลงทางไปด้วย
6.อย่าหยุดตามหา แม้ในเวลากลางคืน ผู้หลงทางอาจกำลังรอความช่วยเหลือเร่งด่วน
|
|
|
|
วันที่ 14 มี.ค. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,620 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,167 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,269 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,177 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 17,895 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,160 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,987 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,589 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,344 ครั้ง |
|
|